Smart Farmer หนทางรอดเกษตรไทย ในสงครามการค้าเสรี

SME Go Inter
06/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4375 คน
Smart Farmer หนทางรอดเกษตรไทย ในสงครามการค้าเสรี
banner
ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงในการส่งออกสินค้าเกษตร จนถูกขนานนามว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรและความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกจัดว่าอยู่ในระดับที่มหาศาล โดยสังเกตได้จากระบบการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ที่นำสินค้าเกษตรแลกเปลี่ยนเครื่องบินรบจากรัสเซียและหัวจักรรถไฟจากจีน หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันเมื่อต้นปี 2559 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และคณะชุดใหญ่ ได้เดินทางเพื่อขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การค้า และการลงทุน ซึ่งหนึ่งในโอกาสครั้งสำคัญคงหนีไม่พ้นประโยชน์เรื่องที่ได้ทำการพูดคุยมาพักใหญ่แล้ว นั่นคือ การซื้อเฮลิคอปเตอร์ด้วยสินค้าเกษตร

อย่างไรก็ตาม ภาคการเกษตรไทยกลับตกอยู่ในสภาวะที่นั่งลำบาก เนื่องจากสภาวะเกษตรกรมีหนี้สิน และที่ดินทางการเกษตรภายในประเทศมีสถานการณ์ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ผนวกกับกระแสโลกาภิวัตน์ เมื่อเกษตรกรหันเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ จากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของเกษตรกรเป็นไปตามกระแสนิยมของโลก อีกทั้ง นโยบายการค้าและการลงทุนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการผลิต รบกวนระบบนิเวศน์ ชุมชน การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรม ภัยธรรมชาติ การสูญเสียหน้าดิน จากการลักลอบตัดไม้ ทำเขื่อน อ่างเก็บน้ำ เผาป่า โลกร้อน ทำการเกษตรผิดวิธี และราคาข้าวผลตอบแทนลดลง

กลับมามองที่ประเทศเพื่อนบ้าน หลายฝ่ายมีการคาดการณ์ถึงการขึ้นมาเป็นผู้ผลิตข้าวเบอร์ 1 ของอาเซียนอย่างเวียดนามในอนาคต โดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ประเทศในอาเซียนที่ผลิตข้าวอันดับ 1 เป็นของอินโดนีเซีย ตามด้วยเวียดนามและไทย ส่วนประเทศที่ครองส่วนแบ่งการตลาดโลกอันดับ 1 เป็นของจีน ตามด้วยอินเดีย นอกจากนี้ กัมพูชายังมีการออกนโยบายโดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกที่รัฐบาลกำหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบาย Going With the Grain, Reaping the Benefit of Cambodian Rice. โดยมีการมุ่งหวังว่ากัมพูชาจะก้าวเข้ามาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในตลาดโลกรองจากไทยและเวียดนาม

แต่ถึงกระนั้น ประเทศที่กำลังจะไล่ตามหลังไทยมาติด ๆ และอาจไม่ใช่เวียดนามอีกต่อไป เมื่อเมียนมามีการกำหนดนโยบายส่งเสริมภาคเกษตรและยกระดับค่าครองชีพของเกษตรกรให้สูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลการผลิตข้าว โดยไม่ละเลยเกี่ยวกับการมุ่งดูแลรักษาความมั่นคงด้านอาหาร และเพิ่มสำรองข้าวภายในประเทศ โดยเปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวของเมียนมา

เมียนมามีพื้นที่มากกว่าไทยและเวียดนาม การขยายพื้นที่เพาะปลูกของเมียนมาจากนโยบายของรัฐบาล อาจส่งผลให้ในอนาคตเมียนมาจะมีพื้นที่ทางการเกษตรมากกว่าไทยและเวียดนาม โดยเมียนมามีแนวโน้มจะก้าวเข้ามาเป็นผู้ผลิตสินค้าข้าวและเกษตรแซงไทยและเวียดนามได้ เกษตรกรไทยหากยังจะรักษาตำแหน่งประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรจำเป็นอาจต้องปรับตัว ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีการวางนโยบายเรื่อง Smart Farmer เพื่อจะพัฒนาบุคลากรให้เป็นเกษตรทักษะสูง โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการเกษตร เป็นการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้มีความก้าวหน้ากว่าการทำเกษตรรูปแบบเดิม รวมถึงการก้าวเอาตัวเองออกมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการทำเกษตรแบบเก่า

Smart Farmer จะสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยมีผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต สิ่งแวดล้อม และยังสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเสรี แก้ปัญหาในมิติของผลิตภาพ (Productivity) ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่สูง และรายได้เกษตรกรมีอัตราเฉลี่ยต่ำ การนำนวัตกรรมเข้ามา จะช่วยในเรื่องของการเกษตรเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ระยะยาว โดยนำนวัตกรรมเข้ามาดูแลในเรื่องของการเพาะปลูก ระบบการบริหาร การจัดการ การตลาด บรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การเงิน บัญชี การต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และการทำแบรนด์

การเป็น Smart Farmer จะสามารถทำให้เกษตรกรไทยแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศ CLMV ได้ และยังเป็นการนำตัวเองเข้าสู่ Thailand  4.0 เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านได้ก้าวเข้าสู่ 3.0 ประเทศรายได้ปานเท่ากับไทย หากไทยยังคงทำการเกษตรรูปแบบเดิม และยังคงอยู่ใน 3.0 ราคาสินค้าเกษตรไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศใน CLMV ได้  เนื่องจากต้นทุนสูงกว่า และพื้นที่ทางการผลิตสินค้าเกษตรลดลง Smart Farmer จึงเป็นการปรับตัวเกษตรกรไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างมูลค่าให้สินค้า และสามารถแข่งขันได้ในตลาดเสรี

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: AECconnect@bbl.co.th สายด่วน 1333

%e0%b9%82%e0%b8%95%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2-aec-_smart-farmer-%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%94

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6059 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
Smart Farmer หนทางรอดเกษตรไทย ในสงครามการค้าเสรี