คงเป็นเพราะจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ชายทะเล การสร้างสะพานยาว ๆ ยื่นออกไปในทะเลเพื่อใช้เป็นจุดขึ้นลงของเรือประมงจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คุ้นชินของชาวบ้าน แต่มีอยู่ 3 สะพานที่แปลกไม่เหมือนที่ไหนๆ เพราะแค่แต่งแต้มสีสันลงไปก็สามารถชุบชีวิตสะพานไม้เก่าๆ ให้กลับมาสดใส่ so cool กลายเป็นจุดเช็คอินยอดฮิตของนักท่องเที่ยว
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
สะพานสายรุ้ง
สีสันสดใสที่ไล่เรียงจาก ขาว ม่วง
คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ทำให้สะพานไม้ธรรมดาในหมู่บ้านกาหลง
จ.สมุทรสาคร ถูกขนานนามใหม่ว่า
“สะพานสายรุ้ง” และกำลังกลายเป็นสถานที่ยอดฮิตสำหรับคนรักการถ่ายรูป ใครก็ตามที่ได้มาถ่ายรูปคู่กับสะพานแห่งนี้ ต้องได้ภาพโดนใจกลับไปแน่นอน
สะพานสายรุ้ง ตั้งอยู่ที่ บริเวณหมู่ 7 ต.กาหลง
อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่นี่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ
ติดชายทะเล นอกจากอาชีพประมงจับปลาแล้ว การทำนาเกลือยังเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวบ้านละแวกนี้
ซึ่งเวลาขับรถเข้ามายังหมู่บ้านในช่วงทำนาเกลือ
จะเห็นภาพกองเกลือสีขาวไกลสุดลูกหูลูกตา โดยมีบริเวณรอบ ๆ
เป็นป่าชายเลนซึ่งปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์และ “สานต่อสิ่งที่พ่อทำ” ในหลวงรัชกาลที่ 9
สะพานสายรุ้ง สร้างด้วยไม้ยื่นยาวออกไปในทะเล
มีความยาวประมาณไม่เกิน 50 เมตร ปลายสุดของสะพานคือทะเลที่เวิ้งว้างไกลสุดสายตาในมุม
360 องศา ที่นี่จึงสามารถมองดูพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อย่างสวยงามแล้วแต่นักท่องเที่ยวจะเลือกสัมผัสกับบรรยากาศช่วงเวลาใด
แต่ถ้ามาช่วงเที่ยงจนถึงบ่าย
น้ำทะเลจะลด จนลายเป็นทะเลโคลน
เมื่อน้ำลดตอก็ผุด
กลายเป็นภาพเสาสะพานเรียงรายขับเน้นให้ตัวสะพานสายรุ้งโดดเด่นขึ้นมากลายเป็นภาพที่สวยไปอีกแบบ
แต่พอบ่ายแก่ ๆ น้ำทะเลจะเริ่มขึ้นอีกครั้งจนถึงพลบค่ำ กลายเป็นบรรยากาศจะโรแมนติกมาก
ๆ นั่งห้อยขาตรงปลายสะพานมองดูพระอาทิตย์ตกทะเล เป็นวิวร้อยล้านที่ไม่ต้องเสียเงินสักบาท
ก็เสพย์ได้อย่างอิ่มเอมใจ
ใกล้สะพานไม้สายรุ้งยังมีสะพานปูนที่เพิ่งได้รับการซ่อมแซมใหม่ให้แข็งแรงสามารถให้นักท่องเที่ยวปั่นจักรยานเล่นได้ สะพานปูนแห่งนี้ใช้เป็นที่จอดเรือของชาวบ้านเพื่อออกไปหาปลา เมื่อได้รับการซ่อมแซมใหม่ ตอเสาสะพานที่เรียงรายยึดเกาะขอบสะพานถูกทาบทาให้เป็นสีรุ้งสอดรับกับสะพานไม้ด้วย สุดปลายสะพานทำเป็นตัวอักษร “กาหลง” ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นจุดเช็คอินด้วย
สะพานแดง
สะพานแดง
นับเป็นสะพานแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสาครโปรโมทให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชมความแปลกใหม่
ตั้งอยู่ ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นสะพานสร้างด้วยไม้กระดานยาว 700 เมตรยื่นไปในทะเล
ตั้งอยู่บนฐานเสาปูน มีอายุเพียง 6 ปีเท่านั้น ( ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างซ่อมแซมแต่ยังใช้งานได้)
เหตุผลที่ทาสะพานเป็นสีแดง เพราะเดิมหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งของสะพานแห่งนี้ ชื่อ “
หมู่บ้านแดง”
เมื่อก่อนในช่วงเดือนพฤศจิกายน –
มกราคม เป็นช่วงของลมหนาวพัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ฝั่ง
คลื่นลมได้พัดพาฝูงปลาโลมาเข้ามาเป็นจำนวนมาก
บริเวณสะพานแดงจึงกลายเป็นจุดชมปลาโลมาที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจำนวนปลาโลมาน้อยลม
จึงเหลือแต่เพียงมาถ่ายรูปกับสะพานแดงเท่านั้น
สะพานแดงมีความกว้างและยาวมากจึงสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของชายฝั่งได้สวยงาม
ในบรรยากาศลมเย็นสบายในตอนเช้าและเย็นที่สามารถแวะมาชมความงดงามของพระอาทิตย์ขึ้นและตกพร้อมกับถ่ายรูปสวย
ๆ คู่กับสะพานเก็บไว้เป็นที่ระลึก
อีกจุดเด่นของสะพานแดงที่เป็น unseen คือ การได้มาชมปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสงสวยงามยามโพล้เพล้พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน ปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสงเกิดจากสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเลที่เรียกว่าแพลงก์ตอนจะมารวมตัวกันกินอาหาร โดยแพลงก์ตอนเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาพิเศษที่เรียกว่า Bioluminescence ทำให้ผนังเซลล์เกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินได้ เมื่อกระทบกับผิวน้ำยามค่ำคืนกลายเป็นความงดงามที่ลึกลับน่าค้นหา
สะพานเขียว
ปิดท้ายกับสะพานเขียว ตั้งอยู่ที่ชุมชนชาวประมงบ้านรางจันทร์ หมู่4 ตำบลนาโคก
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นชุมชนหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆแต่ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ชาวบ้านที่นี่ทำกะปิจากเคยเป็นอาชีพดั้งเดิมโดยการถีบกระดานช้อนตัวเคยในทะเล นอกจากนี้ยังทำบ่อเลี้ยงปูทะเลแบบธรรมชาติ
สะพานเขียว
เป็นสะพานไม้ทาสีเขียวสดใสยื่นยาวออกไปในทะเล บรรยากาศลมเย็นสบาย สภาพสะพานยังใหม่
นักท่องเที่ยวนอกจากมาถ่ายรูปคู่กับสะพานแล้ว ช่วงน้ำลดลงยังมีกิจกรรมถีบกระดานโต้โคลนให้สนุกได้อีก
ใครที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตชาวประมงแบบดั้งเดิม
ที่นี่มีบ้านพักแบบโฮมสเตย์เป็นรูปแบบของชาวประมงแท้ๆ
ข้อดีคือสามารถดูตื่นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกได้อย่างสะดวกสบาย
ตามรอย CNN 3 จุดสุดคลาสสิกเมืองเก่าภูเก็ต
แบกเป้เที่ยวไปสัมผัสธรรมชาติ 7 แห่งที่จังหวัดราชบุรี