การแพร่ระบาดใหญ่ของโรค (Pandemic) ที่เคยเกิดขึ้นบนโลกนี้
องค์การอนามัยโลกระบุว่า อัตราผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันมีเพียง 2% เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ
ที่เคยมีการแพร่ระบาดระดับโลกมาก่อนนั้นถือว่ามีความเสี่ยงเสียชีวิตน้อยกว่ามาก
กระนั้นก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ทำให้หลายคนจะหายจากความหวาดกลัว
ซึ่งความหวาดกลัวเรื่องเชื้อโรคทำลายล้างมนุษยชาตินั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษนี้ หากแต่มีมานานแล้วจากหลายเหตุการณ์โรคระบาดที่คร่าทำลายชีวิตผู้คน ในอดีตมีโรคระบาดหนักที่ทำลายชีวิตผู้คนนับล้านเกิดขึ้นเวียนวนแล้วหลายครั้ง ไล่ตามลำดับปี ค.ศ. จะเห็นว่ามนุษยชาติรับมือกับศัตรูตัวเล็กที่ชื่อว่าเชื้อโรคได้อย่างไร
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
First Pandemic : กาฬโรคแห่งจัสติเนียน(Plague of
Justinian) เกิดขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ.165-180 ในสมัยจักรวรรดิโรมันตะวันออก เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นครั้งแรกตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ทำลายล้างชีวิตผู้คนไปมากมาย
ชนิดที่โรคระบาดแบบ Pandemic ไหนๆ ก็เทียบไม่ติด ด้วยตอนนั้นวิทยาการยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน
และเรื่องเชื้อโรคตัวนี้ก็เป็นโรคอุบัติใหม่ที่คนทั้งโลกไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน เป็นเหตุให้มีผู้คนในกรุงโรมล้มตายถึง
2,000 คนต่อวัน แค่เพียงยอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ในกรุงโรมก็คิดเป็น 25% ของยอดผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทั้งหมดทั่วโลกที่มีโดยรวมแล้วประมาณ
5 ล้านคน โรคนี้เป็นโรคที่ทำลายชีวิตผู้คนในพื้นที่ให้หายไป 1 ใน 3
ของพื้นที่และเป็นตัวการทำลายกองกำลังทหารของโรมัน
เชื่อกันว่าโรคนี้เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในช่วงที่กองทัพโรมันโจมตีซีลูเซียในช่วงฤดูหนาวปี
165-166 โดยพบหลักฐานการแพร่ระบาดของโรคนี้ไปตามเส้นทางของแม่น้ำไรน์ผ่านการเดินทางของกองกำลังทหาร จึงทำให้ผู้คนที่ใช้แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคได้รับเชื้อโรคเข้าไป
จนเกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทำให้คนทั่วจักรวรรดิจำนวนมากเสียชีวิต
ซึ่งโรคนี้ได้แพร่ระบาดไปตามแม่น้ำไรน์ทางเหนือ ชาวเยอรมันและชาวฝรั่งเศสที่อยู่นอกเขตแดนของจักรวรรดิจึงพลอยติดเชื้อไปด้วย
ต่อมาในปี ค.ศ.166 ได้มีการเรียกชื่อโรคนี้ว่า Plague
of Galen ซึ่งเรียกตามชื่อของนักเขียน Galen ผู้ติดตามอาการและจดบันทึกเรื่องโรคนี้ได้อธิบายอาการของโรคไว้ว่า
ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะมีอาการไข้ขึ้นสูง ท้องร่วงและอักเสบ เช่นเดียวกับการปะทุของผิวหนังบางครั้งแห้งและบาง
ซึ่งอาการนี้จะเห็นเด่นชัดในวันที่ 9 ของการเจ็บป่วย
โดยเลนไม่ได้กำหนดลักษณะของโรคอย่างชัดเจน
แต่นักวิชากาวินิจฉัยว่าเป็นอาการของไข้ทรพิษ โรคนี้จึงมีชื่อเรียกหลายชื่อตามข้อสันนิษฐานของนักวิชาการทางการแพทย์ว่าเป็น
“ไข้ทรพิษ,โรคห่า หรือ ฝีดาษ” ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นโรคอะไร
มีจุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดครั้งแรกจากคนในตระกูล Antoninus
Second Pandemic :
อหิวาตกโรค ครั้งที่ 6 แม้โรคนี้จะมีมานานแล้วและในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้พบการแพร่ระบาดของโรคอหิวาตกโรคหรือโรคห่าขึ้นครั้งใหญ่เมื่อปี
310 หรือ พ.ศ.2363 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำลายชีวิตคนไทยลงไปมากมายทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
หัวเมืองใกล้เคียง ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ถึง 3 หมื่นคน จนกระทั่งมาเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งสำคัญในช่วงปี 1910 -
1911 โดยมีต้นกำเนิดจากในอินเดีย
ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปยังตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันออก และรัสเซีย
การแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 800,000 คน
Third Pandemic :
ไข้หวัดใหญ่สเปน เกิดขึ้นระหว่างปี
1918- 2009 เป็นช่วงปลายหลังจบสงครามโลกครั้งที่
2 โดยมีสเปนเป็นผู้ให้ข้อมูลของโรคนี้ครั้งแรก โรคนี้จึงได้ชื่อว่าไข้หวัดสเปน เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์
H1N1 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเป็นไข้ ไอ
จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อย และท้องเสีย คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
แต่ระหว่างที่มันเข้าไปทำลายระบบอวัยวะทางเดินลมหายใจของผู้ป่วย มันจะมีการกลายพันธุ์และวิวัฒนาการใหม่ๆ
ทำให้เกิดอาการของโรคที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ จนยากจะควบคุม
โดยผู้ป่วยหนักจะเริ่มมีเลือดออกในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หายใจติดขัด ไปจนถึงหายใจไม่ออกและเสียชีวิตลงในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งปกติแล้วเชื้อไข้หวัดใหญ่จะโจมตีคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น คนป่วย คนแก่ และเด็ก แต่ไขหวัดใหญ่สเปนกลับโจมตีทำลายสุขภาพคนหนุ่มสาวที่แข็งแรงให้เสียชีวิตได้ และแพร่ระบาดผ่านทางอากาศ เช่นการหายใจรดกัน ไข้หวัดสเปนจึงจัดว่าเป็นโรคระบาดใหญ่แบบ Pandemic ที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในโลก เพราะเป็นเหตุทำให้มีผู้คนล้มตายทั่วโลก 50-100 ล้านคน
Fourth Pandemic : ไข้หวัดใหญ่เอเชีย เกิดขึ้นระหว่างปี 1956-1958 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ กลุ่ม A(H2N2) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน
ก่อนจะแพร่ระบาดลุกลามไปยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา
ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
หากแต่เชื้อไข้หวัดใหญ่นั้นจะมีการวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา
เริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 1956-1958 มีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ 2 คน โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตมากสุดคือ 70,000
คน การระบาดในครั้งนี้สามารถตรวจพบและจำแนกเชื้อได้รวดเร็ว จึงนำมาสู่การผลิตวัคซีนออกมาป้องกันได้ทันท่วงที
ทำให้หยุดการแพร่ระบาดลงไปได้
Fifth Pandemic : ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong Flu) เกิดขึ้นในปี
1968 จากเชื้อไข้หวัดใหญ่ กลุ่ม A(H3N2) เป็นชนิดย่อยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายไข้หวัดใหญ่เอเชีย ถูกพบครั้งแรกในเกาะฮ่องกงเมื่อเดือน
ก.ค. 2511 ก่อนลุกลามไปยังเวียดนามและสิงคโปร์ใน 3 เดือน และขยายวงไปยังอินเดีย
ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
ครั้งนี้จึงมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้ว และมีอัตราการเสียชิวตต่ำที่
3% แต่กระนั้นก็คร่าชีวิตผู้ทั่วโลกไปกว่า 1 ล้านคน
Sixth Pandemic : ไวรัส HIV / AIDS แพร่ระบาดมากในช่วงปี
1976-2012 นักวิจัยชาวอเมริกันพบหลักฐานว่าไวรัส HIV-1
ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์นั้นมีต้นกำเนิดมาจากลิงชิมแปนซี มีชื่อว่า Human
Immunodeficiency Virus หรือ เรียกย่อๆ ว่า HIV ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักดั้งเดิมได้แก่ HIV-1 ซึ่งแพร่ระบาดในแถบ สหรัฐอเมริกา ยุโรป
และแอฟริกากลาง สายพันธุ์ HIV-2 แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก
นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์ แยกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย
เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย
จึงมีสายพันธุ์ย่อยๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ต่อมาในปี ค.ศ.1976 เชื้อมีวิวัฒนาการจนทำลายชีวิตผู้คนครั้งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
โดยช่วงนี้เชื้อโรค HIV ได้ วิวัฒนาการตัวเองขึ้นมาก ให้สามารถถ่ายทอดจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้เหมือนไวรัสโควิด-19
ในปัจจุบัน และพบว่าในช่วงปี 2005-2012 มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลก
และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 36 ล้านคนนับตั้งแต่ปี 1981 เรื่อยมา
ต่อมาวงการแพทย์ทั่วโลกได้พัฒนาจนเยียวยาผู้ป่วย HIV ให้มีชีวิตปกติและควบคุมการแพร่ระบาดได้
ทำให้อัตราผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ลดลงจาก 2.2 ล้านคน เป็น 1.6 ล้านคนต่อปี
Seventh Pandemic : ไข้หวัดใหญ่ 2009 เกิดขึ้นในปี 2009 จากเชื้อไข้หวัดใหญ่ในกลุ่ม A(H1 N1) ที่มีรายงานพบเชื้อในคนครั้งแรกเมื่อเดือน เม.ย. 2009 เริ่มแพร่ระบาดในเม็กซิโก และสหรัฐ ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลก เชื้อสายพันธุ์นี้มีองค์ประกอบพันธุกรรมจากไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ ที่วิวัฒนาการรวมกันกับไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือและไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชียและยุโรป ทำให้ WHO ต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เนื่องจากหวั่นวิตกว่าเชื้อ H1 N1 อาจกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้น ทั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโรคนี้ทั่วโลก 20,000 คน
Eighth Pandemic
: เชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน
ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2019 จนถึงปัจจุบัน โดย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลีนิก
ภาควิชากกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ให้ข้อมูลผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นไวรัสที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าเชื้อไวรัสโควิด-19
ในปัจจุบันเป็นไวรัสขนาดใหญ่มีอิเล็กตรอนคล้ายมงกุฎพบได้ทั้งในคนและสัตว์ มีสายพันธุ์ดังเดิมอยู่ 6 ชนิด
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหวัดและทางเดินลมหายใจประจำถิ่น และพบว่ามีเกิดขึ้นใหม่อีก
4 สายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินลมหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน คือ Sars ที่เป็นโรคค่อนข้างรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิต 10%
และ Mers มีอัตราการเสียชีวิตที่ 30%
โดยผู้ป่วยกลุ่มแรกได้รับเชื้อมาจากตลาดสดที่มีการขายอาหารทะเลและสัตว์มีชีวิต
ซึ่งไวรัสโควิด-19 เป็นกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดทางเดินลมหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน ไปจนถึงปอดและเกิดโรคแทรกซ้อน
มีระยะฟักตัวที่ 2-7 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติการเฝ้าระวังสังเกตอาการหลังสัมผัสโรคจะใช้
2 เท่า คือ 14 วัน สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านสารคัดหลั่ง
มีความรุนแรงอยู่ที่น้อยกว่า 3%
ส่วนความเสียหายที่เกิดก็เป็นไปตามที่เกริ่นนำข้างต้นแล้ว
จากประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมาอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดที่ทำลายชีวิตของมนุษยชาติได้มากมายกลับไม่ใช่ยุทโธปกรณ์
ที่แต่ละประเทศใช้ห้ำหั่นกันในการสู้รบ
แต่กลับเป็นเชื้อโรคตัวจ้อยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต่างหากที่ทำลายล้างชีวิตผู้คนให้ร่วงหล่นได้ภายในพริบตา
แหล่งอ้างอิง :
https://www.hfocus.org/content/2014/08/7906
https://en.wikipedia.org/wiki/Antonine_Plague
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2055924
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870449
https://www.gqthailand.com/culture/article/spanish-flu
https://www.posttoday.com/world/617384
https://www.gqthailand.com/culture/article/spanish-flu
https://www.hfocus.org/content/2020/03/18680
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1922486