แก้ปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน เปิดเหตุผลที่ SME ต้องปรับตัวรับมาตรการลดคาร์บอน

SME Event
28/06/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 1076 คน
แก้ปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน เปิดเหตุผลที่ SME ต้องปรับตัวรับมาตรการลดคาร์บอน
banner

ทำไม? SME ต้องปรับตัวรับมาตรการ Carbon ลดปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง 


‘โลกร้อน’ ผลกระทบสำคัญจากวิกฤต Climate Change ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลก เร่งผลักดันและเน้นย้ำการสร้างความร่วมมือกู้วิกฤตอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในกลุ่มองค์กรภาครัฐ และเอกชน ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยจะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไข บรรเทา และยับยั้งผลกระทบจากวิกฤต Climate Change อย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงเพื่อลดปัญหาด้านมลภาวะ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริม และยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้สามารถทัดเทียม แข่งขันบนเวทีโลกได้ 

อีกทั้งยังนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการไทย ในการปูทางสู่การเป็นคู่ค้ากับองค์กรชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยที่ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความสนใจ และต้องการปรับตัว เพื่อพร้อมรับมือกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่เราอาจได้เห็นการผ่านร่าง และบังคับใช้กฎหมายเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างเป็นรูปธรรมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ จึงจัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ "Stepping into the New Era: SMEs Embracing Carbon Measures" SMEs ยุคใหม่ปรับตัวอย่างไร? เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อาคารสำนักงานใหญ่ สีลม 

โดยได้รับเกียรติจาก คุณศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ขึ้นเวทีกล่าวเปิดงาน พร้อมระบุว่า “ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับ บริษัท Baker McKenzie Thailand ที่ปรึกษาชั้นนำของประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่ผู้ประกอบการ ต้องนำไปปฏิบัติสำหรับทำสัญญา หรือทำธุรกิจกับคู่ค้าต่าง ๆ และยังเป็นทีมที่มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศในการดำเนินการเกี่ยวกับความยั่งยืน มาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ และพนักงานธนาคาร



 
คุณชวพล อัครวรนันท์ ทนายความหุ้นส่วนจาก Baker McKenzie Thailand กล่าวถึง พ.ร.บ. หรือกฎหมายที่จะประกาศใช้เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายในเรื่อง Carbon Neutrality และ Net Zero Greenhouse Gas Emission) ว่า “ปัจจุบัน เทรนด์การทำ Sustainability ทั้งในต่างประเทศ และประเทศไทยเอง ค่อนข้างจริงจังมากขึ้น อาจจะไม่ใช่แค่ CSR หรือ Marketing Tools อย่างเดียว เพราะว่าเราอาจจะต้องปฏิบัติตามกฎพวกนี้ เพื่อให้เราสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ หากเรามี Sustainability ก็อาจจะดึงดูดนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในบริษัทเราได้ในอนาคต”

ใครจะได้รับประโยชน์จากการปรับตัวรับมาตรการ Carbon

1. กลุ่มธุรกิจ
- ได้รับเงินลงทุนจากการปรับตัวธุรกิจให้เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสีเขียว หรือเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับกฎหมายในประเทศคู่ค้าต่าง ๆ อาทิ CBAM เป็นต้น
- ลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
- ได้ Carbon Credits ซึ่งสามารถขายเป็นรายได้เข้าบริษัท
- ดึงดูดกลุ่มนักลงทุนจากกองทุนที่มุ่งเน้น ESG - Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)
- เป็นการทำ CSR ไปในตัว

2. สถาบันการเงิน
- นำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- การลงทุนในกลุ่ม BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model Investments)
- ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาธุรกิจของลูกค้าสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
- หากลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้ (อาทิ ฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ) ที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของลูกค้าได้ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้

3. ประเทศไทย
- บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)
- ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางอ้อม ลดปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ลดผลกระทบ และความสูญเสียจากภัยธรรมชาติ
- ดึงดูดกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศ


 

แผนภาพแสดงความคืบหน้าของการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) 

คุณศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด กล่าวว่า หลายประเทศมีการกำหนดมาตรฐานเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเรื่องของคาร์บอน มีการบังคับใช้สำหรับสินค้าผ่านแดน ซึ่งมีข้อกำหนดมากมาย อย่างยุโรป อมเริกา ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ หรือจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก 

ระยะหลังจะเห็นได้ว่า ประเทศเหล่านั้น มีการแก้ไขปัญหาฝุ่นและอากาศเป็นพิษอย่างจริงจัง และสถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งข้อกำหนดต่าง ๆ เหล่านี้ เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่จะเข้าไปค้าขายกับต่างประเทศ สำหรับธนาคารกรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายด้านนี้เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะขอความร่วมมือให้ธนาคาร ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องการทำ Transition Plan ออกมา ซึ่งจะมีการวัดค่าคาร์บอน ว่าลูกค้าลงทุนแล้ว จะลดคาร์บอนได้เท่าไหร่ เป็นต้น


ส่วนขยาย การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน ( Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) ภาพที่1





ส่วนขยาย การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน ( Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) ภาพที่2





ส่วนขยาย การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน ( Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) ภาพที่3





ส่วนขยาย การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน ( Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) ภาพที่4





ส่วนขยาย การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน ( Carbon Tax) และระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading System / ETS) ภาพที่5








 

Carbon Footprint for Organization (CFO) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจก


คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หรือ CFO คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร อาทิ การใช้ไฟฟ้า การเผาไหม้เชื้อเพลิง การกำจัดของเสีย การขนส่ง ฯลฯ ซึ่งจะถูกคำนวณค่าออกมาเป็น ‘ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า’ (tCO2eq)

การวัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว นับเป็นขั้นตอนสำคัญ และขั้นตอนแรก ที่จะทำให้เราได้ทราบถึงสถานะการใช้ทรัพยากร และพลังงานในองค์กร รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งด้วย โดยกระบวนการทำ CFO จะเป็นไปตามขั้นตอนที่ปรากฏในภาพ


 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Actions) ที่ธุรกิจ หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว และ พ.ร.บ. กฏหมายด้าน Carbon Credits และ ETSs ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ มีหลัก ๆ 10 วิธี ดังที่แสดงในภาพ



 

Carbon Credits หมายถึง ปริมาณของก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยจะคำนวนค่าออกมาเป็น ‘ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า’ (tCO2eq) ที่ถูกลด หรือกำจัดออกจากการดำเนินงานในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โดยผ่านการรับรอง และการบันทึกผลในระบบลงทะเบียนของหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานการรับรองด้านก๊าซเรือนกระจก



 

หาก SME หรือองค์กรใดสนใจที่จะยื่นขอมาตรฐานรับรอง Carbon Credits แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร ก็สามารถขอรับคำปรึกษากับ Baker McKenzie Thailand บริษัทที่ปรึกษา ที่พร้อมให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการเตรียมความพร้อมรับมือกับมาตรการ ETS และ Carbon tax อย่างครอบคลุมแก่ทุกประเภทธุรกิจ

รับชมรายละเอียดเพิ่มเติม จาก งานสัมมนา "Stepping into the New Era: SMEs Embracing Carbon Measures" SMEs ยุคใหม่ปรับตัวอย่างไร? 
คลิก :  https://www.youtube.com/watch?v=_3sA3r1TMn8
ดาวน์โหลดลิงก์วิทยากร

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ความท้าทายของ Carbon Footprint

ความท้าทายของ Carbon Footprint

LINK Download :https://drive.google.com/drive/folders/14DyJ6zIXF9w_CRtCZ-_2Ksr_hzAZKMAQ?usp=sharing
pin
81 | 06/11/2024
แก้ปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน เปิดเหตุผลที่ SME ต้องปรับตัวรับมาตรการลดคาร์บอน

แก้ปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน เปิดเหตุผลที่ SME ต้องปรับตัวรับมาตรการลดคาร์บอน

ทำไม? SME ต้องปรับตัวรับมาตรการ Carbon ลดปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ‘โลกร้อน’ ผลกระทบสำคัญจากวิกฤต Climate Change ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย…
pin
1076 | 28/06/2024
แก้ปัญหา ‘โลกร้อน’ จากก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน เปิดเหตุผลที่ SME ต้องปรับตัวรับมาตรการลดคาร์บอน