ผนึก RCEP รับมือการค้าโลกผันผวน

SME Update
21/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2181 คน
ผนึก RCEP รับมือการค้าโลกผันผวน
banner

ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทั้งจากปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงยืดเยื้อ แม้ว่าสองฝ่ายจะชะลอการขึ้นภาษีและมีกำหนดเจรจากันหลายครั้ง แต่ก็มีโอกาสที่จะไร้ข้อสรุป ซึ่งอาจจะต้องรอไปจนถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯสิ้นสุดลง ไม่เพียงเท่านั้นสถานการณ์การค้าโลกตรึงเครียดอีกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2562 จากเหตุการใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุดิอารเบีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับขึ้นไป 10% ก่อนที่จะดิ่งกลับลงมา  

ล่าสุดการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเป็นการแยกตัวในลักษณะไร้ข้อตกลงรองรับ (Brexit with no deal) หรือไม่ หากเป็นลักษณะนี้เท่ากับอังกฤษจะต้องเจรจากฎระเบียบและความตกลงต่างๆ กับอียู และทั่วโลกใหม่ทั้งหมด

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าอาจลดลง หรือแม้แต่อาจเข้าภาวะถดถอย (Recession) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562 เหลือ 3.2%และ 3.5% ในปี 2563 ซึ่งนับว่าตกต่ำที่สุดนับจากปี 2009 (2552)

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในสถานการณ์ความตึงเครียดของภาวะการค้าโลกปัจจุบัน ทำให้หลายประเทศประเทศหันมาใช้มาตรการกีดกันทางการค้าอย่างต่อเนื่อง

“การสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มภูมิภาค” จึงเป็นหนทางออกเดียวที่หลายฝ่ายเร่งดำเนินการ เพื่อแก้เกมส์ภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน  ทำให้เห็นการเจรจาความตกลงการค้ากรอบต่างๆ ผุดขึ้นอย่างมากมาย รวมถึงกลุ่มสมาชิก 16 ประเทศตามกรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งประกอบไปด้วย อาเซียน 10 ประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่ได้มีการเจรจากันอย่างเข้มข้นถึงรอบที่ 28 เมื่อวันที่ 19-27 กันยายน 2562 ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

และเปิดเวทีเจรจาระดับรัฐมนตรีสมัยพิเศษ ครั้งที่ 9  ในระหว่างวันที่ 10-12 ต.ค.2562  ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุม เพื่อร่วมกันตัดสินใจประเด็นระดับนโยบายที่ยังคงค้างอยู่ เพื่อประกาศความสำเร็จการเจรจา RCEP ให้ได้ในปลายปีนี้

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ที่ปรึกษาการพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจา RCEP รอบที่ 28 ระบุถึงความคืบหน้าของการเจรจาว่า ถือเป็นรอบที่พอใจ มีสัญญาณที่ดีมากหลังจากที่มีการเจรจามายาวนานกว่า 7 ปี โดย RCEP ทั้ง 16 ประเทศ ได้แสดงความยืดหยุ่นมากขึ้นในหลายประเด็น และร่วมกันผลักดันการเจรจาอย่างเต็มที่ ทำให้สามารถสรุปผลได้แล้ว 13 บท จากทั้งหมด 20 บท เหลือเพียง 7 บทเท่านั้น 


หากสมาชิกสามารถบรรลุความตกลง RCEP ได้ตามเป้าหมายระดับผู้นำ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบรรเทาและลดการกีดกันทางการค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต ในภูมิภาค ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มีประชากรรวมกันกว่าครึ่งโลก หรือ 3,500 ล้านคน มีมูลค่า GDP กว่า 27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 32 ของมูลค่า GDP โลก

สำหรับประเทศไทย จะได้ประโยชน์อย่างมากเช่นกัน เพราะในปี 2561 ไทยกับประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 2.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 59.8% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย นอกจากนี้ ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป กว่า 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 58.8% ของการส่งออกของไทยไปโลก และไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปกว่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 60.7% ของการนำเข้าไทยจากโลก

การสรุปความตกลง RCEP ไม่เพียงจะช่วยให้ไทยเปิดตลาดสินค้าได้มากขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยยังสามารถสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่มีความหลากหลาย และสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในเครือข่ายภาคการผลิต และการกระจายสินค้าของภูมิภาค  ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความแข็งแกร่งฝ่ากระแสการค้าโลกผันผวน

No-deal Brexit 3 กลุ่มสินค้าไทยได้ประโยชน์ 

ส่องภาวะเศรษฐกิจของ EU ล่าสุด 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1049 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1388 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1667 | 25/01/2024
ผนึก RCEP รับมือการค้าโลกผันผวน