7 เหตุผลที่ทำให้ผู้นำล้มเหลวแบบฉับพลัน

Edutainment
07/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 6956 คน
7 เหตุผลที่ทำให้ผู้นำล้มเหลวแบบฉับพลัน
banner

ยุคดิจิทัลครองเมืองคนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์กรทั้งยักษ์เล็กหรือยักษ์ใหญ่ ซึ่งคนนั้นต้องพรั่งพร้อมไปด้วยผู้มีสติปัญญาที่เต็มไปด้วยความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีใจรบกับทุกคน ซึ่งทุกคนล้วนสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถจนผลักดันตัวเองก้าวสู้ความเป็น “ผู้นำ”ได้ไม่ยาก และแน่นอนว่าผู้นำที่ดีเองก็สามารถทำความผิดพลาดกันได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุ 7 ประการที่ทําให้ผู้นําที่ดี กลายเป็นผู้นําที่ล้มเหลวฉับพลัน ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. มองความสําเร็จว่าเป็นผลงานของตน

แต่ละองค์กรองค์ประกอบความสำเร็จสูงสุดคือทีมงานและพนักงาน แต่หากผู้นำองค์กรมองข้าม ไม่ได้สนใจ ใส่ใจเพียงอย่างเดียวก็คือทุกความสําเร็จที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ตนเองเป็นคนทําทั้งหมด ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงานหรือนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้า

2. ไม่เข้าใจบทบาทของผู้นําที่แท้จริง

ผู้นำที่ดีต้องรู้บทบาทของผู้นํา คือ การมองภาพอนาคต กําหนดวิสัยทัศน์ กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในทีมงานและพนักงานทุกคน เพื่อนำพาองค์กรให้ไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น แต่ผู้นําที่ล้มเหลว ส่วนใหญ่มักมองข้าม ไม่ให้ความสนใจ ไม่ได้ทําอะไรแบบนั้นเลย

3. กลายเป็นคนที่หยิ่งยโส หลงในอํานาจ

เมื่อตราบใดที่ผู้นํายังหลงในอํานาจตัวเอง คิดว่าคนเองเป็นใหญ่ที่สุด คือคนเดียวที่สามารถทําอะไรก็ได้ ใช้อํานาจไปในทิศทางที่ผิด และคิดว่าตนเองนั้นเก่งที่สุด ทุกคนจะต้องเชื่อฟัง ถือว่าเป็นผู้ที่ล้มเหลวที่สุด

4. ขาดความยืดหยุ่น

ผู้นำที่คิดเผด็จการ ไม่ฟังความคิดเห็นคนรอบข้าง ไม่เคยฟังความคิดของลูกน้อง ทําทุกอย่างแบบขาดความยืดหยุ่น และขาดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับตลาดโลก ทำให้องค์กรย่ำอยู่กับที่ ย่อมพ่ายแพ้ให้กับบริษัทคู่แข่ง

5. ไม่สามารถให้ Feedback ที่สร้างสรรค์

ผู้นําที่ดีจะต้องสามารถให้ Feedback ที่ดีแก่ทีมงานได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง แต่ผู้นําที่ล้มเหลวจะเอาแต่ก่นด่าว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้คําพูดที่ไม่สร้างสรรค์ และเป็นคําพูดที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาใดๆ ถือว่าเป็นผู้นำที่แย่สุดๆ

6. ไม่ยอมเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

สำหรับผู้นําที่ล้มเหลว คือผู้นําที่ไม่คิดที่จะเรียนรู้อะไรและพัฒนาตนเองตามกระแสโลกยุคดิจิทัล ยึดมั่นแต่สิ่งที่ตนเองเคยรู้ เคยทํา และเคยสําเร็จ โดยไม่ตระหนักว่าสิ่งเหล่านั้น มันกําลังจะล้าสมัย

7. มีทักษะการสื่อสารที่แย่มาก

ผู้นําล้มเหลว ก็คือการขาดทักษะการ สื่อสารที่ดี พูดเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากไปทุกอย่าง สื่อสารกับลูกน้องหรือลูกค้าไม่มีใครเข้าใจ แถมยังเป็นการยั่วยุ ท้าทาย ส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งกันเองในองค์กรมากขึ้นไปอีก

3 ขั้นตอนเรียนรู้จากความล้มเหลว

ผู้นำทุกคนย่อมเคยผ่านช่วงเวลาที่ดีที่สุด แต่เมื่อพบกับความล้มเหลวแล้ว ไม่อยากให้คุณยอมแพ้ เพราะการยอมแพ้ก็เท่ากับว่าคุณได้ละทิ้งเส้นทางที่จะประสบความสำเร็จไปเสียแล้ว สิ่งที่อยากให้คุณทำก็คือการเรียนรู้จากความผิดพลาดควรจะทำยังไงกับมันบ้าง

1. สะท้อนออกมาให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น

ต้องกลับมานั่งคิดทบทวนสักนิดเพื่อคิดเกี่ยวกับความล้มเหลว และถามตัวเองว่ามีอะไรผิดพลาด ในบางครั้งปัญหาก็อาจจะชัดเจน แต่บางกรณีคุณอาจจะต้องใช้เวลาค้นหามักนานขึ้นอีกหน่อย ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันจะทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าไม่รู้ปัญหาก็ไม่มีทางที่จะเรียนรู้อะไรได้เลย

2. ทบทวนกลยุทธ์และวางแผนเดินหน้า

เมื่อรู้แล้วว่าปัญหาต่างๆ นั้นเกิดจากอะไร จะต้องทบทวนแล้วว่าจะก้าวต่อไปอย่างไร หากลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ อาจจะต้องเปลี่ยนแผนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือหรือจะเปลี่ยนแค่เล็กน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่คุณเจอ ดังนั้นจงทบทวนให้ดีๆ ว่าจะเดินหน้าวางแผนกับชีวิตต่อไปอย่างไง

3. ปรับเปลี่ยนแนวคิดและทำให้แตกต่างจากเดิม

การลงมือทำในสิ่งที่ได้ทบทวน และวางแผน จงอย่ากลัวที่จะลงมือทำ ถ้ามันประสบผลดีก็จะได้แนวทางที่มั่นคงและได้เรียนรู้สิ่งใหม่เพิ่มขึ้น การเรียนรู้จากความผิดพลาดจะช่วยให้คุณแข็งแกร่งขึ้น และก้าวไปสู่ความสำเร็จได้มากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า

 

ความล้มเหลวนั้นผู้นำที่ดีปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเอง เพราะหากการบริหารที่ผิดพลาดย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่ว่าใครก็เคยล้มเหลวมาก่อนทั้งนั้น แต่หากล้มเหลวกลับมาปรับปรุงใหม่ ก็สามารถผลักดันตัวเองก้าวสู่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

 

แหล่งอ้างอิง : Think People Consulting 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปรียบเทียบ IG Algorithm แบบเก่า vs ใหม่

เปรียบเทียบ IG Algorithm แบบเก่า vs ใหม่

รู้หรือไม่? Instagram Algorithm มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ! Bangkok Bank SME สรุปมาให้แล้วว่า IG Algorithm แบบเก่ากับแบบใหม่ต่างกันอย่างไร…
pin
22 | 13/03/2025
30+ เครื่องมือ AI สำหรับธุรกิจในปี 2025

30+ เครื่องมือ AI สำหรับธุรกิจในปี 2025

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Generative AI ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในวันนี้.โดยผลสำรวจของ Gartner พบว่า 42% ในปี 2025 มากกว่า 60%…
pin
29 | 27/02/2025
ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
1246 | 07/02/2024
7 เหตุผลที่ทำให้ผู้นำล้มเหลวแบบฉับพลัน