ส่องรายงาน World Bank Outlook 2050

SME Update
14/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1985 คน
ส่องรายงาน World Bank Outlook 2050
banner

จากที่ประชุม COP 21 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้รับรองความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 โดยเป็นตราสารกฎหมายที่รับรองภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ฉบับล่าสุด ต่อจากพิธีสารเกียวโตและข้อแก้ไขโดฮา เพื่อกำหนดกฎกติการะหว่างประเทศที่มีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น สำหรับการมีส่วนร่วมของภาคีในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความพยายามในการขจัดความยากจน

กล่าวได้ว่า ภายใต้ข้อตกลงปารีสซึ่งเป็นอีกก้าวไปสู่โลกที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณต่ำ แม้หลายคนจะมองว่าการบรรลุเป้าหมายเป็นเรื่องยาก ในเมื่อกลไกเดียวที่มีอยู่ยังเป็น ความสมัครใจของแต่ละประเทศที่จะจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยที่ไม่มีแนวทางกำหนดความเข้มงวดของข้อจำกัดเหล่านั้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ถึงกระนั้นข้อสงสัยในข้างต้นอาจเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว เพราะถึงวันนี้เห็นชัดว่าแม้จะอยู่ภายใต้ การสมัครใจ ของแต่ละประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทว่าหลายๆ ประเทศต่างมีมาตรการที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะเริ่มตระหนักซึ่งวิกฤต Climate Change ที่โลกอาจต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในอนาคตในด้านสภาพอากาศ

ด้วยเหตุนี้ประเด็นการทำธุรกิจที่มีความยั่งยืนในปัจจุบันนี้ จึงไม่ใช้แค่การกล่าวสวยหรูอีกต่อไป แต่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องเตรียมพร้อมให้เร็วที่สุด 

ล่าสุด ข้อมูลจากธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงาน “World Bank Outlook 2050 Strategic Directions Note : Supporting Countries to Meet Long-Term Goals of Decarbonizationซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินการทั้งระบบเศรษฐกิจ (economy-wide actions) เพื่อเอื้อให้เกิดการลดคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ ปรับแนวทางการพัฒนาของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านยุทธศาสตร์ระยะยาว ในการส่งเสริมความยืดหยุ่นของสภาพภูมิอากาศต่อระบบอาหารและน้ำ พลังงาน การขนส่ง และเมือง รวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ

ในรายงานได้เรียกร้องให้มียุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ต้องกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถสร้างงานแห่งอนาคต ในขณะที่ต้องรักษาสภาพอากาศให้มากขึ้น

โดยในรายงาน Outlook 2050 มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้เกิดการปรับด้านการเงิน ให้สอดคล้องกับเส้นทางไปสู่การปล่อยมลพิษต่ำและการพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ โดยเสนอแนวทาง “เศรษฐกิจโดยรวม” ผ่านทิศทางยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

1. การให้ความสำคัญของสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ไว้ในกรอบเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ

2. การวางแผนด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ไว้ในงบประมาณและกรอบการใช้จ่ายของประเทศ

3. การระบุวัตถุประสงค์ด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ไว้ในกฎระเบียบและมาตรการจูงใจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

4. การระบุวัตถุประสงค์ด้านสภาพอากาศระยะยาว ไว้ในการวางแผนระบบต่างๆ

ทั้งได้ระบุถึงโอกาสของภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องที่มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 8 ภาคส่วน ได้แก่

1) ระบบอาหาร

2) การปกป้องระบบนิเวศบนพื้นดินและอ่างคาร์บอน

3) ระบบพลังงาน

4) ระบบขนส่ง

5) การสร้างเมืองคาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่นของเขตพื้นที่เมืองมากขึ้น

6) ระบบน้ำ

7) เศรษฐกิจมหาสมุทร (ocean economy

8) การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล

โดยในรายงาน Outlook 2050 ระบุว่าการลงทุนภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด19 จะเป็นไปอย่างยั่งยืน

บ่อยครั้งที่เรานำเสนอรายงานและบทวิเคราะห์ด้านการจัดการความยั่งยืนของโลก ซึ่งเป็นกระแสที่มีการเรียกร้องในปัจจุบัน ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ได้เห็นชัดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะอย่างที่ทราบว่ามาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีในปัจจุบันของหลายประเทศมีความเข้มข้นมาก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ยุโรป หรือแม้แต่ในตะวันออกกลางบางประเทศ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนสินค้า บรรจุภัณฑ์ แหล่งซัพพลาย กระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยสร้างโอกาสในตลาดต่างประเทศ แถมยังช่วยโลกได้อีกด้วย

 

รายงานฉบับเต็ม https://openknowledge.worldbank.org/

แหล่งที่มา : World Bank Report Maps Strategic Directions Towards Decarbonization

                         https://thaieurope.net/  



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


5 ขั้นตอนง่ายๆ ขับเคลื่อนสู่องค์กรรักษ์โลก

4 ประเด็นต้องพิจารณาเพื่อปรับตัวสู่สินค้ารักษ์โลก


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
ส่องรายงาน World Bank Outlook 2050