6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน

SME Update
28/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2586 คน
6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน
banner

ตามที่มีการประชุมคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราและรักษาเสถียรภาพราคายาง ครั้งที่ 3/2563 ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา และตัวแทนเกษตรกร ที่มีการหารือถึงสถานการณ์ผลผลิตยางพาราโลก มีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 3–4 % ต่อปี จากพื้นที่เพาะปลูกใหม่ที่ทยอยเข้าสู่ตลาดหลังจากเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงปี 2547-2555

โดยเฉพาะผลผลิตของจีนที่ปลูกในกลุ่มประเทศ CLMV ในขณะที่ความต้องการใช้ยางพาราของโลกคาดว่าจะขยายตัว 4-5% ต่อปี ส่งผลให้ยังคงมีผลผลิตยางพาราส่วนเกินเฉลี่ยกว่า 3.5-4.5 แสนตันต่อปี และจะมีผลให้ค่าคาดการณ์สต๊อกยางพาราโลกสูงกว่า 4 ล้านตันในช่วงปี 2562-2563 ซึ่งจะกดดันให้ราคายางพาราในตลาดโลกในช่วงปี 2563-2564 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องจากปลายปี 2561 ทั้งยังเผชิญวิกฤติโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลต่อการผลิต ตลาด และราคาทั่วโลก

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ปัญหาทั้งในเชิงโอกาส ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลกด้วยมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ส่งออกยางรถยนต์อันดับ 4 ของโลก และส่งออกถุงมือยางอันดับ 2 ของโลก คณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราและรักษาเสถียรภาพราคายาง จึงมีมติกำหนด 6 มาตรการปฏิรูปยางพารา โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ชาวสวนยางและสถาบันยาง พร้อมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และแก้ไขปัญหาราคาทำให้เกิดเสถียรภาพราคายางพาราทั้งระยะสั้นและรายะยาว ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

6 มาตรการปฏิรูปยางพารา

1. มาตรการตลาดและราคา (Market & Price) เนื่องจากตลาดซื้อขายล่วงหน้ามีอิทธิพลต่อราคาอ้างอิงในตลาดซื้อขายจริง โดยเฉพาะตลาดซื้อขายล่วงหน้า 4 ตลาดหลัก คือ ตลาดเซี่ยงไฮ้ โตเกียว สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดผู้ซื้อ ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกแต่มีบทบาทน้อยมากต่อการกำหนดราคาซื้อขายยางพารา

จึงเห็นควรให้เร่งศึกษาหาข้อสรุปการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง (Physical Forward Market) ของยางพาราที่เรียกว่า “ตลาดไทยคอม” (ThaiCom) ซึ่งเป็นตลาดลูกผสมแบบ ไฮบริด (Hybrid) ระหว่างตลาดซื้อขายจริง (Spot Market) กับตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์

โดยให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจที่ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญศึกษาจัดทำรายงานเสนอภายใน 90 วันและระหว่างนี้ให้ กยท.เสนอรายงานแนวคิดเบื้องต้น (Concept paper) เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อรับทราบแนวทางนโยบาย หากเห็นชอบในหลักการให้คณะทำงานจัดทำรายงานขั้นสุดท้ายเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาก่อนเสนอต่อคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

2. มาตรการการบริหารด้านอุปทาน (Supply Side Management) กำหนดให้ลดพื้นที่สวนยาง 2 ล้านไร่ โดยลดพื้นที่สวนยางปีละ 2 แสนไร่ เป็นเวลา 10 ปีเพื่อลดปริมาณการผลิตโดยขอการสนับสนุนไร่ละ 10,000 บาทจากรัฐบาล เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ให้เร่งขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศ และมอบหมาย กยท.เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราตามความต้องการของภาครัฐและตลาดทั้งในและต่างประเทศ

3. มาตรการการบริหารด้านอุปสงค์ (Demand Side Management) เร่งขยายตลาดในจีนโดยให้ขยายการค้ายางพาราให้ครอบคลุมในทุกมณฑลของประเทศจีน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายยางพารา ต่อยอดจากในอดีตที่การค้ายางกระจุกตัวอยู่ในบางมณฑล รวมทั้งการขยายตลาดหลักอื่นๆ และเปิดตลาดใหม่ๆ โดยให้จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการค้ายางพารากับจีนและตลาดหลักเป็นการเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทางการตลาดและการขายเชิงรุก ทั้งรูปแบบการค้าออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการสร้างมาตรฐานของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ยางพารา ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรมยางพาราของไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า นอกจากนี้ยังมีมติให้ กยท.จัดงาน “ยางพาราเอ็กซ์โปบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเสมือนจริง” (Virtual Platform) เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าและการจับคู่ธุรกิจระหว่างประเทศ

4. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยางรวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล (New Normal) จากผลกระทบของโควิด-19 โดยเร่งเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนในรับเบอร์ซิตี้ (Rubber City) และพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตยางพาราพร้อมกับเร่งศึกษาโครงการรับเบอร์คอมเพล็กซ์ (Rubber Complex) ที่นครศรีธรรมราช และให้ กยท. จัดโครงการประกวดนวัตกรรมการแปรรูปยาง โดยเชื่อมโยงกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชาวสวนยางและสถาบันยาง

5. มาตรการลดสต็อกยางพารา ให้ กยท.เสนอแนวทางการบริหารจัดการสต็อกยางพาราที่คงค้างกว่า 1 แสนตัน โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 9 กรกฎาคม ทั้งนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบด้านราคา

6. มาตรการเพิ่มรายได้ มอบหมายให้ กยท.ขยายการส่งเสริมเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับชาวสวนยางและสถาบันยางพารา ซึ่งเดิมพึ่งพารายได้จากยางพาราเพียงด้านเดียว และส่งเสริมการปลูกพืชที่มีอนาคตด้านตลาดและไม้เศรษฐกิจ เพื่อทดแทนสวนยางพาราที่ถึงกำหนดต้องตัดทิ้งตามนโยบายลดพื้นที่สวนยางพารา

น่าจับตาว่าภายใต้การขับเคลื่อนมาตรการทั้ง 6 จะสามารถทำให้ตลาดยางพารามีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้หรือไม่ เพราะอุตสาหกรรมยางพาราที่รับผลกระทบเต็มๆ จากการหดตัวของอุตสาหกรรมยางล้อ จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งดูเหมือนว่าแนวทางการกระตุ้นการใช้ภายในและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จะมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ไทยจะยกระดับจากประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบยางไปสู่การสร้างนวัตกรรมยาง


 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ยกเครื่อง "ยางพาราไทย" สู่มาตรฐาน FSC

แนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2563


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน