จับตาตลาดทุเรียนในเวียดนาม ‘คู่แข่ง’ ทุเรียนไทย

SME in Focus
24/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 10169 คน
จับตาตลาดทุเรียนในเวียดนาม ‘คู่แข่ง’ ทุเรียนไทย
banner

จากที่เคยนำเสนอเรื่องการแข่งขันในตลาดส่งออกของทุเรียนไทย ที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะสูญเสียความเป็นอันดับ 1 ในด้านการเป็นผู้ส่งออกทุเรียนให้กับมาเลเซีย ซึ่งมีสายพันธุ์ทุเรียน มูซันคิง ที่เริ่มตีตลาดส่งออกจีนและเฉือนส่วนแบ่งตลาดทุเรียนไทยไปบ้างแล้ว ทั้งมาเลเซียยังมีนโยบาย โค่นปาล์มปลูกทุเรียน ในหลายพื้นที่ กับนับเป็นคู่แข่งที่น่าจับตาสำหรับตลาดส่งออกทุเรียน

แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่าในประเทศ CLMV ก็มีการปลูกทุเรียนเช่นกัน แต่ประเทศที่แข่งขันได้และน่าจับตามากที่สุดคือ เวียดนามซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทำให้การส่งออกทุเรียนจากเวียดนามไปจีนทำได้สะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เกษตรในเวียดนามต่างแห่แหนปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองกันเป็นจำนวนมาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


จากสถิติของกระทรวงเกษตรของเวียดนามที่ระบุว่า ในปี 2561 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 2  แสนไร่ โดยพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดคือบริเวณภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดเตี่ยนซาง จังหวัดเบ๋นแจ จังหวัดหวิงล็อง และพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงตะวันตก เช่น จังหวัดเลิมด่ง จังหวัดดั้กลัก

โดยเฉพาะใน อําเภอดะฮวาย (Da Huoai) จังหวัดเลิมด่ง บริเวณที่ราบสูงตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสําหรับการผลิตและส่งออกทุเรียนของเวียดนาม อําเภอดังกล่าวมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 16,875 ไร่ ปลูกสายพันธุ์ที่นิยมปลูก อาทิ สายพันธุ์หมอนทองไทย สายพันธุ์ Do Na และสายพันธุ์ R16 โดยในปีนี้สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ด้วยปริมาณผลผลิตรวมมากกว่า 30,000 ตัน

ด้านสายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยมเพาะปลูกในเวียดนามมีทั้งสายพันธุ์จากไทย ได้แก่ ชะนี หมอนทอง และก้านยาว  นิยมปลูกในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้และที่ราบสูงตะวันตกของเวียดนาม รวมถึงสายพันธุ์ท้องถิ่น ได้แก่ สายพันธุ์ Do Na สายพันธุ์ R16 สายพันธุ์ Chuong Bo สายพันธ์ Kho qua และสายพันธุ์ Cai Mon

ตั้งเป้าผลผลิตปีละ 3.3 แสนตัน

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของเวียดนามที่คาดการณ์ว่า เวียดนามสามารถผลิตทุเรียนได้ประมาณ 330,000 ตันต่อปี โดยพื้นที่ที่มีผลผลิตมากที่สุด คือ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ การบริโภคทุเรียนภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 และส่งออก ร้อยละ 60 ของปริมาณที่ปลูกได้ โดยทุเรียนส่วนใหญ่ที่วางขายในตลาดทั่วไปมาจากจังหวัดด่งนาย จังหวัดเตี่ยนซาง จังหวัดเบ๋นแจ และจังหวัดหวิงล็อง

ทั้งนี้เมื่อในเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา ราคาจําหน่ายทุเรียนสดหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่  2.8 – 3.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อ กิโลกรัม (65,000 – 75,000 เวียดนามด่ง) และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการกว้านซื้อทุเรียนของนายหน้า ส่งผลให้ราคาทุเรียนบางพื้นที่เพิ่มสูง อาทิ อําเภอดะฮวาย จังหวัดเลิมด่ง จําหน่ายทุเรียนหน้าสวนราคาตั้งแต่ 3.4 – 6.1 ดอลลาร์สหรัฐ (80,000  – 140,000 เวียดนามด่ง) ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนไปยังจีนเป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น


ใช้ชื่อ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย ส่งขายจีน

นายเลือง หง็อก จุง เหลิบ ผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร Cat Tuong และอดีต หัวหน้าฝ่ายวิจัยการตลาดของสถาบันวิจัยผลไม้ภาคใต้เวียดนามเปิดเผยว่า แม้เวียดนามยังไม่มีใบอนุญาตส่งทุเรียนไปยังจีน แต่ที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกทุเรียนส่วนหนึ่งไปยังจีน โดยบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางบกผ่านบริเวณชายแดนเวียดนาม – จีน อาศัยการใช้ชื่อทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย

ขณะที่ รายงานการสํารวจลงพื้นที่ของสํานักข่าวท้องถิ่น Dan Viet ที่ระบุว่า ปัจจุบันจีนเข้มงวดการตรวจสอบผลไม้นําเข้าไปยังจีนมากขึ้น ส่งผลให้เวียดนามต้องใช้วิธีการลักลอบขนส่งทุเรียนผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ช่องทางหลัก อาทิ การขนส่งโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก และใช้แรงงานแบกหามตามเส้นทางเลียบภูเขาในบริเวณด่านชายแดนเตินแท็ง (Tan Thanh) โดยปริมาณการซื้อขายคาดว่าหลายร้อยกิโลกรัมต่อวัน

เวียดนามนําเข้าทุเรียนจากไทยและกัมพูชาเป็นหลัก โดยอาศัยการขนส่งผ่านบริเวณชายแดน กรมศุลกากรไทยรายงานว่า ปี 2561 เวียดนามนําเข้าทุเรียนสดจากไทยมูลค่ารวม 308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของมูลค่าการนําเข้าผลไม้ทั้งหมดของเวียดนามจากไทย

ถึงตรงนี้ คงบอกไม่ได้แล้วละว่า ในอนาคตทุเรียนหมอนทองไทย จะใช่ของจริงแท้จริงหรือไม่ และที่สำคัญหากเกษตรกรชาวสวนทุเรียนของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพทุเรียนให้ดีขึ้น ผู้ส่งออกไม่รักษาคุณภาพและจรรยาบรรณในการทำธุรกิจโดยส่งทุเรียนอ่อนไปขายจีนบ่อยเข้า ไม่แน่ในอนาคตใกล้ๆ นี้ ตลาดส่งออกทุเรียนไปจีนจะโดนทุเรียนเวียดนามเฉือนส่วนแบ่งไปอีกไม่น้อย

อ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

จากสูตรคุณแม่ ต่อยอดไลน์สินค้า ‘ปั้น คำ หอม’ แบรนด์ขนมไทย เจาะไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่-คนรักสุขภาพ

ขนมไทย เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญา ที่สะท้อนถึงความประณีต พิถิพิถัน ผ่านกรรมวิธีตามวิถีไทย จนเกิดรสชาติอันเป็นที่ชื่นชอบทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ…
pin
180 | 15/03/2024
‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

‘บ้านแดง’ โดยเมธาวลัย ศรแดง โปรเจคต์ปั้นทายาท สืบทอดธุรกิจร้านอาหารไทย ในตำนาน!

บ่มเพาะทายาทธุรกิจร้านอาหาร คุณจิระวุฒิ ทรัพย์คีรี เป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของธุรกิจร้านอาหารไทย เมธาวลัย ศรแดง ที่มีประสบการณ์ด้านอาหาร ผ่านการเป็นลูกมือช่วยคุณแม่…
pin
252 | 12/03/2024
‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้สุดล้ำ ระบบนิเวศอัจฉริยะตอบโจทย์คนเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

โลกยุคใหม่ ที่กำลังก้าวสู่วิถี Urbanization หรือความเป็นเมือง เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนนำมาสู่การขยายตัวของเมือง…
pin
645 | 09/03/2024
จับตาตลาดทุเรียนในเวียดนาม ‘คู่แข่ง’ ทุเรียนไทย