ในโลกนี้ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย
‘ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต’ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
หากคุณหยุดนิ่งไม่ใคร่เรียนรู้ก็อาจเป็นคนตกยุคไม่ทันโลกได้
แล้วจะทำอย่างไรเมื่อสิ่งใหม่ที่เราเรียนรู้อาจเข้าใจไม่ง่ายอย่างที่คิด
จอช คอฟแมน (Josh Kaufman) ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
ซึ่งเคยขึ้นพูดบนเวที TED Talk กล่าวว่า “ความจริงจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาถึง
5 ปีในการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะใหม่ๆ แต่เป็น 20 ชั่วโมงแรกต่างหาก” โดยจอชได้อ้างถึง
Learning Curve หรือ “เส้นโค้งการเรียนรู้” ที่ได้จากการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการด้านการศึกษา
ประสาทวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านสมองมาอย่างยาวนาน ว่าช่วงเวลาที่คนเราเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ได้ดีที่สุดก็คือ “ช่วงแรกๆ ของการเรียนรู้”
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านประสาทรับรู้เข้ามาจะเป็นเหมือนสิ่งใหม่ที่สร้างความตื่นเต้น
สนใจ กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
สนุกสนานไปพร้อมกับการเรียนรู้นั้น เช่น ในช่วงแรกที่เราฝึกเล่นกีฬา
เรียนรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งช่วงแรกของการเรียนรู้จะเป็นช่วงเวลาที่คุณรู้สึกว่าตัวเองเก่งขึ้น
ต่างจากเดิมที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน จึงเป็นช่วงเวลาดีๆ
ที่ทุกคนรู้สึกตื่นเต้น โดยหลังจาก 20
ชั่วโมงไปแล้วนั้น เวลาที่เหลือคือการสร้างความเคยชิน คุ้นเคยจนทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
หลายคนเข้าใจว่าการ เรียนรู้เร็ว ความจำดี ต้องฝึกฝนมาตั้งแต่ยังเด็ก และต้องเป็นคนที่เรียนเก่งแล้วเท่านั้นถึงทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าใครก็สามารถเรียนรู้เร็วได้ เพียงแค่คุณทำตามวิธีเหล่านี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เป็นเรื่องของวิธีล้วนๆ
ความสามารถในการรักษาสมาธิ และจดจำข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุหรือระดับสติปัญญาสักเท่าไร คนที่เรียนหนังสือไม่ดี
ก็สามารถเรียนดีขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีให้ถูกต้อง ไม่ใช่การเรียนรู้แบบเดิมๆ
ที่มักจะได้ผลลัพธ์แบบเดิม
เรียนรู้โดยการแบ่งส่วน
อาจไม่ใช่สิ่งง่ายนักสำหรับสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่
เพราะเมื่อคุณเริ่มต้น ข้อมูล ข่าวสาร และเนื้อหาต่างๆ จะมากมายก่ายกอง
ทำให้ยากลำบากต่อการจดจำดังนั้นควรแยกประเด็นต่างๆ ออกเป็นหัวข้อย่อย แล้วค่อยๆ
ศึกษาทำความเข้าใจในแต่ละเรื่อง แล้วจึงโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน
อุดช่องว่าง
สมองคนเราคิดเร็วกว่าพูดหรืออ่านมากเลยทีเดียว
ผลคือเราจะเหลือพื้นที่สมองให้คิดถึงสิ่งอื่นๆ ซึ่งหมายถึง
ในระหว่างที่อ่านหนังสือ ฟังคนอื่นพูด ความคิดของเราจะฟุ้งซ่านได้ง่าย
ถ้าอุดช่องว่าง คุณจะเหลือพื้นที่ให้คิดสิ่งอื่นได้น้อย ทำให้มีสมาธิเพิ่มมากขึ้นด้วย
ทำงานทีละอย่าง
สมาธิแบบรู้ตัวของคนเราจดจ่อได้เพียงทีละอย่างเท่านั้น
และทุกครั้งที่สลับงานไปมา คุณจะเสียทั้งเวลา ความทุ่มเท และพลังงาน
ถ้าคุณพยายามทำงานทีละหลายๆ อย่าง หรือสลับงานไปมาอย่างรวดเร็ว ระดับความสามารถและประสิทธิภาพของคุณจะต่ำลง
ด้วยเหตุนี้จึงควรโฟกัสที่งานเป็นอย่างๆ ไป
ต่อจุด
ข้อมูลที่อยู่เดี่ยวๆ แทบไม่ค่อยมี และมักจะเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ
เสมอ การมองในภาพรวม การใช้ความรู้ของตัวเอง หรือจัดโครงสร้างของข้อมูลที่ได้รับจะทำให้สมองสามารถประมวลผลข้อมูลได้ง่ายขึ้น
และดึงข้อมูลมาใช้ได้ถูกจุดอีกด้วย
ใช้สมองเยอะๆ
ยิ่งใช้สมองในการซึมซับหรือทบทวนข้อมูล ก็ยิ่งประมวลผลข้อมูลได้ดี
เหมือนได้บริหารสมองอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ใช้ภาพ
การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพคือการพูดภาษาที่สมองเข้าใจได้ดีที่สุด
ผลคือคุณจะจำข้อมูลได้รวดเร็วและนานมากยิ่งขึ้น เช่น
การจำตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเป็นภาพ การจำเรื่องราวเป็นภาพ ฯลฯ
ใช้ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้คุณเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้อย่างผนึกแน่นมากขึ้น
ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลกับข้อมูลจากแหล่งอื่น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
จากการเชื่อมโยงดังกล่าว
ยังเป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ด้วย
อย่าเรียนรู้มากเกินไป
เป็นไปได้ที่คุณจะเรียนรู้มากเกินไปและนานเกินไป แถมลงเอยด้วยผลลัพธ์ที่แย่ลง
ถ้าทำงาน เรียนรู้ อ่านหนังสือ หรือซึมซับด้วยข้อมูลที่พร้อมกันรวดเดียวมากเกินไป
รับรองเลยว่าคุณไม่สามารถจำทั้งหมดได้อย่างแน่นอน
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้เก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็วไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราจริงจัง
- ให้ความสำคัญกับเรียนรู้สิ่งๆ ใหม่ หรือจะลองนำวิธีที่ Bangkok
Bank SME แนะนำไปลองปรับใช้ แล้วคุณจะรู้ว่าคุณเองก็เรียนรู้ได้เร็วอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อน
แหล่งอ้างอิง : หนังสือ
“อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม”