กรณีศึกษา SME sandbox ส่งเสริมนวัตกรรม

SME Go Inter
29/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2915 คน
กรณีศึกษา SME sandbox ส่งเสริมนวัตกรรม
banner

รัฐบาลไต้หวันจัดตั้ง Innovative Regulatory Sandbox หรือที่เรียกว่า SME sandbox ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา โดยเน้นการเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มธุรกิจเดิม ธุรกิจใหม่ ผู้บริโภค และที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพื่อผลักดันการเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ภายในประเทศ เนื่องจากหลายครั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรมมีข้อจํากัดด้านกฎหมายเป็นอุปสรรค เช่น ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือการบังคับใช้ที่คลุมเครือ

SME sandbox จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 โดยกรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมอย่างไม่ปิดกั้น ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม หลายครั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรมเกิดการสะดุดเพราะข้อจํากัดด้านกฎหมาย เช่น ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือการบังคับใช้ที่คลุมเครือ รัฐบาลจึงจัดตั้งแพลตฟอร์มนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจํากัดดังกล่าว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 



ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการมีดังนี้

-เสนอไอเดียกรอกแบบฟอร์มการสมัครและเขียนข้อเสนอโครงการด้านนวัตกรรม จากนั้นรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยัน

-ประเมินไอเดียหลังจากการยืนยันการส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญและคณะที่ปรึกษาจะทําการประเมินและตัดสินข้อเสนอโครงการ

-ปรับแต่งโครงการทดลองหากข้อเสนอการทดสอบโครงการผ่านการประเมินผล เจ้าหน้าที่ โครงการจะช่วยขัดเกลา แก้ไขข้อเสนอโครงการ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อเสนอโครงการนั้น มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

-สื่อสารและประสานงานหลังจากสรุปข้อเสนอโครงการเสร็จสิ้น คณะทํางานจะนัดประชุมและ ประสานงานข้ามหน่วยงานเพื่อให้บรรลุมติของการเริ่มต้นการทดลองระหว่างหน่วยงาน

-เริ่มการทดลองระหว่างการดําเนินงาน บริษัทจะต้องเขียนรายงาน 3 รูปแบบ ได้แก่ รายงาน เรื่องความเสี่ยง รายงานความคืบหน้า และรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดเพื่อตีพิมพ์ต่อสาธารณะ

-ประเมินผลลัพธ์และข้อเสนอแนะหลังการทดสอบเสร็จสิ้น ให้รายงานผลลัพธ์ของการทดลอง เพื่อใช้เป็นหลักฐานให้กับหน่วยงานที่กํากับดูแลการสร้างหรือการแก้ไขกฏเกณฑ์ด้านนวัตกรรม


โดยตัวอย่างแนวทางการทดลองในปัจจุบัน ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินหรือ Fintech เช่น การโอนเงินข้ามพรมแดนด้วยเทคโนโลยี blockchain แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมออนไลน์ ประกันภัยออนไลน์ และแพลตฟอร์ม cryptocurrency เป็นต้น

ทั้งนี้บริษัทแรกที่ได้รับการอนุมัติจากการทดลองจาก sandbox คือ ธนาคาร KGI และ บริษัท Chunghwa Telecom โดยร่วมกันพัฒนา Fintech Space อย่าง “KGI inside” หรือ แอปพลิเคชันบริการทางการเงินแบบ Open Banking ซึ่งเป็นการให้บริการอนุมัติสินเชื่อดิจิทัลที่สามารถลดขั้นตอนการสมัครจากเดิม 53 ขั้นตอน เหลือเพียง 20 ขั้นตอน อนุมัติวงเงินได้สูงสุดถึง 200 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 200 ล้านบาท

อ้างอิง : สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6347 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2035 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5082 | 23/10/2022
กรณีศึกษา SME sandbox ส่งเสริมนวัตกรรม