“ซูปเปอร์ โลเกชั่น”แนวรถไฟฟ้า (จบ)

SME in Focus
14/02/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1654 คน
“ซูปเปอร์ โลเกชั่น”แนวรถไฟฟ้า (จบ)
banner
ระบบขนส่งมวลชนโดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้ นอกจากจะทำให้การเดินทางสะดวกสบายและรวดเร็วขึ้นแล้ว ยังพลิกโฉมหน้ากรุงเทพฯ –ปริมณฑล เปิดทำเลใหม่ ๆ รองรับการพัฒนา และพลิกมิติการเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ ของคนกรุงเทพฯ ปริมณฑล ในสี่มุมเมืองทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ขณะเดียวกันหลายทำเลที่เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าหลากสีจะกลายเป็นศูนย์รวมการเดินทาง แต่ละวันจะมีคนสัญจรไปมาจำนวนมาก เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งมวลชนระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะส่วนตัว รถประจำทาง ระบบขนส่งระบบรอง กลายเป็นแหล่งรวมของคนดินทาง และคนทำงาน เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มองหาช่องทางในการทำธุรกิจ หรือค้าขายสินค้าและบริการ

ในจำนวนสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมดกว่า 50 สถานี ซึ่งเป็นจุดตัดและจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าตั้งแต่ 2 สายทางขึ้นไปนั้น นอกจากบางทำเลจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางในปัจจุบัน และเป็นศูนย์รวมการเดินทางย่อย ๆ อยู่แล้ว ในอนาคตยังมีอีกหลายทำเลที่จะเกิดขึ้นใหม่และเป็นทำเลที่น่าสนใจ เพราะอานิสงส์จากรถไฟฟ้าจะช่วยเสริมศักยภาพเพิ่มขึ้นทั้งในแง่การเดินทาง กลายเป็นทำเลธุรกิจ เศรษฐกิจ เป็นแหล่งรวมผู้บริโภคหลากหลายระดับ

ในที่นี้ขอนำเสนอทำเลธุรกิจในพื้นที่ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า แหล่งรวมคนเดินทางในแนวรถไฟฟ้าในสถานีหลัก ๆ ที่จะก้าวขึ้นเป็นทำเลศูนย์รวมในการเปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง กับทำเลที่มีความสำคัญลำดับรอง ๆ  ลงไปที่ มีแนวโน้มจะกลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจการค้าจากนี้ไปอีกไม่นาน โดยมี ‘3 ทำเล 5 ดาวและ ทำเลฮอต4มุมเมือง


ทำเลห้าดาวศูนย์กลางคมนาคม

เริ่มจากศูนย์กลางคมนาคม 3 ศูนย์หลัก ที่รัฐบาลรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีแผนจะผลักดันให้เป็นศูนย์รวมการเดินทาง เป็นจุดเชื่อมต่อการสัญจรทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และคนเดินทางที่มาจากพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นเหนือ ใต้ ตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งคนเดินทาง นักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ฯลฯ

1.ศูนย์คมนาคมบางซื่อ : ตั้งอยู่บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เนื้อที่ทั้งหมดกว่า 2,300 ไร่ ในทำเลซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบางซื่อในปัจจุบัน โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกนำมาพัฒนาเป็น สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางจุดเชื่อมต่อการเดินทางในระบบราง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล รถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน และรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวและคนเดินทางจากจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา เวียfนาม เมียนมา จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะแล้วเสร็จในปี 2563

นอกจากนี้จะแบ่งการพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือด้วยการทยอยเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาพัฒนาด้วยการร่วมทุนแบบ PPP รวมทั้งหมด 8 โซน ในรูปแบบมิกซ์ยูส มีทั้งที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า ออฟฟิศ โรงแรม ฯลฯ เบื้องต้นการรถไฟฯ จะเปิดประมูลพื้นที่โซน A เนื้อที่รวม 35 ไร่มูลค่าลงทุนกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท โดยจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร

2.ศูนย์กลางคมนาคมมักกะสัน : ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมรถไฟมักกะสัน หรือสถานีรถไฟมักกะสันในปัจจุบัน 500 ไร่ โดยที่ดินบางส่วนจะนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ มีทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ส่วนที่อยู่อาศัย รวมทั้งที่ดินที่จะถูกกันไว้เป็นพื้นที่สีเขียว

อย่างไรก็ตาม ที่ดินบางส่วนถูกนำไปผนวกรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ หรือโครงการไฮสปีดเทรนไปอีอีซี หนึ่งในเมกะโปรเจ็กต์ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 139 ไร่ เปิดให้ผู้ชนะการประมูลไฮสปีดเทรนนำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี มีทั้งส่วนเทอร์มินอล ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ฯลฯ

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนี้ การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเจรจากับ กลุ่ม CRCC ที่มีซีพีเป็นแกนนำ ซึ่งเป็นผู้ชนะการเปิดซองราคา ในส่วนของข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติมซองที่ 4 ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 3 โซน การรถไฟฯ จะทยอยเปิดประมูลให้เอกชนพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสเช่นเดียวกัน

3.ศูนย์คมนาคมตากสิน : เดิมรัฐบาลมีแผนจะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภาคใต้กับกรุงเทพฯ และกำหนดทำเลที่ตั้งโครงการไว้บริเวณถนนวุฒากาศ ถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลป์พฤกษ์ โดยได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินรองรับ แต่ถูกคัดค้านจากเจ้าของที่ดินในพื้นที่ทำให้ต้องชะลอโครงการออกไป ขณะเดียวกันก็ปรับรูปแบบโครงการให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม


ทำเลฮอต4มุมเมือง

ส่วนจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าในทำเลซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีการเติบโตลำดับรอง ๆ จากศูนย์คมนาคม ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการเดินทาง เป็นจุดตัดของระบบโครงข่ายเส้นทางคมนาคมหลายระบบ  เชื่อมโยงการเดินทางทั้งกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด ระหว่างพื้นที่ชานเมืองกับย่านใจกลาง อาจแยกเป็นโซน ๆ ได้ดังนี้ :

โซนใต้ทำเลฝั่งธนฯ : ได้แก่ สถานีตากสิน-วุฒากาศ  จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีตากสิน กับสถานีวุฒากาศ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน บางหว้า-สนามกีฬาแห่งชาติ  ซึ่งกรุงเทพมหานคร มีแผนจะขยายแนวเส้นทางจากบางหว้าจนถึงสถานีตลิ่งชัน ของรถไฟฟ้าสายสีแดง รวมทั้งรถไฟชานเมือง รวมทั้งรถไฟสายใต้ สถานีท่าพระ จุดตัดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อท่าพระ กับหัวลำโพง-บางแค บริเวณแยกท่าพระ ซึ่งเป็นศูนย์รวมการเดินทางในปัจจุบันอยู่แล้ว ในอนาคตจะกลายเป็นศูนย์รวมการเปลี่ยนเส้นทาง หรือ Interchange ใหญ่ที่สุดในย่านฝั่งธนฯ

สถานี บางหว้า จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน กับสายสีน้ำเงิน สถานีบางบำหรุ จุดเชื่อมต่อสายสีแดงอ่อน แดงเข้ม สถานีท่าพระ จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าพระน้ำเงิน/น้ำเงิน(บางซื่อ-ท่าพระ,หัวลำโพง-บางแค) สถานีบางขุนนนท์ จุดตัดจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ สายสีแดง จากสถานีตลิ่งชัน ไปสถานีธนบุรี-ศิริราช และสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนท์ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีธนบุรี-ศิริราช สถานีตลิ่งชัน

โซนเหนือ : เริ่มจากสถานีศูนยคมนาคมบางซื่อ สถานีสวนจตุจักร-หมอชิต สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ สถานีวงเวียนหลักสี่ ฯลฯ ที่น่าจับตามองคือ สถานีดอนเมือง ฝั่งตรงข้ามสนามบินดอนเมือง สถานีร่วมระหว่างของระบบรางหลายระบบ ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง  รถไฟทางไกล  รถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน ฯลฯ

โซนตะวันตก : สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จุดตัดรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีชมพู และสีน้ำตาล สถานีบางใหญ่ ฯลฯ

โซนตะวันออก : สถานีแยกเกษตร ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และสายสีเขียว สถานีฉลองรัช จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีเทา สถานีวัชรพล รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเทา สถานีวัชรพล สายสีชมพู สายสีเทา สถานีเกษตร-นวมินทร์ รถไฟฟ้าสายสีเทา สายสีน้ำตาล สถานีประดิษฐ์มนูธรรม รถไฟฟ้าสายสีเทา สายสีส้ม

สถานีสำโรง รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีเหลือง สถานีรามคำแหง รถไฟฟ้าสายสีแดง กับไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน สถานีพัฒนาการ รถไฟฟ้าสายสีแดง สายสีเหลือง และไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน สถานีลำสาลี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง กับสายสีส้ม สถานีสัมมากร รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล กับสายสีส้ม สถานีมีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีชมพู กับสายสีส้ม

โซนกลางเมือง : ส่วนทำเลสถานีรถไฟฟ้าในเมืองในแหล่งธุรกิจการค้าย่านใจกลางเมืองและในเมือง ทั้งในปัจจุบัน และที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อในอนาคต อาทิ สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สายสีเขียว พญาไท สายสีแดง สายสีเขียว ไฮสปีดเทรน อีอีซี สถานีห้าแยกลาดพร้าว สายสีน้ำตาล สายสีเขียว สถานีสยาม สายสีเขียว สถานีสีลม-ศาลาแดง สายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อนช่องนนทรี สายสีเขียวอ่อน สายสีฟ้า เพชรบุรี-มักกะสัน สายสีน้ำเงิน สายสีฟ้า สายสีแดง ไฮสปีดเทรนด ฯลฯ

ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดเป็นการหยิบยกรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ ที่นับเป็นทำเลที่น่าลงทุน มีศักยภาพในการทำธุรกิจการค้าแต่ละสถานีมีมากน้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ประกอบการต้องไม่ลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ หรือตัวสินค้าและบริการต้องโดนใจลูกค้าด้วย
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
243 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
409 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
326 | 20/03/2024
“ซูปเปอร์ โลเกชั่น”แนวรถไฟฟ้า (จบ)