นำเข้า-ส่งออกต้องรู้! เปลี่ยนกฎใหม่การเคลื่อนย้ายขยะพลาสติก
ความตื่นตัวตอบสนองต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะพลาสติกและขยะของเสียอันตรายกำลังเป็นประเด็นปัญหาร้อนในสังคมโลก อาทิ การลักลอบขนส่งนำเข้าประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบหรือการกำจัดของเสียดังกล่าว ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยต่อประชาชนที่จะเกิดขึ้น และงบประมาณรายจ่าย เพื่อเป็นการควบคุมการขนส่งของเสียระหว่างประเทศ ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาบาเซล (Basel Convention) ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดน และการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โดยอนุสัญญาบาเซล ยังได้กำหนดกลไกต่างๆ ไว้ โดยกลไกที่สำคัญ คือการให้ความยินยอมล่วงหน้าจากทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง
และข้อกำหนดให้กำจัดของเสียอันตรายด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสิ้น ในสหภาพยุโรปได้มีการออกกฎหมายควบคุมการขนส่งของเสียไว้เป็นการเฉพาะ
เช่น การจัดตั้งพิธีการนำเข้า/ส่งออกขยะอันตราย ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ภาคี 187 ประเทศ
มีมติแก้ไขอนุสัญญาฯ เพื่อให้ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการขยะพลาสติกในระดับโลก ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
1. การเพิ่มข้อ A3210
ใน Annex VIII เพื่อกำหนดประเภทของขยะพลาสติกที่สันนิษฐานว่าเป็นขยะอันตราย ต้องดำเนินการตามพิธีการแจ้งให้ทราบ
และขอความยินยอมล่วงหน้าจากประเทศนำเข้าและประเทศที่มีการผ่านแดน (Prior
Informed Consent: PCI)
2. การเพิ่มข้อ B3011
โดยแทนที่ข้อ B3010 ใน Annex IX กำหนดประเภทของขยะพลาสติกที่สันนิษฐานว่า ไม่ใช่ขยะอันตราย
และไม่ต้องดำเนินพิธีการ PCI เช่น
2.1 cured resin
2.2 non-halogenated and fluorinated
polymer ที่จะนำไปรีไซเคิลด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแทบไม่มีสิ่งปนเปื้อนจากขยะหรือของเสียประเภทอื่น
2.3 ขยะพลาสติกที่มีส่วนผสมของ
polyethylene (PE), polypropylene (PP) หรือ polyethylene
terephthalate (PET) ที่จะนำไปรีไซเคิลแยกต่างหากจากกันด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และแทบไม่มีสิ่งปนเปื้อนจากขยะหรือของเสียประเภทอื่น
3. การเพิ่มข้อ Y48
ใน Annex II กำหนดประเภทของขยะพลาสติกและส่วนผสมของขยะพลาสติกที่ไม่ได้
อยู่ในข้อ A3210 ใน Annex VIII และข้อ B3011
Annex IX ข้างต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อพิธีการศุลกากร
กล่าวคือ การนำเข้าหรือส่งออกขยะพลาสติกบางประเภท ต้องมีการดำเนินพิธีการ PCI
และเนื่องจากระบบ HS ในปัจจุบันยังไม่มีการจัดจำแนกประเภทของขยะพลาสติกในระดับ
6 หลัก WCO จึงเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกเพิ่มประเภทย่อยลงไปในระบบการจัดจำแนกประเภทสินค้าของตน
จนกว่าจะมีข้อเสนอให้แก้ไข HS ในประเด็นเรื่องขยะพลาสติก
นอกจากนี้ศุลกากรอาจต้องปรับปรุงตัวกรองความเสี่ยง (risk
indicators) ให้เป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลด้วย
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการควบคุมการส่งของเสียข้ามแดนจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับศุลกากร
ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้า และการปกป้องสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขณะเดียวกันผู้นำเข้าและส่งออกควรพิจารณารายละเอียดของเรื่องนี้อย่างรอบคอบด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์ HTTP://BRUSSELS.CUSTOMS.GO.TH
http://brussels.customs.go.th/