สินค้าส่งออกที่สำคัญที่ประเทศไทยส่งออกไปแคนนาดา ได้แก่ สินค้าอาหาร ทะเลกระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้าว กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ และ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าการค้าต่อปีประมาณ 3.3พันล้านดอลลาร์สหารัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ จากรณีประเทศแคนาดาออกประกาศศุลกากรฉบับใหม่โดยหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของแคนาดา (Canadian Food Inspection Agency) หรือ CFIA ได้ออกประกาศศุลกากรที่ 19-01 กำหนดให้การนำเข้าสินค้าอาหาร รวมถึงเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ทั้งหมดไปแคนาดา จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (Safe Food for Canadian license : SFC license) โดยกำหนดเงื่อนไขการบังคับใช้เอาไว้ 3 ช่วง เพื่อผู้นำเข้าได้ปฏิบัติ และจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จึงเป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกไทยต้องติดตามอย่างไกล้ชิด
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
ภายใต้ประกาศดังกล่าว ได้กำหนดการดำเนินการในช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดให้ในการนำเข้าเนื้อ ปลา ไข่ ผักและผลไม้สด ผักและผลไม้แปรรูป นม เมเปิ้ล และน้ำผึ้ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (SFC licence)
กรณีที่สินค้าดังกล่าวได้ใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนเพื่อประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ไว้แล้วสามารถใช้เอกสารหลักฐานดังกล่าวในการนำเข้าต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุ และเมื่อหมดอายุแล้วผู้นำเข้าสินค้าเหล่านี้จะต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า ประกอบด้วย
1.ใบอนุญาตการขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการเนื้อสัตว์
2.ใบอนุญาตโปรแกรมการจัดการคุณภาพสำหรับผู้นำเข้าปลา
3.ใบอนุญาตการนำเข้าปลา (Basic)
4.ใบอนุญาตการนำเข้าชีส (Cheese)
5.การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการนม
6.การขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการโรงงานผลิต
7.การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการน้ำผึ้ง
8.การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการเมเปิ้ล และ
9.การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูป
ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2563 เป็นต้นไป กำหนดให้การนำเข้าสินค้าเนื้อ ปลา ไข่ ผักและผลไม้สด ผักและผลไม้แปรรูป นม เมเปิ้ล และน้ำผึ้ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ ต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า เว้นแต่จะได้รับการยกเว้น และช่วงที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป กำหนดให้การนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ทั้งหมด ต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า เว้นแต่จะได้รับการยกเว้น
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นในการขอ SFC licence จะไม่บังคับใช้กับอาหารบางประเภท ได้แก่
1.อาหารที่ถูกนำเข้ามาซึ่งเป็นสินค้าส่วนตัวของผู้อพยพ
2.อาหารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ การประเมินผล การวิจัย โดยอาหารจะต้องมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมหรือน้อยกว่าในการขนส่ง
3.อาหารที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการขายเพื่อการบริโภคของมนุษย์ เป็นต้น ทั้งนี้ การนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มนั้นยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ CFIA ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพสัตว์ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช และระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกฎหมายอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออก ต้องศึกษาระเบียบดังกล่าวให้ดี และหารือผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.cbsa-asfc.gc.ca ของกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้อย่างไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย
อ้างอิง : กรมการค้าต่างประเทศ
Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333