เรื่องควรรู้ ‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’

SME Update
05/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4580 คน
เรื่องควรรู้ ‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’
banner

การเสียภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของประชาชนที่ไม่ควรละเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินได้ ที่ดิน อาคารปลูกสร้าง การนำเข้าสินค้า ฯลฯ เช่นเดียวกับเรื่องของภาษีที่ดิน ที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่ เป็นภาษีที่ดินขึ้นมาแทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งถูกยกเลิกไป โดยผู้ที่เคยเสียภาษีดังกล่าวตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปจะไม่ต้องเสียภาษีเหล่านี้ซ้ำอีก แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน เพื่อลดการซ้ำซ้อนของการเรียกเก็บภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยตามกำหนดการเดิมได้ประกาศไว้ให้มีผลบังคับใช้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา

โดยขอบเขตข้อกำหนดสำหรับการเสียภาษีที่ดินหรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง ซึ่งจะจัดเก็บเป็นรายปี ตามประเภทของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี 4 ประเภทดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. เกษตรกรรม เรียกเก็บภาษีจากการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายเพื่อบริโภค หรือใช้งานในฟาร์ม ทั้งทำเกษตรเต็มพื้นที่และทำเกษตรไม่เต็มพื้นที่ (เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์) ทั้งนี้คำว่าที่ดินเพื่อการเกษตร จะต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดด้วย เช่น หากปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้น/ไร่ ถ้าปลูกน้อยกว่าที่กำหนดไว้จะคิดภาษีที่ดินที่เหลือ ซึ่งจะพิจารณาจากสถานภาพความเป็นจริงของพื้นที่ที่ใช้ทำเกษตรกรรม รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีเพดานภาษีสูงสุด 0.15% คิดจากมูลค่าราคา ตามอัตราที่จัดเก็บ ดังนี้

- 0-75 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.01%

- 75-100 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.03%

- 100-500 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.05%

- 500-1,000 ล้านบาท เรียกเก็บในอัตรา 0.07%

- 1,000 ล้านบาทขึ้นไป เรียกเก็บในอัตรา 0.1%

หมายเหตุ : บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นละไม่เกิน 50 ล้านบาท

 

2. ที่อยู่อาศัย เรียกเก็บภาษีบ้านทุกหลัง โดยบ้านหลังหลัก จะเรียกเก็บกับเจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน/เจ้าของคนใดคนหนึ่งที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่น จะเรียกเก็บจากเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนดแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเพดานภาษีสูงสุด 0.3% สำหรับคำจำกัดความของที่อยู่อาศัยนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้

2.1 เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัยหรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย

2.2 ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้ เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น

2.3 ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมและที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้าน+ที่ดิน)

อัตราภาษีที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย

- มูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 300 บาท)

- มูลค่า 25-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 500 บาท)

- มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษีล้านละ 1,000 บาท)

** ในปี 2563-2564 กรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน (เจ้าของบ้านอาศัยอยู่เอง) และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย เช่น สิ่งก่อสร้าง เพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ

 

3. กลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม) เพดานภาษีสูงสุด 1.2% หมายถึงที่ดินอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่นเป็นที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อย่างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โรงงานอัตราภาษีปี 2563-2564

- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)

- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)

- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)

- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)

- มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)

 

4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ เพดานภาษีสูงสุด 1.2% แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยรกร้างว่างเปล่าติดต่อกัน 3 ปี

- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)

- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)

- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)

- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)

- มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)

หากปล่อยรกร้างเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% ในปีที่ 4 และถูกเก็บเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่ได้มีการนำมาทำประโยชน์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3% ทั้งนี้อัตราการเก็บภาษีตามมูลค่าแบบขั้นบันไดดังกล่าว จะบังคับใช้ใน 2 ปีแรก (2563-2564) ส่วนปีต่อไปจะพิจารณาเก็บตามอัตราเพดานสูงสุดอีกครั้งนี้

 

ในการเรียกเก็บภาษีจะมีจดหมายแจ้งการประเมินภาษีส่งตรงไปถึงที่ หากได้เเจ้งประเมินภาษีแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาด สามารถยื่นคำร้องขอทบทวนภาษีได้ใหม่ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยคำร้องที่ยื่นไปจะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 60 วัน เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากมีการประเมินภาษีที่ผิดพลาดไปทางท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องเสียแล้วให้ไปรับคืนภาษีภายใน 15 วัน หากผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าภาษีที่ประเมินไปนั้นถูกต้องแล้ว สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

จากนั้นผู้บริหารท้องถิ่นจะส่งคำอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายใน 15 วัน และต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน โดยมีสิทธิขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกิน 30 วัน เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยเสร็จ จะต้องแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พิจารณาเสร็จ หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายออกไป จะมีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยอุทธรณ์

หากไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีสิทธิ์ถูกยึด-อายัติ

หากไม่มีการชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด จะกลายเป็นภาษีค้างชำระที่จะต้องเร่งตามติดเร่งรัดให้เกิดการชำระให้หมด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้เสียภาษีภายในเดือนถัดไป เพื่อให้มาชําระภาษีค้างชําระ พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยจะเสียค่าปรับดังนั้น

- ถ้าไม่ได้มาจ่ายภาษีภายในเวลาที่กําหนด แต่ต่อมาได้มาชําระภาษีก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 10% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

- ถ้าจ่ายภาษีภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 20% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

- ถ้าจ่ายภาษีภายหลังจากเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 40% ของจํานวนภาษีค้างชําระ

- ผู้เสียภาษีที่มิได้ชําระภาษีภายในเวลาที่กําหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของจํานวนภาษีค้างชําระ โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกําหนดเวลาชําระภาษีจนถึงวันที่มีการชําระภาษี แต่ต้องไม่เกินกว่าจํานวนภาษีที่ต้องจ่าย

ขณะเดียวกันถ้าผู้เสียภาษีไม่มาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งข้อมูลการค้างชำระไปให้สำนักงานที่ดิน ทำให้การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทําไม่ได้ หากมีภาษีค้างชำระ และหากพ้นกําหนด 90 วันนับแต่วันที่ผู้ค้างชําระภาษีได้รับหนังสือแจ้งเตือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยึด อายัด ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ค้างชำระภาษีไปขายทอดตลาดได้

 

แหล่งอ้างอิง

https://blog.ghbank.co.th/

http://www.fpo.go.th/

https://www.posttoday.com/   



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


6 เหตุผลที่ต้องลงทุนคอนโดมิเนียมลีสโฮลด์

จับตาอสังหาฯ ยุค New Normal และดีมานด์หลังโควิด-19


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1238 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1608 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1882 | 25/01/2024
เรื่องควรรู้ ‘ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’