Urbanization โควิด 19 กระตุ้นสังคมเมืองขยายตัว

SME Update
11/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4472 คน
Urbanization โควิด 19 กระตุ้นสังคมเมืองขยายตัว
banner

Urbanization หรือการเปลี่ยนแปลงจากชนบทสู่ความเป็นเมือง มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาทั้งแบบกระจุกและกระจายตัว จนเกิดสังคมเมืองใหม่ที่มีบทบาทความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ในจังหวัดสำคัญที่มีความเจริญเทียบเท่ากับจังหวัดกรุงเทพมหานคร เช่น ชลบุรี สงขลา นครราชสีมา เชียงใหม่ นครปฐม สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี นนทบุรี ขอนแก่น และ ภูเก็ต โดยเมืองเหล่านี้ถูกพัฒนาตามทรัพยากรหรือความสำคัญในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมืองรอง หรือ Less visited area ที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักหรือยังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปไม่มากนัก ได้มีการยกระดับสู่ความเป็นเมืองแบบ Urbanization ที่พบว่ามี GDP และรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนสูงใกล้เคียงหรือมากกว่ากรุงเทพมหานครด้วย

ถึงจะมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าหรือราวปี 2050 โลกจะมีประชากรคนเมืองเพิ่มขึ้นมากถึง 2.4 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 66 ของประชากรโลก และด้วยจำนวนประชากรขนาดนี้ย่อมนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเขตชนบทเป็นเมือง ดังจะเห็นได้จากหลายพื้นที่ในประเทศไทยมีการพัฒนาทุ่งนาที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นที่อยู่อาศัยกันมาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ดังตัวอย่างที่ให้ได้ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น พื้นที่เขตบางใหญ่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ไทรน้อย สายคลอง 1-15 เส้นรังสิต-นครนายก ที่นับวันจำนวนความหนาแน่นของประชากรยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้เมืองต้องขยายตัวตามหรือเกิดเมืองใหม่ตามการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ของผู้คน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การขยายตัวของเมืองยังคงเป็นไปแบบแออัดและกระจุกตัว หากแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดได้ไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง กลายเป็นการขยายตัวของเมือง ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากสังคมใหญ่เป็นสังคมเล็กลง

 

ทิศทางการขยายตัวของเมืองชนบทช่วงโควิด 19

โดยการขยายตัวของเมืองในชนบทท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น มุ่งเน้นด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ด้านที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตทำงานที่หลีกเลี่ยงความแออัดในสังคมเมือง เน้นระยะห่าง ให้มีความปลอดภัยด้านสุขภาพและความเป็นอยู่มากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดการกระจายตัวของเมืองหลักไปสู่เมืองต่างๆ ใกล้เคียง ทำให้มีการกระจายทรัพยากรในแต่ละประเทศในภูมิภาคของเมืองใหม่ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี (Technology) ด้วยมีบทบาทในการดำรงชีวิตมากขึ้น จากการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ผ่านการประชุมทางไกล การใช้ระบบ E-Commerce ในการค้าขายระหว่างภาคธุรกิจและภาคการบริโภคจะมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเศรษฐกิจระดับจังหวัดนั้นมีการเติบโตสูง และประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ดีขึ้นพอๆ กับการเข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร โดยมีการสำรวจประเมินค่า GDP รายจังหวัดในปี 2019 พบว่า

ภาคเหนือ

อันดับ 1 คือ เชียงใหม่ 231,726 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 11,333 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ กำแพงเพชร 110,248 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 11,888 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ นครสวรรค์ 107,178 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,165 บาท/เดือน

ตะวันออกเฉียงเหนือ

อันดับ 1 คือ นครราชสีมา 274,898 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,192 บาท/เดือน

อันดับ  2 คือ ขอนแก่น 204,122 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 9,797 บาท/เดือน

อันดับ  3 คือ อุบลราชธานี 120,494 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 5,879 บาท/เดือน

ภาคตะวันออก

อันดับ 1 คือ  ระยอง 984,980 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 91,306  บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ ชลบุรี 236,636 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 27,563 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ ลพบุรี 111,921 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 12,003 บาท/เดือน

กรุงเทพและปริมณฑล

อันดับ 1 คือ กรุงเทพมหานคร 5,022,016 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 47,826 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ สมุทรปราการ 717,053 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 28,601 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ สมุทรสาคร 398,104 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 34,277 บาท/เดือน

ภาคตะวันตก

อันดับ 1 คือ ราชบุรี 172,591 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 17,8952 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ กาญจนบุรี 92,294 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 10,131 บาท/เดือน 

อันดับ 3 คือ ประจวบคีรีขันธ์ 92,112 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 16,536 บาท/เดือน

ภาคใต้ 

อันดับ 1 คือ สงขลา 241,838 มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 13,020 บาท/เดือน

อันดับ 2 คือ สุราษฎร์ธานี 211,048 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 16,706 บาท/เดือน

อันดับ 3 คือ ภูเก็ต 209,011 ล้านบาท มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 32,380 บาท/เดือน

โดย จังหวัดระยองถูกจัดให้เป็นเขตเมืองต่างจังหวัดที่มี่รายได้ดีที่สุด จาก GDP ที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ หรือนับเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร นั่นคือ 984,980 ล้านบาท แต่ประชากรกลับมีรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงมากกว่ากรุงเทพมหานคร นั่นคือประมาณ 91,306  บาท/เดือน ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า คนจังหวัดระยองมีฐานะความเป็นอยู่จากรายได้ต่อหัวเฉลี่ยสูงมาก แต่ค่าครองชีพกลับต่ำกว่าคนกรุงเทพฯ จาก 4 สาขาอาชีพที่สำคัญ นั่นคือ สาขาเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง, สาขาอุตสาหกรรม, สาขาเศรษฐกิจ พาณิชยกรรมและการคลัง, สาขาการท่องเที่ยวและการบริการ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย คือ 1,045,697 ล้านบาท เป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per Capita) สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย คือ 1,067,449 บาทต่อปี หรือคิดเป็นเดือนละ 88,954 บาท (ข้อมูลปี 2018,สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ทั้งนี้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังคงมีเข้ามาเป็นระลอกคลื่นและยากจะหายไปจากโลกใบนี้ วิถีชีวิตเมืองชนบทกลายเป็นตัวเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตของสังคมเมืองที่ต้องการหนีห่างจากการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่หลายพื้นที่ในต่างจังหวัดก็ยังคงมีความหอมหวานยั่วใจนักลงทุนที่ต้องการหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ จากจำนวนคู่แข่งที่มีน้อยรายในต่างจังหวัด มีต้นทุนในการจัดการด้านที่ดิน หรือค่าเช่า ค่าครองชีพ ต่างๆ ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานคร และยังมีโอกาสเปิดกว้างในการลงทุนและการทำธุรกิจ เมื่อเกิดเเล้วจึงมีความมั่นคง

ในขณะที่เมืองเริ่มขยายฐานออกสู่พื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค เขตเมืองในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงเมืองหลวงของประเทศอีกต่อไปแล้ว เมื่อมีการขยายฐานเมืองเปลี่ยนความเป็นชนบทสู่ความเป็นเมือง  

จากปรากฏการณ์ Urbanization ของเมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด ที่สามารถพัฒนาสาธารณูปโภค-บริโภคได้เทียบเทียมกับกรุงเทพมหานคร ในขณะที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้คนเองก็มีการปรับเปลี่ยนไปทำให้สามารถ Remote การทำงานผ่านระบบเทคโนโลยีต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเข้ามากระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครเหมือนสภาพการณ์ที่เคยเป็นมาในอดีต จนกระทั่งถึงจุดเชื่อมต่อของการเกิดวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ที่ไม่ได้แค่เพียงจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนในเมืองเท่านั้น แต่กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนไปแล้วทั่วโลก และชนบทจะกลายเป็นวิถีทางเลือกใหม่ของผู้คนในยุค New normal ในอนาคตอันใกล้ตามคำนิยามแบบ Urbanization.

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.newsecuritybeat.org/

http://www.okmd.or.th/

https://www.bot.or.th/

https://www.onbnews.today/

https://www.longtunman.com/

https://www.prachachat.net/ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


LPN Wisdom วิเคราะห์อสังหาฯ ฟื้นตัวครึ่งปีหลัง 2563

อุตสาหกรรมไทยกับการฟื้นตัวจากพิษโควิด 19


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1059 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1406 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1681 | 25/01/2024
Urbanization โควิด 19 กระตุ้นสังคมเมืองขยายตัว