เปลี่ยนวิกฤตผลผลิตเกษตรฟิลิปปินส์ เป็นโอกาสสินค้า ‘เกษตรไทย’

SME Go Inter
10/09/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3517 คน
เปลี่ยนวิกฤตผลผลิตเกษตรฟิลิปปินส์ เป็นโอกาสสินค้า ‘เกษตรไทย’
banner

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าอาหารรวมถึงเครื่องดื่มอันดับต้นๆ ของประเทศฟิลิปปินส์ จากข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา เผยว่า ไทยมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศกับฟิลิปปินส์ในเดือน มกราคม พฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ 7,301.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปฟิลิปปินส์ มูลค่า 4,591.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนําเข้าจากฟิลิปปินส์ มีมูลค่า 2,710.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โควิด 19 และการแพร่ระบาดของโรค ASF ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรฟิลิปปินส์

รายงานผลผลิตทางการเกษตรในไตรมาสที่ 2/2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (Philippine Statistics Authority : PSA) เปิดเผยว่า ผลผลิตจะหดตัวลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากการผลิตปศุสัตว์และการประมงลดต่ำลง ในขณะที่การผลิตพืชผลทางการเกษตรและเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ลดลงในไตรมาสที่ 2/2564 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสแรกของปี 2564 ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4

ซึ่งนาย William D. Dar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ ได้กล่าวว่า ตัวเลขผลผลิตดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของภาคการเกษตร แม้ว่าต้องประสบกับปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 และการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) อย่างต่อเนื่องและยังคงยืดเยื้อ โดย ณ ราคาในปัจจุบัน ผลผลิตทางการเกษตรในไตรมาสที่ 2/2564 มีมูลค่าอยู่ที่ 5.033 แสนล้านเปโซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในช่วงครึ่งปีแรก (เดือนมกราคม - มิถุนายน 64) มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรหดตัวร้อยละ 2.5 หดตัวมากขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 0.6

การผลิตปศุสัตว์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.2 ของผลผลิตฟาร์มทั้งหมด (Farm output) ในไตรมาสที่ 2/2564 ลดลงร้อยละ 19.3 สำหรับในช่วงครึ่งปีแรก โดยพบว่าการแพร่ระบาดของโรค ASF ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฟาร์มสุกรของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตสุกรลดลงร้อยละ 26.2 ในไตรมาสที่ 2/2564 โดยนาย Rolando E. Tambago ประธานสหพันธ์ผู้ผลิตเนื้อสุกรแห่งฟิลิปปินส์ (Pork Producers Federation of the Philippines, Inc.) กล่าวว่า การผลิตสุกรคาดว่าจะลดลงอีกไปจนถึงต้นปี 2565 โดยผู้เลี้ยงสุกรจำนวนมากยังคงมีความกังวล เนื่องจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค ASF รวมทั้งปริมาณความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงมีการนำเข้าเนื้อสุกรราคาถูกเข้ามาปริมาณมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตเนื้อสุกรในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันได้

ด้านผลผลิตทางการประมงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.1 ของการผลิตทางการเกษตรโดยรวมพบว่า ลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2/2564 เช่นกัน สำหรับในครึ่งปีแรก โดย Roy S. Kempis ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรกรรมแห่งรัฐปัมปังกา กล่าวว่า การทำประมงของชาวฟิลิปปินส์ในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก อาจจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการรุกล้ำของเรือประมงจีน ที่กำลังทำให้สูญเสียการเข้าถึงพื้นที่ประมงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ปัญหาอุณหภูมิของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นได้ส่งผลให้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะลดลง และเมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลและน้ำจืดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ปลาเกิดความเครียดหรือเกิดการพัฒนาโรคในปลาได้

 

แนวโน้มผลผลิตเกษตรฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้ปรับลดเป้าหมายการเติบโตสำหรับภาคการเกษตรในปี 2564 เป็นร้อยละ 2 ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ร้อยละ 2.5 โดยนาย Calixto V. Chikiamco ประธานมูลนิธิ เพื่อเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (Foundation for Economic Freedom: FEF) กล่าวว่าเป้าหมายการเติบโตที่ร้อยละ 2 ของกระทรวงเกษตรคาดว่าจะเป็นไปได้ยากขึ้นที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากในไตรมาส 1/2564 ผลผลิตทางการเกษตรหดตัว และแม้ว่าในไตรมาสที่ 2/2564 จะหดตัวลดลงเล็กน้อย แต่ในไตรมาสที่ 3/2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ฟิลิปปินส์กลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดอีกครั้ง น่าจะเป็นปัจจัยขัดขวางการเติบโตของผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งความต้องการบริโภคในประเทศ โดยคาดว่าในปีนี้ผลผลิตภาคการเกษตรจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 1 หรือน้อยกว่านั้น

 

ผลผลิตภาคการเกษตรของฟิลิปปินส์หดตัว โอกาสเกษตรกรไทย

ปัจจุบันแนวโน้มภาคเกษตรกรรมของฟิลิปปินส์พบว่า มีผลผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากประสบกับความท้าทายหลายประการ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง ข้อจำกัดทั้งด้านสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย ประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรงจากการนำเข้าอาหารราคาถูก ทำให้นำไปสู่วิกฤตในการเกษตร ของฟิลิปปินส์และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

แม้รัฐบาลฟิลิปปินส์จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น รวมทั้งพยายามบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่สามารถสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จ มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ

โดยในแต่ละปีฟิลิปปินส์สามารถผลิตอาหารคิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของอุปทานอาหารทั้งหมดและอีกร้อยละ 20 ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และแนวโน้มการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ฟิลิปปินส์จึงถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกสินค้าอาหารต่างๆ ของไทย โดยประเทศไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าอาหาร รวมถึงเครื่องดื่มเป็นอันดับต้นๆ และที่ผ่านมาสินค้าอาหารของไทยเป็นสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ดีในตลาดฟิลิปปินส์ มีการยอมรับในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทยอยู่แล้ว และยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของฟิลิปปินส์ด้วย จึงถือเป็นโอกาสดีที่สินค้าเกษตรไทยจะใช้จังหวะนี้รุกตลาดแดนตากาล็อก

 

แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์ Business World, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6266 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
เปลี่ยนวิกฤตผลผลิตเกษตรฟิลิปปินส์ เป็นโอกาสสินค้า ‘เกษตรไทย’