REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน

SME Update
23/08/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 8010 คน
REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน
banner

มีแนวคิดหนึ่งในต่างประเทศที่น่าสนใจ ‘Circular for Zero’ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ แนวคิดอุตสาหกรรมยุคต่อไปที่ต้องไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโลก แม้ตอนนี้เป็นยังเป็นแค่ เทรนด์ แต่ในไม่ช้านี้จะเปลี่ยนเป็น กติกาใหม่ ของสังคมโลกที่ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นแนวคิดการจัดการอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตหน้าใหม่ในตลาดพลังงานหนุนเวียน หรือปรับธุรกิจให้มีความยั่งยืน หรือแม้แต่การทำธุรกิจพลังงานหนุนเวียนได้ไม่ยาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

รู้จัก REC ใบเซอร์พลังงานหมุนเวียน

Renewable Energy Certificate : REC หรือใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยรับรองสิทธิในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยมี The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นหน่วยงานรับรอง ปัจจุบันมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นรายเดียวที่ได้สิทธิ์เป็นผู้ให้การรับรองในประเทศไทย

REC นอกจากจะเป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน

ที่สำคัญยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ให้คำมั่นตามข้อตกลงปารีส ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573

 

REC มีกระบวนการอย่างไร

หลังจากที่ทราบแล้วว่า REC มีประโยชน์อย่างไร ในที่นี้จึงจะนำมารู้จักกับกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1 MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC)

 

ผู้เกี่ยวข้องและกระบวนการซื้อขาย REC

REC กำหนดให้มีผู้เกี่ยวข้องหลัก 3 ส่วนได้แก่

1. Participant (ผู้ซื้อ) ส่วนมากมักจะเป็นหน่วยงานหรือองค์กรชั้นนำที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานสะอาดในการดำเนินกิจการ เป็นผู้ส่งคำสั่งขอซื้อ REC จากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

2. Registrant (ผู้ขาย) กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีการผลิตไฟฟ้าจริง และได้ขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้าไว้แล้ว

3. Issuer (ผู้ให้การรับรอง) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกลไกให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ และให้การรับรอง REC ของโรงไฟฟ้า โดยในประเทศไทยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ให้การรับรองแต่เพียงผู้เดียว (Local issuer)

 

REC มีดังขั้นตอนต่อไปนี้

- ผู้ซื้อ REC (Participant) แจ้งความต้องการซื้อ REC ไปที่ ผู้ขาย REC (Registrant)

- ผู้ขาย REC รับการตรวจสอบและรับรอง REC จาก กฟผ. (Issuer)

- กฟผ. ส่งมอบ REC ที่ผ่านการรับรองให้ผู้ซื้อ REC ผ่านระบบ Registry ของมาตรฐาน I-REC

- ผู้ซื้อ REC ชำระค่า REC ให้กับผู้ขาย REC

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซื้อขาย REC

- กรณีผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน (ชำระให้กับ กฟผ.)

1. ค่าเปิดบัญชี Registrant 0 บาท

2. ค่าขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า (5 ปี) 38,000 บาท

3. ค่าต่ออายุการขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า 15,200 บาท

4. ค่าธรรมเนียมการรับรอง REC (ต่อ MWh) 0.95 บาท     

 

- กรณีผู้ซื้อ (ชำระให้กับ I-REC)

1. ค่าเปิดบัญชีซื้อ-ขาย 500 ยูโร

2. ค่าธรรมเนียมรายปี 2,000 ยูโร

3. ค่าเปิดบัญชี Redemption 0 ยูโร

4. Redemption (ต่อ MWh) 0.06 ยูโร

ที่ผ่านมาธุรกิจชั้นนำของโลกต่างนำ REC ไปใช้งาน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ รายงานความยั่งยืนต่างๆ หรือข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งจะเห็นผ่านตามากขึ้น มีการนำ REC ไปใช้งานจริงในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงจุดยืนตามเจตนารมณ์โลกยุคใหม่

ด้วยเหตุนี้ หากมองในมุม SME ที่กำลังสนใจธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โมเดลการซื้อขาย REC นี้ก็นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมจะยิ่งทวีความเข้มข้นความการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

แหล่งอ้างอิง :

https://egc.egat.co.th/

https://biogasthailand.com/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่…
pin
2 | 31/03/2025
5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์ผู้บริโภคโลก ปี 2025 โดย Euromonitorล่าสุด ผลสำรวจจาก Euromonitor International ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค…
pin
9 | 17/03/2025
เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

ค้นพบ 7 นวัตกรรมใหม่ที่กำลังปฏิวัติโลกธุรกิจ พร้อมวิธีประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงContent…
pin
9 | 16/03/2025
REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน