4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

SME Update
17/11/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 1234 คน
4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME
banner

ภาคธุรกิจต่างพยายามหาทางลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกระแสดังกล่าวได้ขยายวงกว้างไปในหลายภาคส่วนหนึ่งในนั้น คือกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักอย่าง EU และสหรัฐฯ แสดงความสนใจที่จะนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจมาตรการที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระแสสิ่งแวดล้อมจะเป็นทั้งตัวขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ โดยขั้นตอนการเตรียมธุรกิจเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนมาตรการคาร์บอนที่ต้องเตรียมรับมือในอนาคต มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

#สิ่งแวดล้อม #ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก #ธุรกิจคาร์บอนต่ำ #เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน # Carbon Footprint #พลังงานหมุนเวียน #คาร์บอนเครดิต #ภาษีคาร์บอน #CBAM#ESG #ลดโลกร้อน #เพื่อนคู่คิดธุรกิจsme #ธนาคารกรุงเทพ #bangkokbanksme



อันดับแรก ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ธุรกิจของตนมีการปล่อยคาร์บอนเป็นปริมาณเท่าไหร่หรือที่เรียกว่าการทำ Carbon Footprint ซึ่งมีทั้งการทำ Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ หมายถึงปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์ และ Carbon Footprint ขององค์กร หมายถึงปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง โดยวัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน




เมื่อทราบปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้ประกอบการควรเริ่มจากการใช้มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency: EE) เช่น ออกแบบอาคารสีเขียว หรือ การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าฉลากเบอร์ 5 ประหยัดพลังงาน เป็นต้น


และหาทางลดการปล่อยคาร์บอนภายในกระบวนการผลิตสินค้าหรือกระบวนการทำงานขององค์กร เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ และการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกระบวนการขนส่ง เป็นต้น




สำหรับธุรกิจที่ไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ทั้งหมด ต้องชดเชยคาร์บอนด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต โดยในกรณีที่สามารถชดเชยคาร์บอนได้บางส่วนและยังคงเหลือปริมาณการปล่อยคาร์บอนอยู่ส่วนหนึ่ง เรียกว่า “Carbon Offset” เป็นการชดเชยคาร์บอน เพื่อเอาไปหักลบกับมลพิษที่ปล่อยออกมา เหมือนเป็นกระบวนการในการสร้างของดีเพื่อเอามาหักล้างของเสียนั่นเอง


ส่วนกรณีที่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด เรียกว่า “Carbon Neutral” เป็นการ “ดูดกลับ” ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกไปทั้งหมด เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอน (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนและนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน


ยกตัวอย่างเช่น หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เราสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต



ในระยะแรก EU จะใช้มาตรการ CBAM กับสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ และพลังงานไฟฟ้า โดยยังให้มีระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ช่วงปี2566-2568 ก่อนจะเริ่มบังคับใช้มาตรการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2569

ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับมาตรการด้านคาร์บอนที่จะบังคับใช้ในอนาคต โดยEU กำหนดให้ผู้นำเข้า ต้องทำรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนสินค้าที่นำเข้าปีที่ผ่านมา และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอนด้วยการซื้อ CBAM Certificates เพื่อเป็นการปรับคาร์บอนของสินค้าดังกล่าว

ดังนั้นการปรับตัวที่มุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจสังคมคาร์บอนต่ำ’ ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของ SME ไทย ผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรฐานใหม่ของโลกการค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่อไป


อ้างอิง

https://www.bangkokbanksme.com/en/6sme3-esg-carbon-footprint


องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1367 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1750 | 26/01/2024
4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME