Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู

SME Update
05/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1766 คน
Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู
banner
ก่อนจะเริ่มเรื่อง Brexit เราขอเท้าความกันก่อน คือ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (United Kingdom หรือ Great Britain) หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันว่า อังกฤษ แต่แท้จริงสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีประเทศอยู่ภายในประเทศอีกที ประกอบไปด้วย อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งได้ออกจากการสหภาพยุโรป (European Union) โดยเกิดหลังการลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ก่อนหน้านี้หากจำได้ก็มี Grexit (Greece+Exit)  คือ กรณีกรีซถอนตัวออกจากยูโรโซนนั่นเอง

ประเด็นที่น่าจับตาคือ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ประกาศเลื่อนการลงมติของรัฐสภาต่อร่างข้อตกลง Brexit ที่รัฐบาลของเธอทำไว้กับผู้นำอียูไปเป็นวันที่ 12 มีนาคม 2562 จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเสนอทางเลือก 2 ประการ ในกรณีที่รัฐสภาอังกฤษไม่อนุมัติร่างข้อตกลงดังกล่าว ดังต่อไปนี้


ประการแรก ขอให้สมาชิกรัฐสภาของอังกฤษทำการลงคะแนนโหวตในวันที่ 13 มีนาคม 2562 เพื่อตัดสินใจว่าจะยอมให้สหราชอาณาจักรออกจากอียูอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2562 โดยไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) หรือไม่ สถานการณ์ No-deal Brexit นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ของอังกฤษเท่านั้น

ประการที่สอง หากว่าสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ของอังกฤษไม่ให้การรับรองสถานการณ์ No-deal Brexit ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 ดังกล่าวข้างต้น สมาชิกรัฐสภาของอังกฤษจะต้องทำการโหวตอีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม 2562 เพื่อเรียกร้องให้มีการเลื่อนกำหนดการ Brexit จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มีนาคม 2562 ออกไปก่อน โดยการขยายเวลาดังกล่าวจะเป็นเพียงช่วงระยะสั้นๆเท่านั้นเพื่อเดินหน้าขอเจรจากับอียูใหม่และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สหราชอาณาจักรต้องมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอียูที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากอียูทั้ง 27 ประเทศก่อน

 

ข้อตกลง no-deal Brexit คืออะไร

หมายถึง ในกรณีที่สหราชอาณาจักรออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลง (no-deal Brexit) ภาคธุรกิจของอียูจำเป็นต้องเตรียมรับมือหากยังคงต้องการทำการค้ากับสหราชอาณาจักรเพื่อสร้างความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากหากไม่มีข้อตกลงที่เรียกว่า Withdrawal Agreement ความหมายคือ สหราชอาณาจักรก็จะกลายเป็นประเทศที่สามต่ออียู ทำให้การค้าระหว่าง สหราชอาณาจักรกับอียูจะเป็นไปตามกฎขององค์การการค้าโลกโดย ไม่มีสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัน’  นับตั้งแต่ 30 มีนาคมเป็นต้นไป โดยมีนัยยะสำคัญดังต่อไปนี้

1.พิธีการทางศุลกากรจะถูกนำมาใช้ การแจ้งยื่นภาษีจะถูกบันทึกไว้และหน่วยงานศุลกากรอาจจะขอหลักประกันสำหรับการมีหนี้สินทางศุลกากรในปัจจุบันหรือในอนาคต

2.ภาษีศุลกากรต้องนำมาใช้กับสินค้าที่เข้ามาในอียูจากสหราชอาณาจักร โดยไม่มีสิทธิพิเศษทางการค้า

3.ข้อห้ามเฉพาะจะนำมาใช้กับสินค้าบางประเภทที่เข้ามาในอียูจากสหราชอาณาจักร ซึ่งหมายความว่าบริษัทจำเป็นต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออกสินค้า

4.ใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

5.การอนุญาตให้ปรับใช้พิธีการศุลกากรที่เรียบง่ายและสอดคล้องกัน อาทิเช่น คลังสินค้าศุลกากรที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

6.การขอเป็นผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO) ที่ออกโดยสหราชอาณาจักรไม่สามารถนำมาใช้กับ 27 ประเทศสมาชิกของอียูได้อีกต่อไป

7.ประเทศสมาชิกจะเป็นผู้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในการนำเข้าสินค้าจากสหราชอาณาจักรมายังอียู

8.กฎระเบียบในการแจ้งยื่นและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (การให้บริการ เช่น บริการอิเล็กทรอนิกส์) และสำหรับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มข้ามแดน (cross-border VAT refunds) จะมีการเปลี่ยนแปลง

9.การเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องมีเอกสารการแจ้งส่งออก การเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิตไปยังสหราชอาณาจักรอาจจำเป็นต้องให้เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า an electronic administrative document (eAD)

10.การเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิต (excise goods) จากสหราชอาณาจักรไปยัง 27 ประเทศสมาชิกของอียูจำเป็นต้องสำแดงและดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรก่อนจะเคลื่อนย้ายได้ตามกฎระเบียบ Excise Movement and Control System (EMCS)

 

Brexit จะส่งผลกระทบกับบริษัทที่เข้าข่าย ดังต่อไปนี้
     
  • บริษัทที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการแก่สหราชอาณาจักร
  •  
  • บริษัทที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากสหราชอาณาจักร
  •  
  • บริษัทที่เคลื่อนย้ายสินค้าผ่านสหราชอาณาจักร
  • Brexit ผลกระทบคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการค้าไทย

    สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับอียูไม่ว่าจะเป็นการส่งออกผ่าน สหราชอาณาจักรเพื่อไปยังอียู การส่งออกผ่านอียูเพื่อไปยังสหราชอาณาจักร หรือการนำเข้าในลักษณะดังกล่าวควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ระบุถึงการแจ้งเตือนในด้านต่างๆ ของการออกจากอียูของสหราชอาณาจักร (Brexit) รวมถึงการดำเนินพิธีการศุลกากรและภาษี และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ผู้ประกอบการในอียูสามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หอการค้า หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ

    ในด้านของผลกระทบโดย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าผลกระทบจาก Brexit ต่อไทยอาจประเมินได้ใน 3 ด้าน คือ

    1.ด้านภาพรวมการค้า Brexit น่าจะมีผลกระทบต่อภาพรวมการค้าไทยไม่มาก เนื่องจากในช่วงแรกกฎระเบียบของสหราชอาณาจักรต่อประเทศที่สามน่าจะยังยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากความต้องการซื้อที่ลดลงของสหราชอาณาจักร เนื่องจากการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์

    2.ด้านสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่อียูมีการกำหนดโควตาภาษีกับไทยในปัจจุบัน เช่น สัตว์ปีกแช่เย็นและแช่แข็ง มันสำปะหลัง และข้าวนั้น เมื่อสหราชอาณาจักรออกจากอียูจะต้องมีการแบ่งโควตาภายใต้องค์การการค้าโลกระหว่างอียูกับสหราชอาณาจักร ไทยจึงต้องเร่งเจรจากับทั้งสองฝ่ายเพื่อไม่ให้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดที่เคยได้ในตลาดทั้งสอง อย่างไรก็ตาม การที่สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูทำให้ต้องเร่งหาพันธมิตรทางการค้าใหม่ๆ จึงเพิ่มโอกาสของไทยในการเจรจาความตกลงทางการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหราชอาณาจักร หากมีการเจรจาในเวลาที่เหมาะสม

    3.ด้านการลงทุน เป็นโอกาสที่ดีที่จะชักชวนนักลงทุนสหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และในสาขาที่สหราชอาณาจักร มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การบินและโลจิสติกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิทัล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานภาคอุตสาหกรรมของไทย และการใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค

    ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าลำดับที่ 18 ของไทย และอันดับที่ 2 จากอียู ปี 2560 มีมูลค่าการค้าประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.53 ของการค้าทั้งหมดของไทย ดังนั้นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องคงต้องจับตาผลกระทบครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจากแนวโน้มและนักวิเคราะห์ต่างประเทศเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่อง  Brexit รอบนี้ คาดว่าจะรุนแรงกว่า Grexitหลายเท่าตัว แต่นี้ยังคงเป็นการประเมินต้นไตรมาส 2 คาดว่าจะเห็นภาพชัดขึ้น


    แต่อย่าเพิ่งไปประเมินในแง่ร้ายมากนัก เพราะดูจากท่าทีของอังกฤษที่ยังคงลังเล เป็นไปได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว Brexit อาจจะต้องเลื่อนออกไปหรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดคุยในรัฐสภาอังกฤษมากขึ้นถึงการเสนอให้มีการลงประชามติอีกครั้งว่าสหราชอาณาจักรยังคงต้องการออกจากอียูอีกหรือไม่ เรื่องคงยังไม่จบแค่นี้ติดตามกันต่อไป
    Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

     

    Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
    สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


    Related Article

    Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

    Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

    กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
    pin
    5 | 17/04/2025
    สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

    สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

    แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
    pin
    5 | 16/04/2025
    ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

    ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

    Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
    pin
    7 | 11/04/2025
    Brexit : สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังอังกฤษถอนตัวจากสหภาพอียู