จริงอยู่ว่าการเป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นหัวหน้า คนที่ตำแหน่งหน้าที่เหนือทุกคนในออฟฟิศน้อยครั้งที่จะมีใครมาสร้างปัญหาหรือ วุ่นวายให้เราไม่สบายใจโดยตรง แต่คงมีอ้อมๆ บ้าง แต่เจ้าของธุรกิจที่อยู่ในตำแหน่ง “หัวหน้า” ของคนหมู่มาก ก็ใช่ว่าจะสบาย หลบรอบรอดปัญหาจุกจิกกวนใจและขัดขวางการทำงานไปสู่เป้าหมายได้ และหนึ่งในปัญหาดรามายอดฮิตที่สร้างความกวดใจได้มากที่สุดก็คือ พนักงานทะเลาะกัน หรือมีเรื่องบาดหมางกันในเรื่องต่างๆ นี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ และเป็นประเด็นที่คนเป็นหัวหน้าต้องรับมือให้ดี เรามีแนวทางมาแนะกันดังนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ไม่เลือกข้าง ไม่ลำเอียง
พนักงานทะเลาะกันบรรยากาศก็น่าอึดอัดพออยู่แล้ว ถ้าหัวหน้ายังไปแสดงการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยิ่งทำให้เรื่องราวมันเลวร้ายเข้าไปอีก ดังนั้นเมื่อได้รับรู้เรื่องราวแล้วก็ต้องนิ่งไว้ก่อน ค่อย ๆ คิดถึงเหตุผลว่าอะไรที่ทำให้เป็นแบบนี้ โดยการถามจากทั้งสองฝ่ายถึงเรื่องราวที่มาที่ไปให้ดีก่อน ซึ่งควรจะเข้าไปพูดคุยกับแต่ละฝ่ายด้วยตัวเอง เพราะการตัดสินใจใด ๆ จากหัวหน้านั้นจะมีผลต่อสถานการณ์เป็นอย่างมาก ถ้าตัดสินใจยุติธรรมก็ดีไป แต่ถ้าตัดสินลำเอียงเมื่อไหร่ แน่นอนว่าปัญหาไม่จบแน่นอน และทีมแตกแน่นอน
ไต่สวนอย่างตรงไปตรงมา
เมื่อเหตุการณ์ทะเลาะกันจนถึงขั้นต้องมีการพูดคุยหรือ ไต่สวนกันจริงจัง และหลังจากได้ทราบถึงเหตุผลของพนักงานแล้ว ต้องระบุออกมาเป็นข้อๆให้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อะไรคือผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นไปแล้วบ้าง และพนักงานแต่ละฝ่ายต้องการอะไรจริง ๆ เพื่อนำเรื่องราวทั้งหมดนี้มาประเมินหาทางออกที่ดีที่สุดในที่ทำงาน ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดต่อองค์กรหลังจากการตัดสินใจด้วย จำไว้ทุกการตัดสินใจมีผลที่ตามมาเสมอ
วางมาตรการรับมือในครั้งต่อไป
เรื่องอาจไม่จบง่ายๆ อย่างที่คิด และปัญหานั้นสามารถเกิดซ้ำได้อีกอย่างแน่นอน ดังนั้นอย่าปล่อยให้ความพยายามในการแก้ปัญหาครั้งนี้สูญเปล่า ให้ใช้เป็นบทเรียนสำหรับการแก้ปัญหาในครั้งถัด ๆ ไป เช่น อาจจะออกเป็นมาตรการอะไรสักอย่างที่ทำให้พนักงานรู้ว่า การกระทำเช่นนี้จะเกิดปัญหาอย่างไรตามมา และก็ควรจะประสานกับฝ่าย HR ของบริษัทสำหรับการกำหนดนโยบายหรือแนวทางป้องกันต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม
รูปแบบนี้เป็นการกำหนดแนวทางกว้างๆ
เพื่อรับมือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่องาน ประเด็นสำคัญ
คือคนเป็นหัวหน้าต้องมีวุฒิภาวะ และทักษะการตัดสินใจที่รอบคอบ
ทั้งต้องมองปัญหาให้ตรงจุด ว่าเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องของคนสองคน
หรือเกี่ยวเนื่องจากงาน ทั้งพยายามทำความรู้จักนิสัยใจคอลูกน้องในทีม
หรือสอดส่องดูบ้างว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เพราะบางครั้ง
ทีมจะได้ไปต่อหรือจะแตกแหลกเละไม่เป็นท่าอาจขึ้นอยู่กับคนเพียงคนเดียว
ส่วนการตัดสินใจทำอะไรก็ต้องตรงไปตรงมาและยุติธรรม
และอาจไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้องทุกคนรักคุณเพียงแค่ทำงานได้ตามที่สั่ง เชื่อฟัง และไม่ก่อปัญหากวนใจก็เพียงพอ
ที่สำคัญอะไรที่มองว่าเป็นปัญหาจริงๆ ถึงเวลาควรตัดออกไป
เรียนรู้ความล้มเหลว บทเรียนอันล้ำค่า