ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น

SME Update
12/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3067 คน
ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น
banner

มหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงประกาศเดินหน้าจัดต่อไป ซึ่งตามกำหนดเดิมจะถูกจัดขึ้นในเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 จึงทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้กำหนดเวลาจัดโอลิมปิกใหม่อีกครั้งในวันที่  23 กรกฏาคม - 8 สิงหาคม 2021


สำหรับนักกีฬาที่มีรายชื่อเข้าแข่งขัน จะต้องแสดงใบรับรองการผลตรวจโควิด 19 ว่าปลอดเชื้อก่อนเข้าสถานที่แข่งขัน


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ยังสร้างความกังวลให้แก่หลายประเทศ เนื่องจากไม่ได้มีแค่นักกีฬาและทีมงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะต้องเดินทางมาญี่ปุ่น ซึ่งการจัดมหกรรมนี้อาจกลายเป็นแหล่งในการแพร่เชื้อของโควิด 19 ในวงกว้าง ซึ่งจะทำให้คนญี่ปุ่นในประเทศจำนวนมากได้รับเชื้อไปด้วย

 

แต่ดูเหมือนว่าบรรดานักลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงโตเกียวพร้อมสนับสนุนให้โอลิมปิกเดินหน้าจัดต่อไป แม้ว่าผู้ชมต่างชาติจะไม่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในญี่ปุ่น แต่การที่มีโอกาสถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมทั่วโลก จะเป็นโอกาสในการนำเสนอกรุงโตเกียวได้รับการมองเห็น และเกิดความต้องการเข้ามาลงทุน ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นขยายตัวเติบโตได้ดี และช่วยให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังยุคโควิด 19 ระบาด เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

 

ฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นก็พยายามผลักดันโอลิมปิกสุดตัว แม้ฝืนแรงต้านของคนในประเทศ เพราะยังหวังใช้เป็นโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจและแสดงศักยภาพของประเทศอีกด้วย

 

 

โตเกียวโอลิมปิกกับความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น

 

รัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์ของญี่ปุ่น คาดการณ์กันในเบื้องต้นว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะช่วยให้เกิดเงินสะพัดมหาศาลในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น

 

1.1 ล้านล้านบาท ในภาคการก่อสร้างและการลงทุนที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก

202,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมโฆษณา

89,000 ล้านบาท จากภาคพาณิชย์และการค้าต่างๆ

 

ถึงแม้ว่าการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการขายบัตรเข้าร่วมชมงาน และการสูญเสียโอกาสของรายได้ในท้องถิ่น แต่ก็จะสามารถช่วยปลดล็อกความเสี่ยงให้กับคณะทำงานในอีกหลายๆ ด้าน เช่น การจัดการทางสาธารณสุข ซึ่งถือว่าเป็นการคลายความกังวลใจให้กับชาวญี่ปุ่น

 

ที่สำคัญเป็นการลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียรายได้หลักของการจัดการแข่งขัน นั่นคือการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ ที่บรรดานักธุรกิจ นักลงทุน และแบรนด์ได้ทำการเตรียมการลงทุนและวางแผนมาเป็นเวลานาน

 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ถือลิขสิทธิ์ในแต่ละประเทศสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลจากส่วนแบ่งพื้นที่สื่อโฆษณา ซึ่งในหลายๆ ประเทศจะมีการผลิตโฆษณาเพิ่มขึ้นเนื่องจากความนิยมของกีฬาโอลิมปิก

 

และเนื่องจากว่ามหกรรมกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ถือเป็นงานระดับโลก แบรนด์หรือนักการตลาดที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานจะต้องมีการทำการวางแผนไว้ล่วงหน้า ดังนั้นถ้าหากถูกเลื่อนหรือยกเลิกอีกครั้ง แน่นอนว่าแบรนด์และนักสื่อสารทางการตลาดจำนวนมากจะได้รับผลกระทบ ในเรื่องของการเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน 

 

เมื่อมองถึงงบประมาณทางการตลาดของแบรนด์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโอลิมปิกเกมส์ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มักจะถูกใช้ไปกับการซื้อพื้นที่สื่อเพื่อการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยไม่จำกัดเฉพาะการซื้อสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบการใช้สปอตโฆษณา จะมีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายลิขสิทธิ์ทางการตลาดทั้งในระดับนานาชาติและในระดับประเทศ

 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตว่าหากการแข่งขันถูกยกเลิก งบประมาณในการโฆษณาจากแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยงบในส่วนนี้น่าจะถูกจัดสรรไปใช้กับกิจกรรมทางการโฆษณาและการตลาดอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าอุตสาหกรรมโฆษณาในแต่ละประเทศจะไม่สูญเสียเม็ดเงินโฆษณา หากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้จะต้องยกเลิกการจัดการแข่งขัน

 


แม้ว่าผู้จัดการแข่งขันจะมีมาตรการมาแก้ปัญหาโดยการไม่อนุญาตให้กองเชียร์ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าชมการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้ แต่ก็ยังคงมีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยออกมาต่อต้านอยู่ดี รวมไปถึงนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ออกมาเตือนว่า หากมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 จากการจัดการแข่งขัน เรื่องนี้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างมหาศาลได้

 

การได้เป็นเจ้าภาพในการจัดโอลิมปิก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการฟื้นเศรษฐกิจให้ประเทศ แต่ในสภาวะที่ทั่วโลกต้องเชิญกับการระบาดโควิด 19 จึงต้องคำนวณถึงผลกระทบให้รอบด้าน เพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยว และเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศในอนาคต


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

รักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ด้วย Food Ingredients ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร

ประโยชน์ของ Food Ingredients ตัวช่วยรักษามาตรฐานรสชาติให้คงที่ในทุกจาน.เพราะมาตรฐานรสชาติคือหัวใจของธุรกิจร้านอาหาร ไม่ว่าจะมีสาขากี่แห่ง…
pin
3 | 02/04/2025
เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

เคล็ดลับการเพิ่ม Engagement บน IG ฉบับปี 2025

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SME เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่…
pin
6 | 31/03/2025
5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคสำคัญในปี 2025

5 เทรนด์ผู้บริโภคโลก ปี 2025 โดย Euromonitorล่าสุด ผลสำรวจจาก Euromonitor International ได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค…
pin
13 | 17/03/2025
ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น