IoT ปัจจัยอันดับ 1 ต่อการพลิกผันทางเทคโนโลยี

SME in Focus
27/02/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1885 คน
IoT ปัจจัยอันดับ 1 ต่อการพลิกผันทางเทคโนโลยี
banner
ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการทำธุรกิจในปัจจุบัน บริษัททั่วโลกต้องพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้และการหาวิธีจัดการกับระบบเทคโนโลยีดั้งเดิมให้เข้ากับการทำงานในปัจจุบัน

โดยผลสำรวจความคิดเห็น The Changing landscape of disruptive technologies โดย เคพีเอ็มจี ผู้นำระดับโลกในบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ IoT ซึ่งสำรวจความเห็นของผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับโลกกว่า 750 คน พบว่า Internet of Things (IoT) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งที่ส่งผลต่อการพลิกผันทางเทคโนโลยี โดยมีอันดับสูงกว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (robotics) ในทุกประเภทดังนี้

1. การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

2. การขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อม

3. ผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดผู้บริโภค


คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ ผู้อำนวยการที่ปรึกษาธุรกิจของเคพีเอ็มจีประเทศไทย ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของการใช้ IoT และความกดดันในการรักษาความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล บริษัทต่าง ๆ ควรตระหนักถึงอันตรายของการปรับใช้เทคโนโลยีโดยไม่มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน การนำเอาเทคโนโลยีใด ๆ ก็ตามมาใช้สามารถก่อให้เกิดผลเสียเพิ่มขึ้นในระยะยาวหากไม่มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม

คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่จะนำ IoTมาใช้ มี 6 หลักพิจารณาดังนี้

1.ชี้ปัญหาธุรกิจ ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการใช้ IoT เพื่ออะไร อะไรคือปัญหาทางธุรกิจที่ต้องแก้ไข และผลประโยชน์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลดต้นทุน ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ คุณภาพของสินค้าและบริการ การเติบโตทางธุรกิจ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการลดความเสี่ยง การระบุปัญหาที่ชัดเจน สามารถทำได้โดยใช้กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง การสร้างคุณค่า และเกณฑ์การวัดความสำเร็จ

2.ร่วมมือเพื่อสร้างคุณค่า พลังของ IoT เกิดขึ้นเมื่อมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยมีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ข้อมูลมาสู่บุคคล โดยกระบวนการและข้อมูลนั้นยิ่งมีการแลกเปลี่ยนกันได้มากขึ้นก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น มาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลและการทำงานร่วมกันมีบทบาทสำคัญในการสร้างคุณค่า ช่วยลดต้นทุน และพัฒนาความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือการรู้ว่ามีเทคโนโลยีใดบ้างและเทคโนโลยีไหนที่ปรับใช้ได้กับคุณ

3.คิดใหม่ในด้านทักษะและวัฒนธรรม ผู้บริหารควรเตรียมความพร้อมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่นำ IoT เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ การเตรียมความพร้อมรวมถึงการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ๆ  การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ การฝึกอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

4.การทดลอง ใช้สุภาษิต 'คิดใหญ่เริ่มต้นเล็ก' ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในธุรกิจของคุณ โดยการพัฒนาและทดสอบระบบ ประเมินความสำเร็จและสิ่งที่ต้องปรับปรุงตลอดจนการวัดประโยชน์ที่ได้รับ จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาระบบที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพให้แข็งแกร่งขึ้น

5.รู้ถึงความเสี่ยงและกฎระเบียบ ด้วยคุณค่าที่มาพร้อมความเสี่ยง IoT มีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทนที่ธุรกิจของคุณอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คุณจึงต้องทำความเข้าใจกฎข้อบังคับหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ (แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ต้องพิจารณา) ต้องแน่ใจว่าคุณคิดในแง่ของลูกค้า พนักงาน ทรัพย์สิน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งหมด

6.สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ IoT จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อขององค์ประกอบต่าง ๆ จนกลายเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมต่อระบบย่อย ๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นระบบดังกล่าวจะไม่พึ่งพาผู้ขายหรือผลิตภัณฑ์เพียงรายเดียว หากแต่เป็นหลายปัจจัยที่ทำงานร่วมกัน เมื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการทางธุรกิจแล้ว จึงจะเห็นได้ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจในด้านใดบ้างและจะทำงานร่วมกันอย่างไร


การนำเทคโนโลยีใดมาใช้ก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ตลอดจนความเสี่ยงและข้อจำกัด ที่สำคัญเราอยู่ในยุคที่ยังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลที่ยังไม่สมบูรณ์ คงต้องรอดูด้วยว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะมาปั่นป่วนรูปแบบธุรกิจเดิมๆ อย่างไรต่อไป
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
194 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
283 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
912 | 17/04/2024
IoT ปัจจัยอันดับ 1 ต่อการพลิกผันทางเทคโนโลยี