‘เลี้ยงจิ้งหรีด’ ส่งออกตลาดยุโรปอนาคตสดใส

SME Go Inter
07/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 9207 คน
‘เลี้ยงจิ้งหรีด’ ส่งออกตลาดยุโรปอนาคตสดใส
banner

แมลงนับเป็นอาหารใหม่ที่ตลาดยุโรปให้ความสนใจ โดยเฉพาะโปรตีนจากจิ้งหรีด โดยจิ้งหรีด 3 กิโลกรัมเท่ากับเนื้อ 1 กิโลกรัม แถมรับประทานแมลงนั้นย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 มีแคลเซียมมากกว่านม มีธาตุเหล็กมากกว่าผักขม และมีกรดอะมิโนแอซิดที่จำเป็น จิ้งหรีดจึงนับเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของไทยและตลาดโลกในอนาคต ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nation : FAO) จึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาบริโภคจิ้งหรีดแทนเนื้อสัตว์ เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ที่มีราคาถูกและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น

โดยเฉพาะประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้น เอื้ออำนวยต่อเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการผลิตและแปรรูปเพื่อการส่งออกไปยังตลาดโลก เช่น สหภาพยุโรป (อียู) ,สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน และอีก 25 ประเทศที่มีความต้องการสูง ซึ่งปี 2562 มูลค่าการตลาดโลกมากกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2563 ตลาดเอเชียจะมีมูลค่าพุ่งสูงถึง 6,725 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

จากข้อมูลของ Food Ingredients Asia ผลพวงจากเทรนด์ทั่วโลกนิยมบริโภคเพิ่มขึ้นไม่หยุดและมีแนวโน้มตลาดโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.4% ส่วนในอีก 5 ปีข้างจะเติบโตอีกกว่า 20% เพราะการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อการบริโภคเนื้อเติบโตไม่ทันต่อความต้องการของประชากรโลก

ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งขับเคลื่อนยกระดับมาตรฐานเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด จากพื้นบ้านเข้าแบบแปลงใหญ่มาตรฐานสากลให้ครอบคลุมไปทั่วภูมิภาค เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยมีฟาร์มจิ้งหรีดแบบพื้นบ้านมากกว่า 2 หมื่นแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) อาทิ จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม

ขณะเลี้ยงจิ้งหรีดระบบแปลงใหญ่ มีอยู่ 2 จังหวัดในภาคอีสาน คือ กาฬสินธุ์และมหาสารคาม โดยพันธุ์จิ้งหรีดที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์บ้านสะดิ้ง และพันธุ์ทองคำ มีกำลังการผลิตทั้งหมดรวมกันได้แค่ 700 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าจิ้งหรีดสดมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก

 

ยุโรปสนใจนำเข้าผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดแช่แข็งและแปรรูปจากไทย

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอียูหลายรายให้ความสนใจนำเข้าผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดทั้งแช่แข็งและแปรรูปจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการต้มบรรจุกระป๋อง หรืออบและบดเป็นโปรตีนผง เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอาหารเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการบังคับใช้ระเบียบอาหารใหม่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสินค้าที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิต โรงงานแปรรูป ไปจนถึงอุตสาหกรรมส่งออกและนำเข้า เนื่องจากสินค้าที่มีศักยภาพหลายรายการจะต้องทำคำขอยื่นเปิดตลาด ทั้งการขึ้นทะเบียนในสถานะอาหารใหม่ (Novel Food) หรือสถานะอาหารพื้นเมือง (Traditional Food) รวมทั้งต้องจัดทำเอกสารประกอบการยื่นคำขอ เพื่อให้คณะกรรมการที่รับผิดชอบของสำนักงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority(EFSA) พิจารณาความปลอดภัยหรือหลักฐานการบริโภคก่อนการอนุญาตเปิดตลาดอย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกวันนี้หลายบริษัทนำเข้าผ่าน กม.อียู เรียบร้อยแล้ว

การเลี้ยงแมลง จะถือเป็นอาหารใหม่ตามระเบียบของอียูที่ คุณเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) บอกว่า จิ้งหรีดเป็นหนึ่งในแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญและมีศักยภาพในการส่งออก ทาง มกอช.จึงได้กำหนดและประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.8202-2560 หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มจิ้งหรีดเป็นมาตรฐานทั่วไปลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2560 โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจรับรองตาม มกษ. เพื่อรองรับการยกระดับฟาร์มจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐาน นั่นก็คือสนับสนุนให้เกษตรกรขยายพื้นที่เลี้ยงจิ้งหรีดในระบบแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้ได้มาตรฐานสากลทำให้ง่ายต่อการส่งออกตลาดอียู

 

นำร่อง “กาฬสินธุ์-มหาสารคาม” แหล่งผลิตจิ้งหรีดแปลงใหญ่

นับตั้งแต่ปี 2561 โดยนำร่องในพื้นที่ ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ และ ต.มะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต แปรรูป และขยายตลาดส่งออกทั้งเอเชียและตลาดโลก รวมทั้งสหภาพยุโรป เพื่อตอบสนองกระแสนิยมการบริโภคแมลงที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นไม่หยุด เนื่องจากแมลงเป็นแหล่งโปรตีนสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารมนุษย์และสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ต้นทุนการผลิตต่ำ ปริมาณโปรตีนสูง ต้องการอาหารและน้ำในปริมาณน้อย ทำให้สามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่แห้งแล้งที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้ แมลงหลายชนิดรวมทั้งจิ้งหรีดถือเป็นความหวังสำคัญต่อการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารของโลกในอนาคต

ก่อนหน้านี้การเลี้ยงจิ้งหรีดถือว่าเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกร จ.มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ แต่หลังจากเกษตรกรจังหวัดเข้ามาให้การสนับสนุนเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดนำร่องในระบบแปลงใหญ่ใน ต.มะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ตั้งแต่ปี 2561 จนทุกวันนี้มีสมาชิกอยู่มากกว่า 280 ราย มีผลผลิตออกสู่ตลาดวันละประมาณ 2,000-3,000 กิโลกรัม ทำรายได้เข้าหมู่บ้านได้ปีละประมาณ 60-70 ล้านบาท แต่ละปีจะสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น แต่ละรุ่นก็สร้างรายได้ถึง 16 ล้านบาท เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ตอนนี้หันมายึดอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดแทนทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก


ขั้นตอนเลี้ยงจิ้งหรีดเงินล้าน ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนต่ำ

การเพาะพันธุ์เลี้ยงจิ้งหรีดไม่ยุ่งยาก ต้นทุนต่ำ ขยายพันธุ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง ภายในเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 5 รุ่น ปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงจิ้งหรีดประกอบด้วย ขันไข่ บ่อละ 5 ขัน ท่อปูนพร้อมฝาปิดท่อ ขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. จำนวน 1 ท่อ หรือกะละมังพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 72 ซม. สูง 30 ซม. หรือจะเป็นภาชนะที่ใส่ได้ทุกขนาด ตาข่ายไนลอนเขียว 100x100 ซม. จำนวน 1 ผืน แผ่นพลาสติก ขนาด 25x270 ซม. จำนวน 1 ผืน ยางรัดปากบ่อหนา 1 ซม. จำนวน 1 เส้น ถาดอาหาร-น้ำ ขนาด 5x10 ซม. ลึก 1.5 ซม. 2 ถาด กระบอกไม้ไผ่ ยาว 20 ซม. ผ่าครึ่งจำนวน 10 อัน หรือกระดาษรังไข่ 3 อัน ถาดหรือถุงพลาสติกใส่ดินร่วนปนทราย หนา 2 ซม. เศษหญ้าแห้งวางหนา 2 ซม.

ส่วนขั้นตอนการสร้างเรือนโรง หรือหลังคาป้องกันแดดและฝนโดยให้แดดส่องเช้าเย็น ปรับพื้นที่กำจัดมดและศัตรูจิ้งหรีด วางบ่อบนฝา ใช้ปูนผสมทรายฉาบปริ่มขอบภายในและภายนอก ป้องกันมดเข้าทำลายลูกจิ้งหรีด ติดแผ่นพลาสติกด้านบนขอบบ่อหรือกะละมังด้วยเทปกาว

การให้อาหารและน้ำ พืชอาหาร ได้แก่ ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืชหรือหญ้าสดทุกชนิด หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง โดย 2 วัน ให้หญ้า 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือโดยหญ้าเก่าไม่ต้องนำออก จะเป็นที่อาศัยของจิ้งหรีดต่อไป ส่วนอาหารเสริม รำอ่อน หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงไก่จิ้งหรีด 1 บ่อ ใช้อาหาร 3 กก./รุ่น ราคาประมาณ 15 บาท/กก. อาหารเสริมควรให้ในปริมาณที่กินหมดภายใน 2 วัน

ขณะที่การให้น้ำ ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูข้างขวด 2 รู ใช้ผ้าทำความสะอาดม้วนใส่รูเพื่อให้น้ำซึมสำหรับจิ้งหรีดวัยตัวอ่อน ภาชนะสำหรับวางไข่จิ้งหรีด ใช้ดินร่วนปนทรายและแกลบเผาใส่ขันสำหรับอาบน้ำ ใช้ฟ็อกกี้ฉีดน้ำทุก 3 วัน พอชื้นไม่แฉะ ก่อนฉีดน้ำนำถาดอาหารออกก่อน ถ้าเปียกจะเกิดเชื้อรา ใช้เฉพาะในช่วงที่มีตัวเต็มวัยที่จะวางไข่  

ทุนการผลิตและผลตอบแทน สามารถเลี้ยงได้ปีละ 5 รุ่นต่อบ่อ มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรวม 850 บาทต่อบ่อต่อปี ส่วนผลตอบแทน จิ้งหรีดที่เลี้ยงมีผลผลิตได้ 5 กก.ต่อบ่อต่อรุ่น ปัจจุบันราคากิโลกรัมละประมาณ 100 บาท(ราคาส่ง) มีรายได้ 2,500 บาท หรือกำไรเฉลี่ย 1,700 บาทต่อบ่อต่อปี

การเลี้ยงแมลง หรือจิ้งหรีด ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าจับตามองและมีอนาคต เพราะปัจจุบันประชากรทั่วโลกนิยมรับประทานแมลงมากขึ้น ทำให้ความต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


สตาร์ทอัพฝรั่งเศส เพาะเลี้ยงแมลงป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

จิ้งหรีด’ลงทุนน้อย - รายได้งาม ส่งออกยุโรป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6059 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4915 | 23/10/2022
‘เลี้ยงจิ้งหรีด’ ส่งออกตลาดยุโรปอนาคตสดใส