4 เหตุผลที่โควิด ทำให้การฟื้นตัวของสหรัฐฯ ต่างจากวิกฤตอื่น

SME Go Inter
27/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 1308 คน
4 เหตุผลที่โควิด ทำให้การฟื้นตัวของสหรัฐฯ ต่างจากวิกฤตอื่น
banner

ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังคงมีอยู่ทั่วโลก แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2021 กลับดูดีขึ้น ทั้งที่ก่อนนี้เคยเป็นประเทศมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงที่สุดในโลกด้วยซ้ำ อะไรทำให้เหตุการณ์พลิกกลับมาในทางที่ดีขึ้น หรือว่านี่ยังเป็นภาพลวงที่หลอกเราอยู่ มาหาคำตอบเรื่องนี้กัน

นักเศรษฐศาสตร์จาก Decision Economics, Inc. ได้ชี้ให้เห็นถึง 4 สัญญานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า พิษทางเศรษฐกิจในวิกฤตครั้งนี้ไม่เหมือนกับการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจระหว่างปี 2533-2534, ปี 2544 และระหว่างปี 2550-2552 อันมีสาเหตุมาจาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. ความแตกต่างระหว่างภัยธรรมชาติและภัยทางการเงิน

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอดีตมักเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยหรือมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อผลผลิต รายได้ รวมถึงการจ้างงาน ซึ่งบางครั้งเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี

ในขณะที่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจากแพร่ระบาดของโควิด 19 ไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางการเงิน แต่คล้ายกับการหยุดชะงักที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการจะยังคงอยู่ตามปกติ และเมื่อภัยพิบัติผ่านพ้นไป เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าภาวะถดถอยทั่วไป จากการศึกษาสถิติการคืนภาษีบุคคลธรรมดาของชาวนิวออร์ลีนส์ในปี 2561 พบว่า หลังจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาถล่มครั้งใหญ่ในช่วงแรก รายได้ของผู้ประสบภัยกลับคืนสู่สภาพเดิมภายในเวลาไม่กี่ปี และยังแซงหน้าผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบอีกด้วย

การได้รับวัคซีนอย่างแพร่หลายเปรียบเสมือนการควบคุมภัยธรรมชาติ ส่งผลให้ผู้บริโภคกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดใหม่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และการจ้างงานก็เพิ่มมากขึ้น

 

2. นโยบายการเงินและการคลัง

รัฐบาลเร่งกำหนดนโยบายทางการเงินการคลัง เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างรวดเร็ว จึงทำให้สามารถจำกัดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวที่รวดเร็วขึ้น อาทิ การจ่ายเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ การขยายผลประโยชน์การว่างงาน และโครงการ Paycheck Protection Program โดยใช้งบประมาณสูงกว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งก่อน คิดเป็นมูลค่า 5.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.4% ของ GDP จนถึงปี 2567 เทียบกับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2550-2552 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.4% ของ GDP ระหว่างปี 2551 ถึง 2555

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ริเริ่มการซื้อพันธบัตรขนาดใหญ่ และรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเกือบศูนย์จนกว่าการจ้างงานเต็มจำนวนจะกลับมา โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่เหนือเป้าหมายที่ 2% และอาจจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2567

ผลลัพธ์คือรายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดับก่อนเกิดโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ

 

3. ครัวเรือนและธุรกิจที่มีการฟื้นตัวดีขึ้น

คาเรน ไดแนน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า บ่อยครั้งที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมดุลบางอย่าง เรามีที่อยู่อาศัยมากเกินไป หรือมีหนี้สินมากเกินไป หรือมีเงินเฟ้อมากเกินไป แต่ความไม่สมดุลดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ เนื่องจากนโยบายกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ช่วยป้องกันความเสียหายในวงกว้าง

การออมมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากครัวเรือนกังวลกับการใช้จ่ายและต้องการออมเงินสด แต่ก็ไม่เคยมากขนาดนี้ ชาวอเมริกันออมเงินในอัตรา 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าก่อนเกิดวิกฤตถึง 2 เท่า ส่งผลให้พวกเขาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง

 

4. ปัญหาการขาดแคลน ภาวะคอขวด ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

ข้อเสียอย่างหนึ่งของการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว คืออุปสงค์ฟื้นตัวเร็วกว่าอุปทาน ทำให้เกิดภาวะ คอขวด และแรงกดดันด้านค่าจ้าง-ราคา ซึ่งปกติแล้วจะเกิดขี้นในช่วงหลายปีหลังจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

อัตราเงินเฟ้อมักจะปรับตัวลดลงในช่วงระหว่างภาวะถดถอย และการฟื้นตัวในช่วงต้นจากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่ในครั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภค (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่ 0.9% ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2525

ในส่วนของการจ้างงาน นายจ้างที่ต้องการจ้างงานกำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยระหว่างเดือนเมษายนของปีที่แล้วถึงมีนาคมของปีนี้ จำนวนผู้หางานต่อหนึ่งงานที่เปิดรับสมัครลดลงจาก 5 เหลือเพียง 1.2 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสองครั้งก่อน

 

อ้างอิง :

https://www.wsj.com/

https://www.thaibicusa.com


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6263 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2021 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5027 | 23/10/2022
4 เหตุผลที่โควิด ทำให้การฟื้นตัวของสหรัฐฯ ต่างจากวิกฤตอื่น