การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ยังสะเทือนเศรษฐกิจไทย อันเป็นเหตุให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายในภาคส่วนของประชน
ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อน้อยจะยังคงไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้
ส่วนผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อปานกลางจะเน้นเก็บเงินไว้เพราะความไม่แน่ใจในรายรับของตนเอง
ยังมีแต่ผู้บริโภคในตลาดบนเท่านั้นที่ยังคงเคลื่อนไหวใช้จ่ายเงินได้ตามปกติจากสถานการณ์ด้านการเงินที่ดีอยู่แล้ว
ประกอบกับการที่ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศเพื่อการท่องเที่ยวตามปกติได้
ทำให้สามารถใช้จ่ายเงินได้จากงบประมาณในส่วนของการท่องเที่ยวประจำปีที่ยังคงเหลืออยู่
แต่โดยภาพรวมแล้วผู้คนทุกระดับต่างเริ่มเก็บเงินมากขึ้น และมีความกล้าในการจับจ่ายใช้สอยลดลง ดังนั้นกระแสเงินสดที่จะไหลไปถึงผู้ประกอบการจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้หลายกิจการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไปจนถึงจำเป็นต้องหยุดพักดำเนินกิจการเพื่อรอให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือจนกว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง เศรษฐกิจไทยจึงจะเคลื่อนไหวไปในทางบวก
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
หากแต่การหยุดการเคลื่อนไหวทางกิจกรรมการตลาดไปเลยกลับจะเป็นผลเสียต่อผู้ประกอบการเอง
เพราะการชะลอทุกกิจกรรมลงไปนานเกินไปอาจเสียพื้นที่ทางการตลาดให้แก่คู่แข่งได้
ดังนั้นเมื่อตลาดปกติยังคงไม่กลับมาและพื้นที่ออนไลน์คือเวทีแข่งขันเวทีเดียวที่สามารถดำเนินการได้ดีในขณะนี้
ก็ควรต้องเร่งหากลยุทธ์สู้คู่แข่งที่อยู่ในตลาดออนไลน์ให้ได้
โดยคำแนะนำทางเทคนิคเพื่อแย่งพื้นที่ส่วนแบ่งการตลาดออนไลน์ ดังนี้
1. พิจารณาสินค้าและบริการที่ทำว่า Demand เป็นอย่างไร โดยสถานการณ์ทางการเงินส่วนตัวแล้วกลับพบว่า ผู้บริโภคในตลาดขณะนี้มี
Demand อยู่ 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- Demand ไม่มีและไม่มีความพร้อมในการซื้อ
: เป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
การโรงแรมและงานบริการทีเกี่ยวพัน
ผู้บริโภคจะยังคงขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเงินเพื่อสินค้าและบริการในกลุ่มนี้ ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มนี้ควรถือเงินสดไว้ในมือ
และไม่ควรเทเงินลงทุนไปเพื่อกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดมูลค่าหรือรายได้กลับมา ตราบใดที่
Demand ยังไม่มีความพร้อมที่จะซื้อ
ควรไปลงทุนทำสิ่งที่ให้ผลลัพธ์ในระยะยาวที่ไม่ต้องเสียงบประมาณมาก เช่น การดัน SEO
ต่อไปเพื่อไม่ให้ลำดับตกลงไป จากการขาดความเคลื่อนไหวในช่วงชะลอหรือหยุดพักกิจการ
ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้ด้วยตนเอง ในระหว่างพักงานลูกจ้าง
- Demand พอมีแต่ยังไม่กล้าใช้จ่ายเงิน
: เป็นธุรกิจสินค้าด้านของฟุ่มเฟือย ความสวยความงาม
สินค้าตามแฟชั่นต่างๆ ที่สามารถกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกสถานการณ์
แม้แต่ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะงักอย่างในขณะนี้ เพราะทุกคนมีความต้องการเป็นตัวกระตุ้นและขับเคลื่อนให้อยากเข้าหาสินค้าและบริการเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา
ผู้ประกอบการควรพิจารณากระตุ้นความต้องการผ่าน Content ที่ให้ประโยชน์
และเสริมคุณค่าให้แก่สินค้าบริการ กระตุ้นความต้องการอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้กล้าใช้จ่าย รวมถึงการซื้อโฆษณาบนสื่อ
- Demand มีตามปกติแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
:
กลุ่มนี้จะเป็นสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้ตามปกติ เช่น
ธุรกิจร้านอาหาร ร้านตัดผม การบริการงานช่างต่าง ๆ
เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริโภคไม่สามารถเลี่ยงไม่ให้เกิดการใช้จ่ายขึ้นได้
เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียกใช้บริการ
หากแต่จะมีเงื่อนไขในการเรียกใช้บริการที่เปลี่ยนไป เช่น
มีความไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบครอบ เปรียบเทียบหลายด้านหลายรายที่ให้บริการแบบเดียวกัน
เช่น มีความต้องการทานปิ้ง-ย่าง แต่ไม่อยากไปทานที่ร้านที่แออัด
จึงสั่งมาทานที่บ้าน หรือท่อประปารั่วซึม ก็ต้องการช่างฝีมือดีมีให้บริการดี
ทั้งคำปรึกษาก่อนตกลงว่าจ้าง
การทำงานที่ดีระหว่างการจ้างและการดูแลให้บริการหลังส่งมอบงาน เป็นต้น
ดังนั้นในกลุ่มธุรกิจประเภทนี้สามารถเรียกลูกค้าจากฐานออนไลน์ได้ ด้วยการโปรโมท Option
เสริมเพิ่มเติมหลังการขายหรือให้บริการ พร้อมมีรีวิวแนบในโปรไฟล์งานให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ทันที
- Demand มีสูงและผู้บริโภคมีความพร้อมที่จะซื้อ
: เป็นกลุ่มสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เช่น เครื่องมือวัดไข้ ตรวจอุณหภูมิ เครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ หน้ากากอนามัย
บริการพ่นฆ่าเชื้อ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง บริการเดลิเวอร์รี
เป็นสินค้าและบริการที่มาพร้อมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับตัว
ฉะนั้นผู้ประกอบการควรเข้าให้ถึงทุกแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย
โดยอาจใช้เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ ทำ Sale Page ให้น่าสนใจ และทำการตลาดด้วย Google Ads หรือโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เวลากับการออนไลน์มากขึ้น อัตราการสืบค้นและการเข้าถึงของผู้คนที่มีความต้องการสินค้าเหล่านี้อยู่แล้ว
มีการปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยควรทำ Remarketing ตอกย้ำความสนใจไปยังกลุ่ม
Audiences เป้าหมาย ที่อาจเคยเป็นลูกค้าของเก่า หรือเคยมี Action
ในเว็บไซต์หรือเพจมาก่อนควบคู่ไปด้วย
2. ดัน SEO ต่อไป หลายข้อมูลกว่าพันล้านชนิดบน www จำเป็นต้องพึ่งพาพลังของ SEO ดังนั้นการจะมองข้ามไม่กล่าวถึงเรื่อง
SEO หรือละเลยที่จะไม่ทำอะไรเลยคงเป็นไปได้ยาก
เพราะนี่คือการทำตลาดที่มีต้นทุนต่ำสุดบนออนไลน์ แต่อยู่ได้นาน
แค่ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ แม้แต่ในจังหวะที่เศรษฐกิจโลกสะดุด
เศรษฐกิจประเทศหยุดชะงัก ที่ทำให้มีหลายธุรกิจปิดตัวเองหรือหยุดทำชั่วคราวลงไปด้วย
เพื่อประครองลำดับไว้ไม่ให้ตกและอาจทำให้การดัน SEO ช่วงนี้สามารถไล่ลำดับขึ้นมาอยู่ต้นๆ
ของการสืบค้นสินค้าและบริการด้วย Google search ซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำให้นำคู่แข่ง
หรือเห็นผลลัพธ์ของการทำ SEO ได้เร็วจากจำนวนธุรกิจที่หยุดเคลื่อนไหวหายไปจากระบบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
19 ได้ด้วย
3. เข้าให้ครบทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ปัจจุบันการบริโภคและเข้าถึงสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคไม่มีการจำกัดอยู่ที่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง
หรือกลุ่มวัยใดวัยหนึ่ง เนื่องจากมีการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคสื่อ (Media Consumption) พบว่า
ผู้บริโภคมีการบริโภคสื่อเพิ่มขึ้นในสื่อทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย,
ข่าว, การประชุมออนไลน์, ทีวีดิจิทัล, สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ, เกมส์ออนไลน์, หนังสือ, หนังสือพิมพ์
และพอดแคสต์ แม้แต่ TikTok ที่เปิดตัวครองใจเด็กวัยเรียนในครั้งแรก
ก็กลับได้รับความนิยมไปทุกกลุ่มวัย แม้แต่วัยหลังเกษียณยังนิยมเข้าไปดุคลิปวิดีโอจาก
Tiktok เพื่อคลายเหงาและคลายเครียดด้วยเช่นกัน ดังนั้นจงนำสินค้าหรือบริการที่มีเข้าไปอยู่ในสื่อทุกช่องทาง
เพื่อให้เกิดการเข้าถึง รู้จัก หรือแม้แต่นำเสนอขายได้ด้วย โดยต้องปลดล็อกเรื่องของช่วงวัยในแต่ละสื่อออกไป
ด้วยโลกออนไลน์หลังโควิดเข้ามาแพร่ระบาดนั้นไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
4. เจาะตลาดระดับ High จากข้อมูลของวันเดอร์แมน ธอมสัน (Wunderman
Thompson) และแดทเทล (DATTEL) ที่ได้ร่วมกันสำรวจพฤติกรรมการซื้อของคนไทยในสถานการณ์โควิด19
ระหว่างวันที่ 24–26 มีนาคม 2563 จำนวน 1,243 คน อายุ 15–69 ปี ชาย 32% หญิง 68%
ครอบคลุมกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (50 : 50) การศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมถึงปริญญาเอก
รายได้ 10,000–50,000 บาทขึ้นไป (70% ของผู้ตอบแบบสอบถาม รายได้น้อยกว่า 20,000
บาทต่อเดือน) พบว่าผู้มีรายได้มากกว่า 30,000
บาทต่อเดือนขึ้นไป ยังคงมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบเดิม
และมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ เท่าเดิมหรือบ่อยขึ้น และใช้จ่ายผ่าน
“ช่องทางออนไลน์” มากกว่าเดิม ในช่วงระหว่างที่เกิดโควิด 19
เมื่อเทียบกับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ด้วยที่มีกำลังซื้อจึงไม่มีความลังเลในการที่ซื้อสินค้าหรือบริการที่ต้องการ
ต่อให้สินค้านั้นจะเป็นสิ่งของฟุ่มเฟือยก็ตาม การจับลูกค้าในกลุ่มนี้ต้องใช้คุณค่าและคุณภาพที่จับต้องและคาดหวังได้
แทนการลดราคาเหมือนในตลาดล่าง หากแต่อาจเพิ่มโปรโมชั่น ลดเปอร์เซ็นต์ แลกแต้ม
แจกของแถม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอยากจับจอง ณ
ช่วงเวลาที่เป็นนาทีทองที่จำกัดเข้าไปด้วย
ก็จะสามารถจังลูกค้าได้กลุ่มนี้ได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
19 นี้ สินค้าบางชนิดได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก สินค้าบางชนิดอาจแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย
ดังนั้นการเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคจำเป็นต้องทำความเข้าใจ Insights และ Consumer Behaviors ควบคู่ไปด้วย.
แหล่งอ้างอิง :
https://www.marketingoops.com/