ดีต่อธุรกิจ เป็นมิตรต่อโลก Bio-plastics ‘ย่อยสลาย’ แบบไหนกันบ้าง
กระแสแอนตี้พลาสติกหายไปสักระยะ.. อาจจะเพราะโควิด
19 หรือความกังวลของคนทั่วโลก ที่ใส่ใจกับปัญหาด้านสุขภาพในช่วงเวลาของการระบาดของเชื้อไวรัสที่ยังลุกลามและกลายพันธุ์ในขณะนี้
แต่จากข้อมูลในปี 2020–ปัจจุบัน ทำให้เราทราบว่ามีปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและ Food
Delivery
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่ระบุว่า ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตันต่อปีตั้งแต่ในช่วงก่อนโควิด 19 หลังการระบาดของโควิด 19 พบว่า แม้นักท่องเที่ยวหายไปมากแต่ขยะพลาสติกไม่ได้ลดลง และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวด้วยซ้ำ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก็มีหลายธุรกิจที่พยายามจะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโลก
โดยการปรับเปลี่ยนพัสดุ หรือหีบห่อมาเป็นพลาสติกชีวภาพ
หรือกล่องกระดาษที่ย่อยสลายได้ง่าย เป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น รวมทั้งการนำกลับมารีไซเคิลได้อีกด้วย
โดยประเภทของพลาสติกชีวภาพ (Bio
Plastic) พลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติ
ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง แบ่งเป็น 2 ประเภท
คือ
1. พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ :
ซึ่งเป็นการทำให้พลาสติกสามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น เป็นพิษต่อธรรมชาติน้อยลง
ด้วยตัวแปรที่แตกต่างกันพลาสติกประเภทนี้เหมาะกับการใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร
เนื่องจากสามารถย่อยสลายไปพร้อมกับเศษอาหาร และคืนกลับสู่ธรรมชาติ อาทิ PLA
,PHA ,PBS
2. พลาสติกที่ผลิตจากชีวมวล
: พลาสติกประเภทนี้ผลิตจากพืชหรือวัสดุทดแทนต่างๆ
โดยใช้กระบวนการทางเคมีหรือชีววิทยา มีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกที่ได้จากปิโตรเคมี สลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ
แต่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ได้อย่างไม่มีการสิ้นสุด นอกจากนั้นเมื่อเผาทำลาย คุณสมบัติคาร์บอนของไบโอแมสจะไม่เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นอากาศ
ซึ่งเป็นการป้องกันภาวะโลกร้อนรวมถึงลดการพึ่งพาน้ำมันด้วย เช่นกลุ่ม Bio-PP,
Bio-PE, BioPA11
พลาสติกชีวภาพ คืออะไร
แล้วแบบไหนย่อยสลายอย่างไร
1. การย่อยสลายได้โดยแสง :
คือการเติมสารเติมแต่งที่มีความว่องไวต่อแสงลงในพลาสติก หรือสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ให้มีหมู่ฟังก์ชันหรือพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรง
แตกหักง่ายภายใต้รังสี (UV) แต่การย่อยสลายนี้จะไม่เกิดขึ้นภายในบ่อฝังกลบขยะ
กองคอมโพสท์ หรือสภาวะแวดล้อมอื่นที่มืด หรือแม้กระทั่งชิ้นพลาสติกที่มีการด้วยหมึกที่หนามากบนพื้นผิว
เนื่องจากพลาสติกจะไม่ได้สัมผัสกับรังสียูวีโดยตรง
2. การย่อยสลายทางกล :
โดยการให้แรงกระทำแก่ชิ้นพลาสติก ทำให้ชิ้นส่วนพลาสติกแตกออกเป็นชิ้น
ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปในการทำให้พลาสติกแตกเป็นชิ้นเล็ก
3. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชัน
: เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของพอลิเมอร์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติอย่างช้าๆ
โดยมีออกซิเจนและความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญ
4. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
: การย่อยสลายของพอลิเมอร์ที่มีเอไมด์ เช่น แป้ง
พอลิเอสเทอร์ พอลิแอนไฮดรายด์ พอลิคาร์บอเนต และพอลิยูริเทน
ผ่านปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์
ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสที่เกิดขึ้น ซึ่งแบ่งเป็นการย่อยสลายตามสภาพแวดล้อมและการย่อยสลายโดยเคมี
5. พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้
: ย่อยสลายจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
น้ำ และมวลชีวภาพ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีการย่อยสลายที่เหมาะสมคือ
ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60% อุณหภูมิ 50-60
องศาเซลเซียส และจุลินทรีย์ในธรรมชาติ
หรือนำไปผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพมีหลายชนิด เช่น cellulose,
collagen, casein, polyester, แป้ง (starch) ,โปรตีนจากถั่ว
และข้าวโพด เป็นต้น และในบรรดาวัสดุธรรมชาติทั้งหลาย ‘แป้ง’ นับว่าเหมาะสมที่สุด เพราะมีจำนวนมากและราคาถูก เนื่องจากสามารถหาได้จากพืชชนิดต่างๆ
เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง
จะเป็นว่ากว่าที่ทุกอย่างจะสามารถย่อยสลายได้
ยังมีขั้นตอนและกลวิธีทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง
และไม่ใช้พลาสติกชีวภาพทุกประเภทจะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจ
SME
อาจจะต้องพิจารณาด้านนี้ด้วย หากจะสร้างวัฒนธรรมการใส่ใจสิ่งแวดล้อมหรือการเลือกใช้วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์
ก็ควรจะศึกษาถึงความเหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ด้วย เพราะบางขณะความหวังดีอาจกำลังเพิ่มปริมาณขยะที่ย่อยสลายยากโดยไม่รู้ตัว
แหล่งอ้างอิง :