นครบาร์เซโลนา ของประเทศสเปน ประกาศตัวเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของสเปนในปี ค.ศ. 2013 และได้นํากลยุทธ์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สังคม และมหานครที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 3.23 ล้านคน
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
บาร์เซโลนาได้นําเอาเทคโนโลยีไปปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการต่าง
ๆ ทั้งการขนส่งสาธารณะ ระบบไฟ ส่องทาง การจัดการขยะและน้ำ
การบริการด้านสุขภาพและสังคมและยังใช้ระบบ Internet of
Things (IoT) พัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยมีโครงการเด่น ๆ หลายโครงการ
อาทิ
1. ระบบรดน้ำต้นไม้
ซึ่งมีเซนเซอร์ที่พื้นดิน ทําให้ทราบข้อมูลความชื้น อุณหภูมิ ความเร็วลม
แสงอาทิตย์และความกดอากาศ
ส่งผลดีต่อการควบคุมปริมาณน้ำที่จะใช้ในการรดน้ำต้นไม้และป้องกันการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง
2. ระบบจัดการขยะอัจฉริยะ
ซึ่งมีเซนเซอร์ในถังขยะและระบบจะส่งสัญญาณให้รถมาเก็บขยะไปทิ้งเมื่อขยะเต็มถัง
3. โครงการจักรยานสาธารณะ
ด้วยระยะทางจักรยานยาวรวมกันกว่า 126.2 กิโลเมตร
อีกทั้งบาร์เซโลนาเป็นเมืองใหญ่แรก ๆ ของโลก ที่นําเทคโนโลยีมาให้บริการจักรยานสาธารณะแก่ผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ
4. ระบบรถโดยสารประจําทาง
มีการใช้รถไฮบริดเพื่อลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการสัญจรที่ยั่งยืน
อีกทั้งตามป้ายรอรถเมล์อัจฉริยะจะมีป้ายโซลาร์เซลล์บอกเวลารอรถคันถัดไปอีกด้วย
จากความพยายามด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างไม่หยุดยั้ง
ทําให้นครบาร์เซโลนาได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองอัจฉริยะอันดับ 3 ของโลก
โดยจุดเด่นของการพัฒนาเมืองอัจริยะของนครบาร์เซโลนา คือการมีผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นประโยชน์ของการพัฒนาความเป็นเมืองอัจฉริยะ
แนวนโยบายของรัฐบาลและการดําเนินโครงการในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งสามารถสร้างงาน
47,000 ตําแหน่ง จากการติดตั้งระบบ loT ภายในเมือง การบริหารจัดการที่ดีทําให้สามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละ 42.5
ล้านยูโรและสร้างรายได้จากระบบที่จอดรถอัจฉริยะปีละ 36.5 ล้านยูโร นอกจากนี้
ยังมีบริการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
และได้กลายเป็นตัวอย่างของการพัฒนาสําหรับอีกหลายเมือง
เมืองอัจฉริยะ
กับความท้าทายของสังคมสูงอายุ
อย่างไรก็ดี
การใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวนําในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเดียวคงอาจจะไม่เพียงพอ
เพราะเมืองอัจฉริยะที่ดีควรเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การดูแลสังคมครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กันไปด้วย
สเปนเป็นประเทศหนึ่งที่มีอายุขัยเฉลี่ยมากเป็นอันดับต้น
ๆ ของโลก (อายุเฉลี่ย 83.2 ปี) และด้วยโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้ปัจจุบันในเขตเมืองบาร์เซโลนามีผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ
65 ปีขึ้นไป มากถึง 300,000 คน (ประมาณร้อยละ 20
ของประชากรที่อาศัยในเขตเมืองบาร์เซโลนาจํานวน 1.62 ล้านคน) ซึ่งในจํานวนนี้
100,000 คนมีอายุเกินกว่า 80 ปี และ 88,000 คนอาศัยอย่างโดดเดี่ยว คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบางคนลดลง
บางคนเป็นโรคซึมเศร้า สุขภาพทรุดโทรมและเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2014 เทศบาลเมืองบาร์เซโลนาจึงริเริ่มโครงการที่ชื่อว่า VinclesBCN (Vincles ซึ่งภาษาท้องถิ่นแปลว่าเครือข่ายสังคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของบาร์เซโลนา โดยได้ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นสําหรับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุ และได้เริ่มมีการใช้อย่างเป็นทางการทั่วนครบาร์เซโลนาเมื่อต้นปี ค.ศ. 2018
ดิจิทัลพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย
แอปพลิเคชั่น VinclesBCN ถูกออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะจึงใช้งานง่าย
ภายในแอปพลิเคชั่น จะแบ่งสมาชิกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มครอบครัวและเพื่อน
ซึ่งรวมถึงคนในครอบครัว ญาติ เพื่อน เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ และ
2. กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้บริการ VinchesBCN ซึ่งแบ่งตามหัวข้อความสนใจและเขตพื้นที่อยู่
อาศัย
ในแต่ละกลุ่มจะมีเจ้าหน้าที่คอยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้สูงอายุสามารถใช้แอปพลิเคชั่นสื่อสาร ผ่านวีดีโอคอล
ข้อความและข้อความเสี่ยงกับกลุ่มคน 2 กลุ่มดังกล่าว
รับข้อมูลการบริการของเทศบาลเมืองได้และ เข้าถึงข้อมูลกิจกรรมในพื้นที่ เช่น
การเรียนทําอาหาร ชมรมนักอ่าน เป็นต้น นอกจากการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันแล้ว
เครื่องมือนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์
เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนใหม่วัยเดียวกันนอกสถานที่อีกด้วย
ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65
ปีขึ้นไปที่อยู่คนเดียว และมีทะเบียนบ้านในเมืองบาร์เซโลนา สามารถเข้าร่วม
โครงการดังกล่าว โดยเทศบาลเมืองบาร์เซโลนาจะให้ยืมแท็บเลตที่มีแอปพลิเคชั่น VinclesBCN ติดตั้งพร้อมกับ สัญญาณอินเตอร์เนตไว้แล้ว
หรืออาจจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นไว้บนแท็บเลตของตนเองก็ได้
ส่วนครอบครัว ญาติ
และเพื่อนจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน VinciesBCN ในสมาร์ทโฟนเพื่อใช้บริการดังกล่าว นอกจากนี้
เทศบาลเมืองบาร์เซโลนาร่วมกับมูลนิธิ Vodafone Spain (แอปพลิเคชั่น
VinciesBCN ติดตั้งบนแท็บเล็ตของบริษัท Vodafone) และสมาคม Secotbcn จัดอบรมวิธีการใช้งาน VinclesBCAN
แก่ผู้สูงอายุอีกด้วย
โครงการนี้จึงทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมามีความสุขอีกครั้ง และทําให้กลุ่มคน เหล่านี้คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น โครงการนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้ใช้งาน โดยร้อยละ 80 เห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น ร้อยละ 70 มีกลุ่มเพื่อนเพิ่มขึ้นและร้อยละ 60 เห็นว่าตนเองมีสภาพจิตใจ ดีขึ้น ในอนาคตเทศบาลเมืองบาร์เซโลนามีแผนที่จะเพิ่มจํานวนผู้ใช้งาน และเพิ่มชนิดการบริการของเทศบาลผ่านแอปพลิเคชั่นสําหรับผู้สูงอายุให้มากขึ้น
นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างโครงการเมืองอัจฉริยะในบาร์เซโลนาที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้สูงอายุ
และทําให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น
ในส่วนของไทย
ตามข้อมูลของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ในปี ค.ศ. 2017 มีประชากรอายุ 60
ปีขึ้นไปจํานวน 11.3 ล้านคน หรือร้อยละ 17.1 ของจํานวนประชากรทั้งหมด และคาดกันว่าในปี
ค.ศ. 2021 ไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
ซึ่งจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของจํานวนประชากร ทั้งประเทศ
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความสําคัญและ
หามาตรการรับมือกับความท้าทายนี้ แอปพลิเคชั่นนี้
จึงอาจจะเป็นตัวอย่างสําหรับการพัฒนาสังคมผู้สูงวัยในไทยให้มีความสุข
อ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด
ปั้น 4 เมืองของไทยขึ้นชั้น Smart City
ความสำเร็จ 6 เมือง “Smart City” ระดับโลก