ฝันสลาย...ยานยนต์ไฟฟ้าไทย เดินมาถึงทางตัน

SME Update
18/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1399 คน
ฝันสลาย...ยานยนต์ไฟฟ้าไทย เดินมาถึงทางตัน
banner
จากช่องโหว่ของมาตรการส่งเสริม ยานยนต์ไฟฟ้า EV ในระยะแรก ที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ HEV/PHEV โดยไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Vehicles) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ
ประเด็น คือ ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กลับพบว่า การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีปัญหาใน 3 ประเด็นหลักคือ

1.ร้อยละ 79.8 ของรถยนต์ทุกคันเป็นการลงทุนผลิต ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle –HEV) HEV ที่ไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ จึงไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้ไปสู่ BEV ในอนาคตได้

2.ร้อยละ 91.8 ของรถยนต์ที่ทุกบริษัทเสนอขอรับการสนับสนุน ไม่มีการลงทุนใน Core Technology ของยานยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทยเลย โดยเป็นการประกอบขั้นปลายสุด คือ ประกอบตัวถังและทดสอบแบตเตอรรี่ ขณะที่เป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนEV คือการผลักดันให้ไทยสามารถบรรทุกเป้าหมายศูนย์การการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งการเป็นแหล่งประกอบ กับการผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยี ย้อนแย้งกันอย่างชัดเจน

3.รถยนต์ทุกคันที่ทุกบริษัทเสนอขอรับการสนับสนุน มีราคาสูงกว่าที่ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ คือ ราว 1-6 ล้านบาท ซึ่งย่อมจะทำให้จะไม่แพร่หลายหรือมีขนาดการผลิตที่เพียงพอสำหรับการลงทุนผลิต Core Technology ของ EV ในประเทศไทย

ยานยนต์ไฟฟ้า EV

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการประชุม 3 ค่ายรถยนต์ และ 1 ตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ในประเทศไทย คือ Toyota Honda และ Nissan และบริษัทผู้จัดจำหน่ายรถปิกอัพ 1 ราย คือ ตรีเพรชอิซูซุ เพื่อเปิดรับฟังข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหามาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าระยะแรก หวังยกระดับให้ไทยเป็นฐานที่มั่นการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

โดยรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ HEV/PHEV โดยไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Vehicles) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ

ดังนั้น สศอ. จึงได้นำเสนอมาตรการในการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ “Core Technology” ของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ในราคาประหยัด และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) หรือเรียกว่า “อีโค่อีวี (ECO EV)”

มาตรการ ECO EV มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ

1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปรับพลิกโฉมฐานการผลิตรถยนต์ ECO Car ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งหลักของประเทศไทย ซึ่งถูกกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการภาษีสรรพสามิตของการส่งเสริม EV ระยะแรก  และ

2.เพื่อปิดจุดอ่อนของมาตรการส่งเสริม EV ในรอบแรก ตามรายละเอียดในข้างต้น

โดยแนวทางดังกล่าวได้มีการหารือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ ที่รอรับการส่งเสริมการลงทุนรถ EV จากBOI  ซึ่งมีการเสนอแนวทางในการปรับโครงการการลงทุนของแต่ละบริษัท เพื่อให้ไม่เป็นเพียงโครงการประกอบ HEV ขั้นสุดท้ายดังที่เสนอมาในปัจจุบัน แต่จะเพิ่มให้มีการลงทุนเพื่อพยายามตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อข้างต้น คือ


ภายหลังการเสนอแนวทางในการปรับโครงการการลงทุนของแต่ละบริษัท เพื่อให้ไม่เป็นเพียงโครงการประกอบ HEV ขั้นสุดท้าย ซึ่งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขอกลับไปหาแนวทางประมาณ 1 เดือน ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุด คำตอบคือ

“บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ไม่มีข้อเสนอที่จะตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อ ในการแก้ปัญหามาตรการ EV ระยะแรกได้ โดยเห็นว่า ในช่วง 6 ปีนี้ ภาครัฐยังไม่ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ควรรอให้มาตรการภาษีสรรพสามิตจบลงในปี 2568 ก่อน จึงควรหามาตรการแก้ไขต่อไป”

โดยหลังจากนี้ ก็น่าติดตามว่าประเทศไทยและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะเดินออกจากข้อติดขัดของการพัฒนารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านี้ร่วมกัน หรือไม่อย่างไร เพราะมองกันคนละมุม รับอยากให้ลงทุน EV core technology ซึ่งคือการวางเดิมพันอนาคตของยานยนต์ในประเทศไทย

ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ ยังไม่มีความเชื่อมั่นมากพอที่จะโหมลงทุน EV core technology ขนาดนั่น ส่วนประเด็นการทำ ECO EV เพื่อการเข้าถึงได้ก็ไม่แน่ว่าจะดีนัก นอกจากปริมาณแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้าคุณภาพต่ำจะหลั่งไหลและมาเป็นขยะพิษในประเทศไทยแล้ว เอกชนเองก็รับไม่ได้ที่ต้องทำการตลาดแข่งกับผลิตภัณฑ์รถยนต์ ECO เดิมที่ยังมีไลน์ผลิตอยู่

จะบอกว่า EV ในไทยมาถึงทางตันก็ไม่เชิง เพียงแต่มันไม่ใช่หนทางที่ราบรื่นนักสำหรับประเทศไทย
 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1232 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1591 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1877 | 25/01/2024
ฝันสลาย...ยานยนต์ไฟฟ้าไทย เดินมาถึงทางตัน