ส่องโอกาสธุรกิจร้านขายยาในเวียดนาม

SME Go Inter
14/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4237 คน
ส่องโอกาสธุรกิจร้านขายยาในเวียดนาม
banner

เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียนที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมการพทำธุรกิจร้านขายยา  อีกทั้งมองว่าการที่เข้ามาลงทุนเปิดร้านขายยาของบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในเวียดนาม คาดว่าจะช่วยให้ตลาดนี้จะพัฒนามากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมยาเวียดนามมีศักยภาพสูงเพราะเวียดนามมีประชากรกว่า 90 ล้านคน พร้อมรายได้ที่สูงขึ้น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นนับเป็นทิศทางที่ดีสำหรับธุรกิจด้านยาและเวชภัณฑ์

จากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ BMI พบว่าตลาดด้านยาและเวชภัณฑ์ในเวียดนามเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยในปี 2560 มีมูลค่าสูงถึง 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ด้านประชากรสูงวัย (อายุมากกว่า 65 ปี) ที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 18 ล้านคน

โดยปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการผลิตยาในประเทศมากขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภาษีการนำเข้าปัจจัยการผลิต และการใช้ที่ดิน เป็นต้น โดยเฉพาะการผลิตยาสามัญทั่วไปเพื่อทดแทนการนำเข้ารวมถึงส่งเสริมการวิจัยและผลิตยาแผนโบราณ ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ในส่วนของนครโฮจิมินห์ มีนโยบายส่งเสริมการใช้การบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยเฉพาะด้านทันตกรรม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


กฎหมายใหม่ เปิดกว้างลงทุนธุรกิจยา

ช่วงต้นปีทีผ่านมา รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฤษฎีกาหมายเลข 115/2018/ND-CP แก้ไขเพิ่มเติมข้อกฎหมายภายใต้กฤษฎีกาหมายเลข 54/2017/ND-CP ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้านเภสัชกรรมในเวียดนามส่งผลให้บรรยากาศการแข่งขันทางธุรกิจในด้านดังกล่าวเปิดกว้างมากขึ้น โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเวียดนามและภาคเอกชนของต่างชาติรวมถึงไทย สามารถแข่งขันกับบริษัทผลิตเวชภัณฑ์ยาที่เป็นรัฐวิสาหกิจได้มากขึ้นทั้งในด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการขยายตลาดด้านผลิตภัณฑ์เวชสำอางซึ่งมียาเป็นส่วนประกอบสำคัญ

สาระสำคัญของกฤษฎีกาหมายเลข 115/2018/ND-CP โดยสรุปได้ลดขั้นตอนและจำนวนเอกสารสำหรับการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศอาทิ

1. ผู้นำเข้าได้รับการยกเว้นการยื่นใบประกาศ Good Manufacturing Practice(GMP) หากสถานที่ที่ผลิตสินค้าได้รับการรับรอง GMP แล้ว ต่างจากเดิมที่กำหนดให้ยื่น GMP ของแหล่งผลิตทุกแห่ง

2. ได้รับการยกเว้นclinical records สำหรับการนำเข้ายาที่เคยได้รับใบอนุญาตการนำเข้าผ่านการนำเข้าด้วยวิธีเดียวกันแล้ว

3. การผ่อนปรนข้อจำกัดด้านปริมาณการนำเข้ายาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้นำเข้ามากขึ้นบนพื้นฐานของปริมาณความต้องการใช้ยาและความรุนแรงของโรคระบาดในประเทศเวียดนาม

4. การย่นระยะเวลาสำหรับการประเมินและรับรองเอกสารในการขึ้นทะเบียนเวชภัณฑ์ยาจากเดิม 60 และ 30 วัน เหลือเพียง 40 และ 20 วัน ตามลำดับ

5. การกำหนดให้การขอขึ้นทะเบียนยานำเข้าสามารถใช้รายละเอียดฉลาก (label model) และคำอธิบายผลิตภัณฑ์เป็นไปตามประเทศผู้ผลิตหรือประเทศผู้ส่งออกยาก็ได้ กรณีที่ไม่มีเอกสารใบอนุญาตผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม Certificate of pharmaceutical product : CPP)


โอกาสธุรกิจยาไทย

การแก้ไขกฤษฎีกาในครั้งนี้ จึงน่าจะส่งผลให้บริษัทเวียดนามและบริษัทต่างชาติ สามารถนำเข้าเวชภัณฑ์ยามายังเวียดนามได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะยาเพื่อรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ซึ่งมีความต้องการสูง และเป็นสาเหตุลำดับต้นกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยในเวียดนาม

อย่างไรก็ดี กฤษฎีกาดังกล่าวมิได้มีการกล่าวถึงสิทธิการเช่าพื้นที่/ คลังสินค้า และการกระจายสินค้าเวชภัณฑ์ยาในประเทศเวียดนามซึ่งตามกฎหมายฉบับเดิมกำหนดให้บริษัทที่มีการลงทุนของต่างชาติและผู้นำเข้าต่างชาติต้องใช้ผู้กระจายสินค้าและคลังสินค้าท้องถิ่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามกำหนด

สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยที่สนใจบุกตลาดเวียดนามควรมองแนวโน้มการพัฒนาและขยายตัวของการกระจายสินค้าแบบ Modern Trade และรีบคว้าโอกาสในการเข้าสู่ตลาดและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

กระนั้นนั้นควรศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยใช้บริการบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชื่อถือได้ ในส่วนของภาครัฐของไทยในประเทศเวียดนาม สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ตลอดจนสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของไทยในเวียดนาม พร้อมสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนไทยในเวียดนาม

 

อ้างอิงข้อมูล    : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

                        : สำนักงานการค้าในต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 


“เวียดนาม” ตลาดศักยภาพที่น่าลงทุน 

จับตา ภาษีอีคอมเมิร์ซแบบใหม่ในเวียดนาม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
5935 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1903 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4854 | 23/10/2022
ส่องโอกาสธุรกิจร้านขายยาในเวียดนาม