ประเทศออสเตรเลียมีประชากรเพียง 25.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม
ปริมาณขยะที่มีเพิ่มขึ้นจำนวนมากและกำลัง กลายเป็นปัญหาสำคัญของออสเตรเลีย จากข้อมูล
The National Waste Report 2018 พบว่า ในช่วงปี 2016
– 2017 ออสเตรเลียมีปริมาณขยะมากถึง 67 ล้านตัน
(เฉลี่ย 2.7 ตันต่อคน)
แบ่งเป็นขยะจาก สิ่งก่อสร้างประมาณ 17.1 ล้านตัน เกษตรอินทรีย์ประมาณ 14.2 ล้านตัน เถ้าประมาณ 12.3 ล้านตัน ขยะหรือวัสดุอันตรายประมาณ 6.3 ล้านตัน กระดาษและ Cardboard ประมาณ 5.6 ล้านตัน และเหล็กประมาณ 5.5 ล้านตัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดจากภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจก่อสร้าง ตามลำดับ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสตื่นตัวในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการรีไซเคิลสิ่งของใช้แล้วนำ
กลับมาใช้ใหม่ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในออสเตรเลีย
เนื่องจากเศษวัสดุต่างๆ เหล่านั้น ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติและคุณภาพมากพอที่จะสามารถนำมาผลิต/ดัดแปลงเป็นสินค้าใหม่
รวมถึง นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อย่างมาก
โดยศูนย์ Sustainable Materials Research & Technology (SMaRT) มหาวิทยาลัย New South Wales สามารถคิดค้นและแปรรูปเศษวัสดุจากขยะให้เป็น
ผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ การแปรรูปเศษแก้วและสิ่งทอต่างๆ ให้เป็นโต๊ะหรือเคาน์เตอร์
(ร้อยละ 80 ทำจากวัสดุรี ไซเคิล)
และแปรรูปแผงวงจรคอมพิวเตอร์ให้เป็น Plastic filament สำหรับ
3D Printing เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัท Coca-Cola Amatil (บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม
Coca-Cola ใน 6 ประเทศ ได้แก่
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และอินโดนีเซีย) ได้หันมาใช้ขวด/บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ผลิต
จากพลาสติกรีไซเคิล (Recycled PET :rPET) มากขึ้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับกระแสความกังวลของผู้บริโภคต่อปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น
โดยในเบื้องต้น บริษัทฯ
ตั้งเป้าหมายสัดส่วนของ การใช้ขวดที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลสำหรับเครื่องดื่มทั้งหมดของบริษัทฯ
อยู่ที่ร้อยละ 70 และขวดเครื่องดื่ม
Coca-Cola ร้อยละ 100 ภายในสิ้นปี 2562
แนวทางและเป้าหมายดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ ลดการใช้ขวด พลาสติกที่ผลิตใหม่ได้มากถึง
16,000 ตันต่อปี
กล่าวได้ว่ากระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
(Circular Economy) กำลังมีความสำคัญอย่างมากต่อภาคธุรกิจในออสเตรเลีย
เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคออสเตรเลียให้ความสนใจใน ประเด็นการแก้ไขปัญหาปริมาณขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อม
ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงพยายามริเริ่มใน รูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น รวมถึงเพื่อใช้เป็นจุดขายที่สำคัญต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยควรศึกษากระแสหรือแนวโน้มดังกล่าวเพื่อให้ทราบถึงทิศทางของ ตลาดและแนวทางการปรับตัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีตลาดส่งออกในออสเตรเลีย
อาจถึงเวลาที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นไปตามกระแสของผู้บริโภคออสเตรเลียมากยิ่งขึ้น
ทั้งอาจจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการสินค้าขวดพลาสติกรีไซเคิลไทย
ในการส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังออสเตรเลียได้มากขึ้นจากกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมในออสเตรเลีย
อ้างอิง : The Australian/ Australian Financial Review
: www.smart.unsw.edu.au/www.abc.net.au