หรือนี่จะเป็นตอนอวสานของอาชีพประมงไทย

SME Update
07/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4824 คน
หรือนี่จะเป็นตอนอวสานของอาชีพประมงไทย
banner

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่อาชีพการประมงกำลังจะหายไปจากประเทศไทย เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อกำหนด-บทกฎหมาย IUU ที่ว่าด้วยเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยล่าสุดสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง การเลิกอาชีพประมง ลงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ชาวประมง 22 จังหวัด ประกาศ “ขอยกเลิกอาชีพประมง” ตลอดระยะเวลามากกว่า 6 ปีที่ผ่านมา

นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพุ่งเป้าไปสู่ภาคประมงเพื่อการแก้ไขปัญหา IUU ที่ว่าด้วยเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พร้อมทั้งได้นำประเด็นปัญหาการค้ามนุษย์มาทับซ้อนในการแก้ไข ซึ่งนำไปสู่การออกพระราชกำหนดการประมง รวมทั้งการออกกฎหมายระเบียบต่างๆ ในหลายหน่วยงาน มาบังคับใช้กับชาวประมงเป็นจำนวนมาก โดยไม่สนใจเรื่องความอยู่รอดของชาวประมง ซึ่งการออกกฎหมายโดยขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การเร่งบังคับใช้กฎหมายแบบไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น จนชาวประมงในหลายๆ ภาคส่วนเริ่มอยู่ต่อไม่ได้ แม้จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

ดังนั้นชาวประมงจำเป็นต้องเลิกอาชีพ หากรัฐบาลยังคงปฏิบัติต่อชาวประมงดังเช่นทุกวันนี้ ไม่ให้ชาวประมงได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นหรือไม่ยอมรับความคิดเห็นของชาวประมง  และรัฐบาลต้องชดใช้ เยียวยา ด้วยการรับซื้อเรือประมงไปพร้อมทั้งเครื่องมือทำประมงในราคา 100% เพราะมาตรการนโยบายของรัฐได้ทำลายอาชีพของชาวประมงทั้งประเทศโดยไม่ได้รับการเหลียวแล

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

 

บทบาทความสำคัญของประมงไทย

การประมงไทยเป็นอาชีพที่อยู่คู่วิถีชาวบ้านพื้นถิ่นริมน้ำ-ชายทะเลมาตั้งแต่อดีตก่อนประวัติศาสตร์ โดยใช้ภูมิปัญญาและเครื่องมือที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แห อวน ข่าย ยอ ฯลฯ ก่อนจะมีการเข้าสู่การประมงเชิงพาณิชย์ อย่างในปัจจุบัน ซึ่งย้อนไปในอดีตการประมงทางทะเลมีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจประเทศไทย และประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาการประมงจนสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่มีผลผลิตสูง และยังติดอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกสินค้าประมงมาตั้งแต่ปี 2535 โดยผลผลิตมวลรวมในสาขาประมงมีมูลค่า 98.9 พันล้านบาท คิดเป็น 11.87% ของผลผลิตมวลรวมของภาคเกษตร หรือร้อยละ 1.27 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศในปี 2549 และในปี 2551 ผลผลิตมวลรวมของประเทศของภาคประมงมีมูลค่า 105,977 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือร้อยละ 10.0 ของผลผลิตมวลรวมของภาคเกษตร  

กิจกรรมประมงเกี่ยวข้องกับคนไทยจำนวนมากในหลายกิจกรรม โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งหรือบริเวณใกล้เคียง นับเป็นหมู่บ้านได้มากกว่า 2,000 หมู่บ้าน มีครัวเรือนที่ทำประมงทะเลตามข้อมูลของสำมะโนประมงทะเลปี 2543 จำนวน 55,981 ครัวเรือน และมีตลาดแรงงานรองรับซึ่งสำรวจในปี 2543 ถึง 826,657 คน โดยอยู่ในภาคของประมงทะเล 161,670 คน เป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 77,870 คน อยู่ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมง 183,100 คน ที่เหลืออยู่ในภาคของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

ในช่วงปี 2538-2542 ผลผลิตทางประมงมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 6.6  ต่อปี จากที่เคยจับได้ในปี 2538 ปริมาณ 1.92 ล้านตัน เหลือ 1.42 ล้านตันในปี 2542 ลดลงทั้งจากการทำประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ซึ่งผลผลิตช่วงดังกล่าวร้อยละ 91 ได้จากประมงพาณิชย์ ที่เหลือได้จากประมงพื้นบ้าน โดยเป็นผลผลิตที่ได้จากอ่าวไทยร้อยละ 63 ที่เหลือได้จากทะเลอันดามัน องค์ประกอบของสัตว์ทะเลที่จับได้จากประมงพาณิชย์เป็นปลาที่ใช้บริโภคร้อยละ 55 รองลงมาเป็นปลาเป็ดร้อยละ 35 ซึ่งเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจปนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนปลาเป็ดทั้งหมด ปลาหมึกร้อยละ 5 กุ้งร้อยละ 5 ที่เหลือเป็นปูและหอยอีกร้อยละ 1 ส่วนการทำประมงในแหล่งน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นการทำแบบประมงพื้นบ้าน มีผลผลิตประมาณปีละ 215,000 ตัน

ข้อมูลจาก FAO (TheState of World Fisheries and Aquaculture, 2016) ปี2557 ระบุว่าไทยติดอันดับ 1 ใน 20 ของการประมงโลก โดยสามารถผลิตสัตว์น้ำได้ประมาณ 2.70 ล้านตัน ประกอบด้วยผลผลิตสัตว์น้ำจากการจับจากธรรมชาติ1.77 ล้านตัน และจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 0.93 ล้านตัน สำหรับปี 2559 ไทยมีผลผลิตสัตวน้ำจากการจับประมาณ 1.74 ล้านตัน และจากการเพาะเลี้ยง 0.91 ล้านตัน รวม 2.65 ล้านตัน ซึ่งหากคิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภาคประมง ณ ราคาประจำปี 2559 จะมีมูลค่า 111,343 ล้านบาท คิดเป็น 9.28% ของ GDP ภาคเกษตร หรือ 0.78% ของ GDP รวมของประเทศ

 

ปมปัญหาประมงไทยกับอียู

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวในส่วนหนึ่งของการแถลงทิศทางประมงไทยในปี 2563 ว่า การจัดการประมงอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานทางวิชาการที่ผ่านมา มีอุปสรรคในการขับเคลื่อนของภาคทะเลเป็นหลัก  โดยเฉพาะการที่เราก้าวข้าม IUU ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมาจนปัจจุบัน กรมประมงได้ออกมาตรการเพื่อให้ภาคการประมงทะเลมีการทำประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรฐานสากล หลังจากเปิดกว้างให้ชาวประมงในการหาทรัพยากร ซึ่งบางครั้งบางเครื่องมือไม่มีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างเช่น อวนลอย อวนจับ ช่องตาอวนต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ทำลายปลาตัวเล็กตัวน้อย ขณะที่บางเครื่องมือต้องห้ามเด็ดขาดอย่าง เช่น อวนรุน อวนลาก และอวนล้อมปลากะตัก แต่หลังจากมี IUU เข้ามาทำให้มีการปรับเปลี่ยนการทำประมงเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ความอยู่รอดของทรัพยากรทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการทำประมง ซึ่งปัจจุบันได้มีการแบ่งทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลตามค่าเอ็มเอสวาย บนพื้นฐานเครื่องมือที่มี อย่างฝั่งอ่าวไทย อวนลากใช้ได้ 220 วันต่อปี ขณะที่ฝั่งอันดามัน 240 วันต่อปี

ประเทศไทยนั้นถูกสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองหลังจากมีปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) มาตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2558 ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยแก้ปัญหาทั้งการควบคุมการทำประมง การออกกฎหมายและการดูแลแรงงานประมง และได้รับการปลดล็อคเป็นใบเขียวไปเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562  โดยในปี 2557 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าประมงไปอียูเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกปลา กุ้ง ปลาหมึก และอาหารทะเลแปรรูปไปยังอียูสูงถึง 761 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือคิดเป็น 12 % ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงโดยรวมของไทย กว่า 58 % ของผลิตภัณฑ์ประมงที่ไทยส่งออกไปยังอียู เป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋องโดยส่วนใหญ่เป็นทูน่ากระป๋องและกุ้งแปรรูป ด้วยการประมงไปอียูมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จึงทำให้ไทยเล็งเห็นความสำคัญมีการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายตามหลักสากล การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรใบอนุญาตทำการประมง เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการทำประมงมากขึ้น การจัดตั้งกองทุนประมงแห่งชาติ การขึ้นทะเบียนเรือประมง ตลอดจนการส่งเสริมตลาดนำการผลิต เป็นต้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ

ดังนั้นภาคการประมงจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจและจีดีพีของไทย หากวันหนึ่งอาชีพประมงและเรือประมงจะหายไปจากประเทศไทย ย่อมต้องเกิดการสูญเสียรายได้ครั้งใหญ่และได้รับผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจในวงกว้าง อันเป็นปัญหาที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขและดำเนินการตามคำเรียกร้องของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยที่ไม่เป็นการสร้างแรงกดดันให้คนทำอาชีพประมงหายไปจากประเทศไทยจริงๆ  

 

แหล่งอ้างอิง

https://sites.google.com/

https://www.fisheries.go.th/

http://www.mkh.in.th/

https://th.wikipedia.org/ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


อุตสาหกรรมไทยกับการฟื้นตัวจากพิษโควิด 19

ดันโครงการภาคเกษตร-ประมงใน EEC ด้วยเทคโนโลยี


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
หรือนี่จะเป็นตอนอวสานของอาชีพประมงไทย