‘ไต้หวัน’ เดินหน้าสู่นวัตกรรมพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ

SME Go Inter
30/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3087 คน
‘ไต้หวัน’ เดินหน้าสู่นวัตกรรมพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ
banner

ไต้หวันได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันได้ก้าวไปสู่ยุคแห่งนวัตกรรม โดยมีความสามารถในการแข่งขันอันดับต้นๆ ของโลก นับเป็นกรณีศึกษาสำคัญของประเทศไทย

การพัฒนาอุตสาหกรรมของไต้หวันเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2501 เป็นต้นมา เมื่อรัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายจากการผลิตทดแทนการนำเข้า มาสู่การผลิตเพื่อส่งออก จากนั้นนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากได้เข้ามาลงทุนในไต้หวัน ขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจของไต้หวันเริ่มเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง คือ มุ่งสู่อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว’ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


จากกรณีการเปิดศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสีเขียว The Green Energy Technology Demonstration Site เมื่อเดือน ธ.ค. 2562 ที่ผ่านมา โดยตั้งอยู่ภายในบริเวณ Shalun Smart Green Energy Science City (SGESC) เมืองไถหนาน

จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นพื้นที่สําหรับพัฒนาเทคโนโลยีและแอปพลิเคชั่นด้านพลังงานสีเขียว โดยภายในมีทั้งส่วนสําหรับทําการทดสอบและตรวจรับรองที่สมบูรณ์ รวมถึงโอกาสการจับคู่ระหว่างอุตสาหกรรมภายในและต่างประเทศด้านพลังงานสีเขียว อีกทั้งยังมีส่วนสําหรับจัดแสดงและแนะนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสีเขียวอีกด้วย

ภายใน The Green Energy Technology Demonstration Site แบ่งรายละเอียดออกเป็น 3 เรื่องหลัก ได้แก่

1. Energy Supply Side  การบริหารจัดการพลังการทดแทนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. Energy Storage and Modulation  การกักเก็บพลังงานและการถ่ายโอนพลังงาน

3. Energy Application Side  เทคโนโลยีการใช้ พลังงานต่ำและต้นแบบ เช่น อาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ เป็นต้น

บริษัทชั้นนําหลายบริษัทที่ได้เข้ามาตั้งอยู่ในศูนย์ฯ แล้ว ได้แก่ Formosa Plastics Group บริษัทด้านพลังงานแสงอาทิตย์ Motech Industrie ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์แบบสกรูอันดับสองของโลก นอกจากนี้ยังมี Hanbell Precise Machinery Co., Ltd. SolarEdge Technologies และ Dyna Rechi Co., Ltd.

กล่าวได้ว่า SGESC คือหนึ่งในกุญแจหลักภายใต้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมของรัฐ หรือ 5+2 innovative industries plan’ โดยได้รับอนุมัติจากสภาบริหารให้จัดตั้งเมื่อเดือน ต.ค. 2559 จุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมพลังงานสีเขียว และทําให้เกิดเป็นกลุ่มเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Cluster) ในอนาคต ภายในพื้นที่รัศมี 45 กิโลเมตร จะเป็นบริเวณที่รวมอุทยานทางเทคโนโลยีกว่า 30 อุทยาน พื้นที่สําหรับอุตสาหกรรม พื้นที่สําหรับการวิจัย พัฒนาการทดสอบ และการพิสูจน์ตรวจสอบ รวมถึงโอกาสการจับคู่ทางธุรกิจ


SGESC นับเป็นพื้นที่ท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวของไต้หวัน นอกเหนือไปจากองค์กรการวิจัย 3 องค์กรของส่วนกลางที่ไต้หวันมีอยู่ ได้แก่ Academia Sinica, National Applied Research Laboratories และ ITRI โดยหวังว่านักวิจัยของทุกองค์กรจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ

 

แหล่งอ้างอิง  :  สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


อุตสาหกรรมสิ่งทอจะแข่งขันง่ายขึ้นด้วย Green Product

ดักทางไว้ให้ดี เทรนด์ธุรกิจรักษ์โลกเหล่านี้กำลังมา


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6264 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2025 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5029 | 23/10/2022
‘ไต้หวัน’ เดินหน้าสู่นวัตกรรมพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ