ความอ่อนไหวทางอารมณ์จะสะท้อนออกทางบุคลิกภาพ
สังเกตไม่ยากเพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่เก็บความรู้สึกได้ไม่เก่ง
และจะสะท้อนออกมาทางสีหน้า
แววตา
น้ำเสียง
การลำดับคำพูด และการแสดงออกทางร่างกายเช่น
มีอาการเกร็งหรือกระตุกน้อยๆ
นั่นคือสัญญาณว่าเขา หรือเธอกำลังอ่อนไหวในบางเรื่อง หรือบางสิ่ง ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาและเธออยู่ในสภาพอารมณ์ใด หากว่ากันตามหลักจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากภายในร่างกาย มี 7 อย่าง ได้แก่ โกรธ ยินดี เศร้า วิตกกังวล ครุ่นคิด หวาดกลัว ตกใจ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
ซิกมัน ฟรอยด์
(Sigmund Freud) ผู้ได้รับการยกย่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยามีทฤษฎีความเชื่อว่าพฤติกรรมและอารมณ์ส่วนใหญ่ของมนุษย์
มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก
ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน
การพูดพลั้งปาก
หรืออาการผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจในด้านต่างๆ
และนั้นจะทำให้คนอื่น
ๆ
อ่านลักษณะทางภาษากาย(อวัจนภาษา)
ของเราออก
ฟรอยด์บอกอีกว่า เมื่อเหตุมันเกิดจากตัวเราทางแก้ก็อยู่ในตัวเราเช่นกัน
แนวคิดนี้คล้ายกับหลักทางพุทธ
คือการดับที่ต้นเหตุ
และก็สามารถใช้แนวคิดนี้ในการจัดการอารมณ์ได้เช่นกัน
1.จัดการความโกรธ
: ความโกรธคือกลไกการป้องกันตัวอย่างหนึ่ง
กลไกในการป้องกันตัวเป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว
เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ
การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา(โกรธขาดสติ)
อาจจะหาสิ่งมาแทนที่
(Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ
หรือคับข้องใจต่อคน
หรือสิ่งของ
ที่ทั้งเป็นเหตุในการคับข้องใจ
หรืออาจไม่ใช่ต้นเหตุ
โกรธนับเป็นปฐมอารมณ์ที่ควรขจัดเพราะจะปิดบังสติ
วิธีการข่มความโกรธโดยไม่ให้แสดงออกทางสีหน้า
ตรงกรามหรือโหนกแก้ม(คนบางคนจะขบกรามเมื่อโกรธสังเกตสีหน้าจะปกติ)
วิธีการฝึกไม่ให้โกรธโดยแสดงออกทางสีหน้าสามารถฝึกได้โดยการใช้สิ่งทดแทน
เช่นบดกราม
หรือกดส้นเท้า
แต่ต้องฝึกฝนกันนานพอดูกว่าร่างกายจะจำปฏิกิริยานั้นและตอบสนองได้
โกรธเกิดจากสภาพอารมณ์
ที่แสวงหาสิ่งทดแทนและป้องกัน
ลองหาสิ่งทดแทนหรือที่ระบายจะสามารถประคองสติได้
2.แสดงออกเมื่อยินดี
: ความราบรื่นยินดีเป็นความอ่อนหวานทางอารมณ์
คนเราจะเสียอาการก็เพราะอารมณ์แบบนี้
ทำให้เกิดภาวะที่ไร้เกราะป้องกันตัวเอง
การทำงานของประสาทสัมผัสทั้งห้าขาดบกพร่อง
โดยคนปกติจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่
คิดอะไรอยู่
คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์
ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว
(Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย
แต่เมื่อใดที่ความยินดีแล่นมาแบบเฉียบพลัน
ร่างกายจะเสียศูนย์ไปชั่วขณะ
การที่จะควบคุมไม่ให้ยินดีจนเสียอาการมีความละเมียดมากกว่าการจัดการความโกรธ
เพราะความยินดีคือการได้รับ
ไม่ต้องการสิ่งทดแทน
แสดงออกชัดเจนทางบุคลิกภาพ
ดังนั้นการสะกดอารมณ์ยินดีจึงต้องอาศัยการลดทอน
หรือ
การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง
(Reaction Formation) การแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง
เช่นวางหน้าเรียบเฉย
หรือาจยิ้มแต่น้อย
นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังแสดงอารมณ์ดังกล่าวให้ใครดู
3.รับมือความโศกเศร้า
: ความเศร้าคืออารมณ์แห่งความสูญเสีย
จิตใจรู้สึกศูนย์เสียและบางครั้งก็ไม่ได้ต้องการสิ่งทดแทน
ทั้งอาจเกิดการถดถอย
(Regression)หรือ
การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข
ความเศร้าโศกเกี่ยวข้องกับการสูญเสียสิ่งที่เป็นรูปธรรม
หรือแม้แต่รูปแบบนามธรรม
ซึ่งเรารู้ตัวในระดับจิตสำนึก
อย่างที่บอก ความเศร้าอาจจะต้องการสิ่งชดเชย
เช่น
การชดเชยความสูญเสียในรูปธรรมเช่นเสียคนที่รัก
อาจจะชดเชยด้วยนามธรรม
คือ
คิดว่าเขาไปดี
ไปสบายแล้ว
ส่วนการสูญเสียเชิงนามธรรม
เช่นถูกเจ้านายต่อว่า
แฟนนอกใจ
อาจต้องการสิ่งชดเชยด้านรูปธรรม
อาทิ
เปลี่ยนงานใหม่
หรือ
หาแฟนใหม่
หรือบางครั้งก็ต้องการแค่เวลาเป็นสิ่งชดเชย
4.วิตกกังวล
: ฟรอยด์
บอกว่าความวิตกกังวลมีผลมาจากความกลัว
หรือความไม่กล้าของตนเอง ความวิตกกังวล ความตึงเครียด
เป็นกลวิธีในการป้องกันตนเองนี้เป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึกที่แต่ละบุคคลเข้าใจได้ยาก
ซึ่งนักจิตวิเคราะห์เชื่อว่า
การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลมาจากกลไกในระดับจิตไร้สำนึกของแต่ละบุคคลนั่นเอง
ดังนั้น
รูปแบบของอารมณ์วิตกกังวลจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจยากทีสุด
และจัดการได้ยากที่สุดเช่นกัน
เพราะบางครั้งแม้แต่ตัวเราเองก็แทบไม่รู้ตัว
การจัดการความกังวล ไม่จำเป็นต้องชดเชย
ก็แค่การเก็บอารมณ์
(Repression) กดความกรุ่นคิดนั้นไว้
จนกระทั่งลืมกลไกป้องกันตัวประเภทนี้
แต่ก็มีอันตราย
เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมาก
และอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
5.ครุ่นคิด
: ครุ่นคิดแตกต่างกับวิตกกังวลอย่างไร
? เรียก ‘หมกมุ่น’
ก็ได้
เป็นการใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง
ๆ
เกี่ยวกับความทุกข์
ปัญหา
เหตุไม่สบายใจ
ซึ่งสัมพันธ์กับความวิตกกังวล
และอารมณ์เชิงลบอื่น
ๆ
เป็นพลังงานทางอารมณ์ที่ค่อนข้างไร้ประโยชน์
ทั้งไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาวะของพื้นฐานอารมณ์
แต่เป็นลักษณะการตอบสนองต่อความล้มเหลวที่อาจจะยังไม่เกิดขึ้น
หรือผ่านมาแล้ว "ความครุ่นคิด"
จะไม่ใช่จากแนวคิด
ที่เป็นพลังอารมณ์ด้านบวก
ดังนั้นการจัดการอารมณ์ครุ่นคิดอย่างหมกมุ่นในตัว
ต้องใช้ความความยืดหยุ่นทางจิตใจ
เช่น
ความคิดบวก
ความคิดริเริมใหม่
ๆ
(อย่างพอดี) หรือแม้แต่การหากิจกรรมทำเมื่อเกิดอารมณ์แบบนี้
6.หวาดกลัว
: อารมณ์ด้านลบที่ร่างกายแสดงออกเพื่อเป็นกลไกป้องกันรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งก็มีทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
ความกลัวเป็นชุดอารมณ์ที่หลากหลาย
ทั้งมีหลายรูปแบบ
ทั้งเกิดจากความรูปสึกภายนอก
สัมผัส
และระดับภายในที่ค่อนข้างซับซ้อน
ความรู้สึกกลัวตอบสนองต่อหลายวิธีทั้งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเสียอาหารเพราะปฏิกิริยาทางกายภาพสูงและไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
เราอาจเคยเห็นคนที่หวาดกลัวจนกล้ามเนื้อร่างกายชะงัก
บีบ
หด
รัด
คลาย
ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพที่ความกลัวเข้าควบคุมอารมณ์ร่างกาย
วิธีการจัดการกับความหวาดกลัวนั้น
เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกลไกทดแทนทั้งจากภายนอกและภายในจิตใจ
เช่น
กลัวผีก็อาจจะหาพระเครื่องที่นับถือมาบูชา
กลัวถูกทำร้ายก็อาจจะชดเชยด้วยการฝึกศิลปะการต่อสู้
ส่วนการจัดการความกลัวในใจ
เรื่องนี้ต้องสัมผัสกับอารมณ์นั้นจนเกิดความเคยชิน
ซึ่งวิธีนี้แม้แต่นักจิตวิทยาที่เก่งที่สุดก็ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ผล
7.ตกใจ
: อารมณ์ตกใจ ไม่ใช่ตื่นตัว
แต่ก็เป็นพื้นฐานอารมณ์เดียวกัน
เป็นลักษณะทางอารมณ์อันอ่อนไหว
อาจจะมาจากอารมณ์ความกลัวภายใจจิตใจ
หรือแม้แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิด
อาจมีอาการตามมา
เช่น
ใจสั่น
เหงื่อแตก
มือเท้าชา
หายใจไม่อิ่มหรือรู้สึกมีก้อนจุกที่คอ
แน่นหน้าอก
เวียนหัว
คลื่นไส้
มวนท้อง
แน่นอนลักษณะเหล่านี้ทำให้เสียอาหารและร่างกายเสียการควบคุม
ผลจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง
เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
ทำให้เกิดสัญญาณหลอก
(false alarm) ราวกับว่าร่างกายกำลังเผชิญหน้ากับอันตราย
ร่างกายจึงหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนบางตัวออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติทำให้เกิดอาการดังกล่าว
จำไว้ว่าบางครั้งร่างกายก็กำลังหลอกเราอยู่ หรือเราอาจจะหลอกร่างกายของเราเอง ดังนั้นทางแก้ของอาการขวัญอ่อน ตกใจ ทำได้อย่างเดียวคืออาศัยความหนักแน่นของอารมณ์ อารมณ์นิ่ง จิตนิ่ง สมองไม่ปล่อยสารเพื่อหลอกร่างกาย
การจัดการ 7 อารมณ์พื้นฐานอันอ่อนไหวเหล่านี้ต้องเรียนรู้และฝึกฝน เป็นไปได้ยากที่พอคุณอ่านและคิดว่าเข้าใจแล้วจะสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอารมณ์และร่างกายได้ แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ในภาษาทางศาสนาพุทธเรียกฝึกจิต ในวิทยาศาสตร์เรียกความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อประสบการณ์ มันก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเชื่อแบบไหน