ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

SME Update
03/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 14956 คน
ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ
banner

การกำหนดสินค้าและราคานั้นมีข้อกฎหมายบัญญัติไว้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ภายใต้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อใช้คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าและบริการ ป้องกันไม่ให้ราคาสินค้า-บริการสูงขึ้นรวดเร็วเกินสมควร และทำให้ปริมาณสินค้ามีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วย

การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติมขึ้นมาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นภายในประเทศไทย  ดังนั้นการที่ภาครัฐจะออกมาปรับเปลี่ยนข้อกำหนดบางอย่าง เช่น ออกมาตรการควบคุมการจำหน่ายหน้ากากอนามัย หรือควบคุมบริการขนส่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ดังที่เป็นข่าวในขณะนี้ก็เป็นสิ่งที่ควร เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์และหน้ากากอนามัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ของคนในยุคที่ต้องเผชิญกับโรคโควิด-19 ตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้มีความต้องการสูงท่ามกลางกระแสการแพร่ระบาดที่ยังควบคุมไม่ได้แบบเด็ดขาดถาวร

พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 (สำหรับท่านที่ต้องการศึกษา) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C753/%C753-20-2542-a0001.pdf 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ไทม์ไลน์ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการควบคุมเกิดขึ้นมาในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ภาคเศรษฐกิจของไทยเป็นการเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดเล็ก ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจึงมุ่งสนับสนุนภาคการเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่มีประชากรเป็นจำนวนมากของประเทศ

ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อรับมือกับการกักตุนสินค้าของธุรกิจเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คือ พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พุทธศักราช 2480 ก่อนจะยกเลิกการใช้ข้อกฎหมายการค้ากำไรเกินควรไปในปี 2480 และเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคสมัยของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดเกิดขึ้น

จึงมีความเห็นชอบให้ตราเป็นพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 ขึ้นมา เพื่อควบคุมการกำหนดราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรมและป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ และมีการปรับปรุงข้อกฎหมายให้เหมาะสมแยกเรื่องการกำหนดราคาสินค้าออกจากการผูกขาดทางเศรษฐกิจ เพราะมีระเบียบปฏิบัติต่างกันและมีการปรับใช้ให้เข้าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ ก่อนจะมาเป็นตราพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่มีการบังคับใช้มาจนถึงวันนี้ มีทั้งในส่วนของการกำกับดูแลราคาสินค้าหรือบริการของประเทศไทยและต่างประเทศ  ซึ่งจะขอกล่าวถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับราคาสินค้าหรือบริการภายในประเทศไว้พอสังเขป ดังนี้

- การดำเนินการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กล่าวคือกำหนดให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการแสดงราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะมีการพิจารณาและทบทวนรายการสินค้า ที่จะต้องมีการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าหรือบริการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่าสินค้ารายการใดยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชีรายการที่จะต้องปิดป้ายแสดงราคา ก็จะต้องมีการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้สินค้านั้นๆ อยู่ในบังคับต้องปิดป้ายแสดงราคา

- การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ : ตามข้อกำหนดในมาตรา 29 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใดๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด และคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ถือว่าเป็นการทำให้ราคาต่ำเกินสมควรหรือสูงเกินสมควร หรือทำให้ปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใดก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

·      มาตรการการกำกับดูแลสินค้าควบคุม ตามข้อกำหนดในมาตรา 30 ได้กำหนดห้ามมิให้บุคคลใดกักตุนสินค้าควบคุม หรือไม่นำสินค้าควบคุมที่มีไว้เพื่อจำหน่ายออกจำหน่ายหรือเสนอขายตามปกติ หรือปฏิเสธการจำหน่าย หรือประวิงการจำหน่ายหรือการส่งมอบสินค้าควบคุม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

·      มาตรการกำกับดูแลธุรกิจบริการควบคุม ตามข้อกำหนดในมาตรา 31 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการควบคุมหยุดการให้บริการตามปกติ หรือปฏิเสธการให้บริการ หรือประวิงการให้บริการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เนื่องจากปัจจุบันได้มีการซื้อขายสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง

คณะกรรมการฯ จึงได้มีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 49 พ.ศ. 2561 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจําหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้ใช้บังคับในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 (5) และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ต้องแสดง

1. ราคาสินค้า

2. ค่าบริการ เช่น ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์

3. ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนักของสินค้าหรือบริการ

4. รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ

5. กรณีมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาจำหน่วยสินค้าหรือบริการ

ที่แสดงไว้ตามข้อ 1-4 ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผยโดยแสดงไว้ควบคู่กับการแสดงราคาจำหน่ายสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการด้วย กรณีการแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการตามข้อ 1+4 ต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่ายหรือค่าบริการที่ให้บริการ แต่มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อต่ำกว่าราคาจำหน่าย หรือค่าบริการที่แสดงไว้ โดยวิธีการแจ้งราคาสินค้าและบริการที่ถูกต้อง คือ

  (1) เขียน พิมพ์ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจ

  (2) ในลักษณะชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย และสามารถอ่านได้โดยง่าย

  (3) ให้แสดงราคาต่อหน่วย

  (4) ราคาหรือค่าบริการนั้น จะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย

  (5) ข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได

รายละเอียดรายการสินค้าควบคุมตามประกาศกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562 https://www.dit.go.th/

ต่อมาคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2563 รวม 51 รายการ (46 สินค้า และ 5 บริการ) เพิ่มเติมตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นการทบทวนรายการสินค้าและบริการควบคุมที่ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 ก.ค. 62 และจะสิ้นสุด 3 ก.ค. 63 สำหรับการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 63 ยังคงรายการสินค้าควบคุมตามเดิม จำนวน 50 รายการ ปรับรายละเอียด 2 รายการ และเพิ่มเติม 1 รายการ มีรายละเอียดดังนี้

1. ปรับรายละเอียด 2 รายการ

- รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก ปรับเป็น “รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก” เนื่องจากรถยนต์นั่งเป็นสินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและไม่กระทบกับผู้บริโภคทั่วไป

- บริการขนส่งสำหรับธุรกิจออนไลน์ ปรับเป็น “บริการซื้อขายและหรือบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์” เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคตามชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หันมาใช้บริหารสินค้าออนไลน์มากขึ้น และมีการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับเดือดร้อนจากการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์

2. เพิ่มรายการสินค้าควบคุม 1 รายการ

คือ กากดีดีจีเอส เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมาปรับใช้ในสูตรอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศ สามารถทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ ปัจจุบันมีแน้วโน้มการนำเข้ากากดีดีจีเอสจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านราคาที่เกษตรกรจะได้รับและเสถียรภาพของตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตในประเทศ

3. ยกเลิกรายการสินค้าควบคุม 2 รายการ คือ

1) น้ำยาปรับผ้านุ่ม  เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นใช้ในทุกครัวเรือน และมีการแข่งขันสูง และเป็นสินค้าทางเลือกขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภค

2) บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า เนื่องจากปัจจุบันจำนวนสถานที่เก็บสินค้ามากกว่าความต้องการและมีการแข่งขันสูง จึงไม่กระทบต่อราคาค่าเช่าสถานที่เก็บสินค้า

ทั้งนี้ การกำหนดให้สินค้าและบริการใดให้เป็นสินค้าควบคุมนั้นให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. สินค้าและบริการ พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และในปัจจุบันนี้มีเรื่องร้อนเรียนจากผู้บริโภคทั้งในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และราคาขนส่งของผู้ส่งอาหาร Delivery จำนวนมาก การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 63 จะครอบคลุมผู้ให้บริการกลุ่มผู้ให้บริการเหล่านี้ด้วย

ว่าด้วยเรื่องการจับกุมผู้กระทำความผิด ตามข้อกำหนดในมาตรา 23 เพื่อประโยชน์ในการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การจับกุมผู้กระทําความผิดให้กระทําได้โดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อปรากฏว่ามีการกระทําความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุอื่นที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ.

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.senate.go.th/

https://www.dit.go.th/

http://web.krisdika.go.th/



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

เพิ่มยอดขายด้วยการ “เล่า” ยิ่งทำให้เชื่อ โอกาสยิ่งมาก

ธุรกิจปรับตัวอย่างไร เมื่อ Digital Lifestyle แทรกอยู่ทุกมิติ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1220 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1580 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1858 | 25/01/2024
ข้อกำหนดราคาและสินค้าควบคุมที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ