หลายประเทศในอาเซียนกำลังตื่นตัวอย่างมากสำหรับภาษีอีคอมเมิร์ซ
ที่ถูกรุกหนักจากกลุ่มทุนต่างชาติ
กรณีการผ่านข้อกฎหมายภาษีอีคอมเมิร์ซของเวียดนามจึงนับว่าน่าสนใจ โดยสมัชชาแห่งชาติของเวียดนามได้ผ่านข้อกฎหมายทางภาษีฉบับใหม่
(LTA) โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม
2563 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่างชาติจำนวนมากที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในประเทศเวียดนามผ่านธุรกรรมในรูปแบบออนไลน์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

ในขณะที่กฎหมายฯ
ฉบับใหม่จะมีขอบเขตทางกฎหมายที่กว้างขึ้น หมายรวมถึงธุรกิจดิจิทัลของผู้ประกอบการต่างชาติที่ไม่ได้จัดตั้งบริษัทในเวียดนาม
แต่ทำธุรกรรมชำระเงินผ่านช่องทาง E-commerce ซึ่งมิได้จ่ายภาษีต่อรัฐบาลเวียดนามเนื่องจากไม่มีการจดทะเบียนในเวียดนาม
โดยข้อกฎหมายฯ ดังกล่าวมีนัยยะทางกฎหมายต่อองค์กร 3 ประเภท ได้แก่
1.
หน่วยงานของรัฐในที่นี้คือธนาคารแห่งชาติเวียดนามซึ่งจะเข้ามารับผิดชอบหน้าที่การประสานงานกับหน่วยงานด้านภาษีเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรม
E-commerce
2.
ธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะเป็นผู้จัดเก็บภาษีในนามของผู้ประกอบการต่างชาติที่ดำเนินกิจกรรมด้าน
E-commerce ในเวียดนามซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนของธนาคาร
อย่างไรก็ดียังไม่มีการกำหนดบทลงโทษในกรณีไม่ปฏิบัติตามด้วย
3. ผู้ประกอบการต่างชาติที่มิได้จัดตั้งธุรกิจในเวียดนามอย่างถาวรอย่างเป็นทางการและจัดหาสินค้าและบริการในเวียดนามจะต้องลงทะเบียนสำแดงและจ่ายภาษีในเวียดนามหรือมอบอำนาจให้ผู้แทนอื่นชำระแทน นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่าผู้ประกอบการต่างชาติที่ไม่มีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในเวียดนาม แต่ดำเนินธุรกิจในเวียดนามอาจจะมีภาระด้านการจัดทำรายงานด้านภาษีเพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ดีกระทรวงการคลังเวียดนามจะจัดทำแนวปฏิบัติในรายละเอียดเพื่อเผยแพร่ต่อไป
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ดำเนินธุรกิจโดยใช้
E-commerce ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและใช้งานบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชื่อถือได้เพื่อให้การดำเนินธุรกิจในเวียดนามเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมายเวียดนาม
อ้างอิง : รายงานเรื่อง “taxation of e-commerce in Vietnam” โดยบริษัทที่ปรึกษา KPMG เวียดนาม วันที่ 2 กรกฏาคม 2562
https://tbavietnam.org/news/useful-information/taxation-of-e-commerce-in-vietnam/