วิกฤตค้าปลีกสหรัฐฯ จาก Hamburger Crisis ถึง COVID-19

SME Go Inter
21/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2060 คน
วิกฤตค้าปลีกสหรัฐฯ จาก Hamburger Crisis ถึง COVID-19
banner

เมื่อ 10 ปีก่อนในปี 2551-2553 เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อซับไพร์ม ซึ่งหลายคนรู้จักกันในนามวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือสินเชื่อด้อยคุณภาพ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐอย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะ "ธุรกิจค้าปลีก" ถือว่าได้รับผลกระทบรุนแรงจนต้องปิดตัวลงถึง 48 ราย

 มาปีนี้สหรัฐก็เข้าสู่วิกฤตรอบใหม่อีกครั้ง จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่ง “สหรัฐ” ได้กลายเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้วิกฤตครั้งนี้หนีไม่พ้นที่จะลามไปถึงภาคธุรกิจ ซึ่ง "ธุรกิจค้าปลีก" ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กับเมื่อ 10 ปีก่อน อันเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงจากปัญหารายได้ที่ลดลงภายในประเทศและการว่างงาน  

แต่ที่น่าห่วงกว่านั้น คือ ก่อนหน้านี้ "ธุรกิจค้าปลีก" ยังได้เผชิญกับแรงกระแทกจากการรุกรานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology Disruption) ทำให้ผู้บริโภคหันไปช็อปปิ้งออนไลน์แทนการเดินเข้าห้างสรรพสินค้าแบบเดิมๆ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ผลจากแรงกดดันทั้ง 2 ด้าน ดังกล่าวทำให้มูลค่าการค้าปลีกในสหรัฐ ช่วงไตรมาส 2 ลดลง 3.6% หรือ 1.31 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากช่วงไตรมาส 1 และมีผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสหรัฐ 29 รายยื่นคำร้องต่อศาลล้มลายกลางเพื่อพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน หรือตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวนผู้ยื่นคำร้อง 22 ราย และมีจำนวนร้านค้าปลีกกว่า 10,000 ร้านที่ต้องปิดตัวลง โดยคาดการณ์ว่าจนถึงสิ้นปีจะมีจำนวนร้านค้าปลีกไม่ต่ำกว่า 25,000 แห่งปิดตัวลง (บริษัท Coresight Research)

บริษัท BDO USA LLP. ผู้ให้บริการทางธุรกิจ ระบุว่า ในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐทยอยปิดกิจการมากกว่าช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เนื่องจากนโยบายการสั่งปิดร้านจำหน่ายสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคอเมริกันส่วนใหญ่จำกัดการเดินทาง และเลือกที่จะหันไปซื้อสินค้าออนไลนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ “สัดส่วนรายได้จากช่องทางออนไลน์” ยังไม่สามารถชดเชยยอดขายปลีกจากร้านค้าที่ลดลงได้

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อการอยู่รอดของธุรกิจค้าปลีก นอกเหนือไปจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่น ทั้งหนี้ภาคครัวเรือน ภาวะการณ์แข่งขันที่รุนแรงของร้านค้าที่เพิ่มขึ้น การว่างงาน ปัจจัยความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค

สอดคล้องกับความเห็นของ Mr.Kyle Sturgeon ผู้ร่วมก่อตั้งและบริหาร บริษัท Mery LLC. ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ ยอมรับว่าปีนี้ถือเป็นปีที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของธุรกิจค้าปลีก

ทั้งนี้ผู้ประกอบการค้าปลีกที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง ต้องเลือกวิธีการที่พยุงธุรกิจทั้งการจำหน่ายสินทรัพย์ เพื่อมาเสริมสภาพคล่อง รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ

ประเด็นนี้ทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำไมอามี สหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ว่า ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าในอนาคต โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบการสินค้ากลุ่มนี้ต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ พัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการรักษาคุณภาพสินค้า บริหารจัดการต้นทุน รวมถึงการพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคอเมริกัน เช่น สินค้าที่สามารถในไปใช้ทำงานที่บ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน สินค้าสุขภาพ อาหารเกษตรแปรรูป รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และต้องใส่ใจเรื่องการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


‘ดีป้า’ เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2563 โควิดหนุนตลาด 

จริงหรือ? สังคมสูงอายุทำให้เศรษฐกิจโตช้า

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5063 | 23/10/2022
วิกฤตค้าปลีกสหรัฐฯ จาก Hamburger Crisis ถึง COVID-19