ดัน SMEs ภาคการเกษตรไทยสู่ครัวโลกหลังโควิด-19

SME Update
01/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2742 คน
ดัน SMEs ภาคการเกษตรไทยสู่ครัวโลกหลังโควิด-19
banner

ปฏิเสธไม่ได้ว่ามือถือและ Internet เป็นสิ่งจำเป็นมากของคนในยุคสมัยนี้ แต่ในความเป็นจริงเรื่องข้าว ปลา อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตของผู้คนมานานแล้วในทุกยุคสมัย นับมาตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลก ยิ่งช่วงโควิด-19 เข้ามาแพร่ระบาด ยิ่งทำให้เห็นความต้องการด้านอาหารของผู้คนทั่วโลกได้ชัดเจนว่า “อาหารเป็น Real Need” ยิ่งกว่าสิ่งใด

แม้ว่าวัฒนาการของเทคโนโลยีบนโลกจะพัฒนามาถึงขั้นที่สามารถทำเนื้อเทียมจากพืช หรืออาหารแคปซูลสำหรับมนุษย์อวกาศได้แล้วก็ตาม สุดท้ายแล้วจุดตั้งต้นของวัตถุดิบก็ล้วนมาจากภาคเกษตรทั้งสิ้น การเกษตรจึงยังเป็นภาคส่วนที่สำคัญกับบทบาทในการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ความต้องการอาหารของประชากรโลก

มีการคาดการณ์ถึงความต้องการด้านปัจจัยอาหารในอนาคตไว้ โดย ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ว่า อีก 30 ปีข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนโดยประมาณ และทุกคนมีความต้องการด้านอาหาร ที่จะทำให้เกิดความต้องการอาหารโลกเพิ่มขึ้นถึง 60% 

ซึ่งสวนทางกับพื้นที่การเกษตรที่จะลดจำนวนลง จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองและประชากร รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารในอีก 30 ปีข้างหน้า

โดยทวีปแอฟริกาจะเป็นเบอร์หนึ่งของโลกที่มีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 109 % ส่วนลาตินอเมริกา, อเมริกาเหนือ และเอเชีย ประชากรจะเพิ่ม 20% สำหรับประเทศจีน ไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ นั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่จะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของโลกที่น่าจับตา

ซึ่งในขณะที่ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด กลับพบว่าผู้คนมีความต้องการบริโภคอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารพร้อมปรุงทานเองมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ต้องปรับเปลี่ยนไป โดยเน้นอาหารที่มีอายุเก็บรักษานาน มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ ที่จะกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ต่อไปในอนาคต

ด้วยเหตุนี้เมกะโปรเจกต์ที่รัฐบาลไทยคาดหวังและเริ่มมีการพูดถึง วางแผน ปูทางกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ในการจะปั้นประเทศไทยให้เป็นครัวโลกที่ค้างเติ่งมานานนับทศวรรษ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ก็เป็นได้

 

โฟกัสเกษตร โฟกัสเศรษฐกิจประเทศไทย

หากความมั่นคงด้านอาหารเป็นประเทศหลักในโลกอนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 30 ปีถัดจากนี้ ตามการวิเคราะห์ของ สวทช. ประเทศไทยจำเป็นต้องหันมาพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจในประเทศให้เป็นที่หมายตาของต่างชาติ โดยที่ประเทศไทยมีจุดแข็งคือภาคการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ

โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านพลังงานและอาหาร อันเป็นผลจากการเติบโตของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการพืชพลังงานและพืชอาหารมากขึ้น ซึ่งไทยก็ยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายสำคัญของโลกนั้น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสม อันเป็นจุดแข็งในการสร้างโอกาสและพัฒนาภาคเกษตร สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยวิสาหกิจขนาดย่อม (SME) ที่มีสัดส่วนมากกว่า 90% ของจำนวนธุรกิจทั้งประเทศ และกลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ

ภายใต้การขับเคลื่อนและผลักดันของภาครัฐ ที่จะทำให้ไทยไปสู่ครัวของโลกตามแผนฟื้นฟูภาคการเกษตรหลังโควิด-19 ด้วยยุทธศาสตร์ใหม่ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ ปักธงไปที่การเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าเกษตร 4 หมวด คือ พืช ปศุสัตว์ ประมง และการแปรรูป

โดยให้เกษตรกร-ผู้ประกอบการภาคการเกษตรเป็นฝ่ายผลิต และกระทรวงพาณิชย์เป็นฝ่ายทำการตลาด ขยายการรับซื้อของตลาดเดิมและหาตลาดส่งออกใหม่ไปทั่วโลก จากนั้นจึงจะส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตสินค้าเกษตรที่ตรงกับความต้องการในตลาด เป็นการรับประกันได้ว่าเกษตรกรจะขายผลผลิตได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เน้นส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรรายย่อยให้มีทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตและสินค้าแปรรูปผ่านระบบออนไลน์ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกเกษตรอาหารที่สำคัญ 1 ใน 5 ของโลก

ทั้งเตรียมแผนรองรับภาวะขาดแรงงานภาคเกษตร เพราะกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอีก 3 ปีข้างหน้า ทำให้มีจำนวนผู้สูงวัยคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของจำนวนประชากร เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสการส่งออกของไทย ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการภาคการเกษตรและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ.

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.ryt9.com/s/prg/2989481 

https://www.naewna.com/business/columnist/44432 

https://siamrath.co.th/n/156407  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป

โควิด-19 ปรับพฤติกรรมกินอาหารของคนเอเชีย



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
ดัน SMEs ภาคการเกษตรไทยสู่ครัวโลกหลังโควิด-19