สิ่งที่เกษตรควรรู้ เพื่อการเลือกใช้เทคโนโลยี Smart Farming อย่างเหมาะสม
Smart Farming หรือการทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture) ที่มุ่งเน้นการจัดการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี แนวคิดการเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรสู่ยุคใหม่ซึ่งจะแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อมาเพิ่มคุณภาพการผลิต การเก็บเกี่ยวหรือแม้แต่การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
ด้วยเหตุนี้ จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการเร่งให้ภาคเกษตรมีการพัฒนา หรือปรับปรุงวิธีการผลิตรูปแบบเดิมไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจและส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกร
1.เกษตรอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปลูกผักหรือพืชอายุสั้นด้วยเทคนิคใหม่ๆ เช่น
การปลูกพืชไม่ใช้ การผลิตสาหร่ายเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ การทำฟาร์มแนวตั้ง (Vertical
Farming) โดยใช้แสงจากหลอดไฟ LED ทดแทนแสงจากดวงอาทิตย์
ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบในการพัฒนาการเพาะปลูกไปอย่างมากมาย
ทำให้เป็นทั้งโอกาสและการหาโอกาสใหม่ๆ ได้อีกด้วย
2.
เทคโนโลยีในการผลิตอาหารและเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร เช่น การใช้ AI,
Machine Learning, IoT, Big Data, เซนเซอร์ควบคุมภูมิอากาศ
ที่ส่งผลให้สามารถผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ประหยัดน้ำ ลดใช้พลังงาน
และนำไปสู่การจัดการแบบไม่เหลือทิ้งในภาคเกษตร (Zero Waste) ซึ่งปัจจุบันธุรกิจด้านเกษตรทั่วโลกมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมผลิตภาพและประสิทธิภาพการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นแนวทางไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ที่มีความยั่งยืน
3. การปรับปรุงพันธุ์ (Plant Breeding) เทคโนโลยีด้านการศึกษาพันธุกรรมของพืชด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
หรือองค์ความรู้ที่เรียกว่าจีโนมิกส์ (Genomics) ซึ่งเป็นการศึกษารหัสพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต
Genomics ประกอบด้วย การตัดต่อยีนหรือพันธุกรรม
โดยในปัจจุบันการศึกษา Genomics ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล
ตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้เก็บข้อมูลปริมาณมากที่รวดเร็วและแม่นยำ
ตลอดจนการนำวิทยาการด้านการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชมาเป็นส่วนเสริมสร้างให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม
หรือตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากกว่าเดิม อาทิ เช่น
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวน้ำตาลน้ำที่เป็นที่ต้องการของผู้ป่วยเบาหวาน
หรือในด้านปศุสัตว์ เช่น การพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อลายหินอ่อน
ด้วยเหตุนี้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่เพียงส่งผลดีต่อเกษตรกร แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายทางสู่มือผู้บริโภค โดยการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง หรือเกิดความคุ้มค่าสูงสุด ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้
ยังเป็นประเด็นที่เปิดกว้าง เนื่องจากจะต้องศึกษาในหลายๆ ด้านอย่างรอบคอบ
แต่ก็พอจะให้คำจำกัดความได้คร่าวๆ โดยมี 3 ประเด็นหลักที่ควรพิจารณา คือ
1.เทคโนโลยี คือต้นทุน
ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเลือกเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เหมาะสม
โดยคำนึงถึงราคาเปรียบเทียบของปัจจัยการผลิต ชนิดต่างๆ
รวมทั้งราคาเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนกับราคาผลิตผล
และที่สำคัญคือราคาในการดำเนินการส่วนต่างๆ ด้วย
เพราะอย่าลืมว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยียังเกิดเป็นต้นทุนแฝง อาทิ การจัดการ
ดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้สมบูรณ์
2.ความเหมาะสมตามขนาดฟาร์ม ขนาดเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับขนาดของพื้นที่
ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพดิน สภาพน้ำ พืชที่ปลูก
และยังต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของเกษตรกรด้วย
3.เหมาะสม ไม่ได้แปรว่าทันสมัย ดังนั้น ความเหมาะสมในการเลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีไม่ใช่เลือกเทคโนโลยีที่ดูทันสมัยที่สุด แต่ควรเลือกที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด โดยการนำข้อ1 และ ข้อ 2 มาพิจารณาประกอบ
เทคโนโลยีด้านเกษตรอะไรบ้างเกษตรกรสนใจ
ด้านการเตรียมปัจจัยและวางแผนการผลผลิต อาทิ
การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อ วิเคราะห์คุณสมบัติของดิน น้ำ ปุ๋ย สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ การใช้ปัจจัย รวมถึงการจัดการภายในฟาร์มด้วย
ด้านการให้ปัจจัยและติดตามกระบวนการผลิต อาทิ
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกโดยไม่ใช้ดิน
การคำนวณการให้ปัจจัยด้านการเติบโตแก่พืชที่เหมาะสม การควบคุมวัชพืช
หรือแม้แต่การใช้แขนกล หุ่นยนต์ หรือ โดรน มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงด้านปศุสัตว์ เช่น การใช้เซนเซอร์สามารถตรวจสุขภาพ พฤติกรรมการดื่มและกินอาหาร
ด้านส่งเสริมการตลาด อาทิ
การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรในรูปแบบแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์
หรือแม้แต่การใช้ Applicationเพื่อช่วยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนระยะเวลาเพาะปลูกให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตรงกับช่วงที่ราคาดี
สามารถจัดการความเสี่ยงทางการตลาด
รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานทำให้เกิดระบบบริหารจัดการสามารถวิเคราะห์และพยากรณ์ความเสี่ยงจากปัจจัยความไม่แน่นอน
ทำให้เกษตรกรวางแผนเพาะปลูก แผนการตลาด และการจัดส่งให้เร็วและแน่นอนล่วงหน้าได้
และเพื่อลดการสูญเสีย