รุกตลาดต่างประเทศ ทำไมภาคธุรกิจควรใช้กลยุทธ์ ‘ไลฟ์สด’
วิกฤตโควิด 19 ส่งผลให้การขยายตลาดข้ามพรมแดนผ่าน e-Commerce กลายเป็นช่องทางที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น แต่ภาคธุรกิจจะสามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างไร? ซึ่งจากการสำรวจของ SHOPLINE แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง เผยว่า เทคนิคการทำการตลาดแบบ ‘ไลฟ์สด’ ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรุกตลาดต่างประเทศ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
การแพร่ระบาดของโควิด 19
ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ
ต่างหันมารับชมการขายสินค้าแบบไลฟ์สดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น SHOPLINE
จึงใช้ประโยชน์จากการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กมา Attach เข้ากับแพลตฟอร์ม
และเปิดให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ผ่านการส่งข้อความทาง Messenger
และได้เริ่มการทำ SHOPLINE LIVE ผ่านทางแพลตฟอร์ม
โดยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้จากหน้าเว็บของบริษัทโดยตรง
ซึ่งผู้บริหารของ SHOPLINE
ชี้ว่า ร้อยละ 70 ของแบรนด์ที่เปิดบริการ
ใช้วิธีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก และร้อยละ 30 เป็นการใช้บริการ SHOPLINE
LIVE สำหรับสินค้าที่มีการซื้อขายมากที่สุดได้แก่ เครื่องสำอาง
เสื้อผ้า และอาหาร
โดย SHOPLINE ยังได้เปิดเผยคุณลักษณะของแบรนด์/ผู้ขายที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยว่า
จะมีสิ่งที่คล้ายกัน 3 ประการ คือ
มีเรื่องราวของแบรนด์ที่น่าสนใจและชัดเจน มีกลุ่มลูกค้าและการกำหนด Positioning
ของตัวเองในตลาดที่ชัดเจน
และมีการทำการตลาดในทิศทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
ทั้งนี้ SHOPLINE เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและที่ปรึกษาการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ชื่อดัง ซึ่งก่อตั้งขึ้นที่ฮ่องกง
และประสบความสำเร็จในการขยายตลาดสู่ไต้หวันและหลายประเทศทั่วเอเชีย
เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2013 ได้ให้ความช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ
กว่า 250,000 แบรนด์ทั่วเอเชียในการก่อตั้งเว็บไซต์
และมีสำนักงานใน 8 เมืองใหญ่ของเอเชียคือ ฮ่องกง ไทเป
เสิ่นเจิ้น กวางโจว สิงคโปร์ โฮจิมินห์ กัวลาลัมเปอร์ และกรุงเทพฯ
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ SHOPLINE
ได้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการตลาดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า ในปี
2020 จำนวนแบรนด์ไต้หวันที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนผ่าน
SHOPLINE มีจำนวนกว่า 7,200 แบรนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
27 จากปี 2019 โดยผู้ขายแต่ละแบรนด์จะมีการขายสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศโดยเฉลี่ย
2.5 ประเทศต่อราย ทำให้ยอดขายไปสู่ตลาดต่างประเทศของ SHOPLINE
มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 130 โดยฮ่องกง
มาเก๊า สิงคโปร์ เป็นตลาดที่แบรนด์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุด
อย่างไรก็ดีการขยายตัวของตลาดเวียดนามและไทย
มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในระยะหลัง
ทำให้มีแบรนด์ไต้หวันให้ความสนใจกับการทำตลาดในสองประเทศนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ไต้หวันมีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมหลายแพลตฟอร์ม
โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ใช้ความได้เปรียบในด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีและระบบโลจิสติกส์ขยายตลาดจากไต้หวันซึ่งมีประชากรจำกัดเพียง
23
ล้านคน ไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากนี้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Momo
และ PChome มีการขยายตลาด ไปยังประเทศอื่นๆ
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
จุดเด่นของ PChome คือ นอกเหนือจากการขยายตลาดโดยนำสินค้าไต้หวันไปขายยังประเทศอื่นๆ แล้ว PChome
ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมนำสินค้าไทยไปวางขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของตนในไต้หวัน
ซึ่งถือเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่มีผู้นำเข้าในไต้หวัน และต้องการทดลองตลาดในไต้หวันโดยขายในรูปแบบ
B2C
นอกจากนี้
การไลฟ์สดขายสินค้าได้กลายมาเป็นแนวโน้มใหม่ของสินค้า/แบรนด์ต่างๆ
ที่ต้องการดึงดูดความสนใจของลูกค้า ทดแทนการซื้อสินค้าแบบเดิม
ที่ผู้ซื้อยังคงสามารถโต้ตอบแบบเรียลไทม์กับผู้ขายได้ เหมือนการซื้อสินค้าที่ร้าน
แต่ที่เปลี่ยนไปคือพฤติกรรมในการต่อรองราคาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายจะหายไป
ดังนั้น
การตั้งราคาจำหน่ายจะต้องมีความดึงดูดในระดับหนึ่งและต้องมีเทคนิคในการพูดขายสินค้าที่ดี
จึงจะสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภครับชมอย่างต่อเนื่อง
และสามารถชักชวนให้ผู้ที่รับชมตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าของตัวเอง
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ