การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ 4IR (The Fourth Industrial Revolution) คือยุคที่อุตสาหกรรมถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
ดังนั้นงานในยุคนี้หลายๆ อย่างจึงปรากฏเครื่องมือและนวัตกรรมต่างๆ เป็นยุคที่สามารถเข้าถึงข้อมูลขนาดมหาศาล
(Big Data) ยุคที่หุ่นยนต์ทำงานหลายอย่างแทนคน
ยุคที่การติดต่อสื่อสารไร้ข้อจำกัด และเป็นยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทในทุกภาคส่วนของสังคมมนุษย์
และอีกหลายอย่างที่ทั้งภาคสังคมและเศรษฐกิจ ไม่สามารถทำแบบเดิมได้อีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้ช่วงที่ผ่านมา จึงเกิดคำถามถึงตลาดแรงงงานที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปในบางประการ อาทิ มีการใช้ระดับอัตโนมัติมากขึ้น มีการผสานกับคนและเครื่องจักรมากขึ้น เกิดตำแหน่งใหม่ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีมากขึ้น และอาจจะมีการลดแรงงานคนในภาคการผลิต โดยใช้หุ่นยนต์และระบบออโตเมชันมากขึ้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจทำบุคลากรในตำแหน่งงานยุคใหม่ ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้อย่างเท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมของการทำงานรวมกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มีการมองว่าจะมาแย่งงานมนุษย์ในอนาคต
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
มีทักษะอะไรบ้างที่ทุกวันนี้ AI ยังสู้มนุษย์ไม่ได้
การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) : ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีข้อมูลมากมาย
แต่ผู้ที่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลใดน่าเชื่อถือ และผู้ที่สามารถประเมินข้อมูลอย่างเป็นกลางได้จะเป็นที่ต้องการสูง
จริงอยู่ในข้อที่ว่า AI จะสามารถประมวลผลได้เร็วกว่ามนุษย์
แต่มนุษย์มีมันสมองที่ซับซ้อนทำให้มีหลักการคิดที่ซับซ้อนด้วยเช่นกัน ยกกรณีเช่น การพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยโต้แย้ง
สงสัย และท้าทายสมมุติฐาน ที่นำมากล่าวอ้างว่าอาจมีข้อผิดพลาดและไม่เป็นจริง
การตั้งข้อสังเกต โต้แย้ง สงสัย และท้าทายข้อมูลเดิมๆ
จึงเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์วิวัฒน์
หรือเปรียบได้กับอุปกรณ์ไอทีที่ได้รับการอัพเกรดระบบปฏิบัติการใหม่นั่นเอง
การรับรู้ข้อมูล (Data literacy) : เราทราบว่า Big Data เป็นประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันนี้
แต่บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการรับรู้ข้อมูล จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล
สามารถเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจได้ แน่นอนว่าปัจจุบัน AI ทำได้ แต่ทำได้เพียงในระดับพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งงานในส่วน Data
Scientist คือนักวิทยาการข้อมูล จึงเป็นตำแหน่งที่เนื้อหอมเป็นพิเศษ
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) : แน่นอนว่ามนุษย์ดีกว่าเครื่องจักรที่ความคิดสร้างสรรค์
ดังนั้นผู้ที่สามารถฝันถึงวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าและสร้างวิธีคิดใหม่ จะช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า
นี่เองที่เป็นส่วนสำคัญให้องค์กรทั่วโลกต่างเปิดรับบุคคลกรที่มีความคิดที่แตกต่าง
เปิดโลกและมุมมองก้าวหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI ยังไม่ถูกอัพเกรดในฝันถึงเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นจริงได้
ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) : การแสดงออกหรือการไม่แสดงออกทางอารมณ์
คือความฉลาดของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากกว่า 2.5 x101Byte ของหน่วยคอมพิวเตอร์
ดังนั้นนี่คือความชาญฉลาดทางอารมณ์ของมนุษย์ ที่เป็นบุคคลกรที่มีคุณประโยชน์มากกว่าเทคโนโลยีอย่างแน่นอน
และ AI ก็อาจไม่ซับซ้อนทางอารมณ์ได้ขนาดนั้น และตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ในทีมงาน
EQ จะเป็นทักษะที่มีค่าที่จะต้องมี
วิจารณญาณและการตัดสินใจ (Judgment and
Decision) : ทักษะทางด้านการคิด
วิเคราะห์ แยกแยะ
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินและการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
ซึ่งทักษะทางด้านนี้เป็นหนึ่งที่ AI ยังทำได้แย่กว่ามนุษย์
รวมทั้งทักษะที่เรียกว่าการตัดสินใจ ซึ่ง AI อาจฉลาดจนสามารถเรียนรู้ทักษะมาจนถึงขั้นที่สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ
จากข้อมูลได้ แต่เนื่องจากการที่ AI ไม่มี ‘ใจ’ จึงจะเรียกว่าตัดสินใจไม่ได้
แตกต่างจากคนที่มีเลือดเนื้อ ที่บางครั้งอาจจะมีการตัดสินใจที่ต้องอาศัยมากกว่าข้อมูลถูกผิด
แต่เป็นการตัดสินใจด้วย ‘น้ำใจ’
ซึ่งยุคนี้หาได้ยากเต็มที ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ ขาดแคลนอย่างมาก
ความเป็นผู้นำ (Leadership) : ผู้นำอาจไม่ใช่เจ้านาย
และเจ้านายอาจไม่ใช่ผู้นำ และเราเชื่อว่าทุกท่านทราบว่าผู้นำที่ดีคืออะไร และแน่นอนว่าเราคงไม่สามารถนำเอาเทคโนโลยี
หรือ AI มาเป็นผู้นำมนุษย์ได้
ดังนั้นตำแหน่งของผู้นำจึงยังต้องเป็นของมนุษย์ในยุคนี้ต่อไป แต่ใครๆ ต่างก็รู้
การจะขึ้นไปถึงจุดนั้นใช่ว่าจะง่าย แม้จะไม่ต้องประชันขันแข่งกับ AI ก็ตาม