กระแสยุโรป ‘“no palm oil’ และการตอบโต้ของมาเลย์

SME Update
31/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2958 คน
กระแสยุโรป ‘“no palm oil’ และการตอบโต้ของมาเลย์
banner
ท่านที่ติดตามข่าวสารด้านการค้าต่างประเทศคงเคยทราบกระแสต่อต้านน้ำมันปาล์มในอียูมาบ้าง ทั้งปฏิกิริยาของมาเลเซียต่อกระแสต่อต้านน้ำมันปาล์มในยุโรป ซึ่งเป็นกระแสดราม่าเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2558  ก่อนอื่นเราเท้าความกันก่อนว่ามันมีประเด็นอะไรบ้าง

จากกรณีที่บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน มาเลเซียและอินโดนีเซียซึ่งถูกยกให้เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งนำเข้าน้ำมันปาล์มจากทั้งสองประเทศนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ พลังงาน เครื่องสำอาง หรือการแปรรูปอาหาร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme


กระแส “no palm oil” เกิดขึ้นในปี 2558 โดยสภาที่ปรึกษาด้านสุขภาพของเบลเยียม (Belgian Superior Health Council) ได้ออกรายงานด้านวิทยาศาสตร์ว่า น้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัว (saturated fat) ซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจ ส่งผลให้ในฝรั่งเศสและเบลเยียมมีการติดฉลาก “no palm oil” หรือ “palm oil-free” บนสินค้าอย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นโดยนัยว่า สินค้านั้นๆ ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  แต่ในที่สุดแล้วศาลในเบลเยียมได้ตัดสินให้แนวปฏิบัติดังกล่าวผิดกฎหมาย เพราะเป็นการชักจูงผู้บริโภคให้เข้าใจผิดว่า หากไม่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มจะดีต่อสุขภาพ (health claim) หรือมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า (nutrition claim)

ไม่เพียงแค่นั้น มีกระแสต่อต้านน้ำมันปาล์มขึ้นมาใหม่ โดยมุ่งไปที่น้ำมันปาล์มที่นำมาใช้สำหรับเชื้อเพลิง โดยเฉพาะที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงยานยนต์ จากกระแสกังวลว่า  การปลูกน้ำมันปาล์มในเชิงอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าอย่างกว้างขวาง

ต่อด้วยองค์กร NGOs ได้เริ่มการรณรงค์ให้อียูยกเลิกการใช้น้ำมันปาล์มที่นำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ด้วยเหตุว่าความพยายามส่งเสริมพลังงานทางเลือกในรูปของเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuels) กลับกลายเป็นการส่งเสริมให้เกิดการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่า และอีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เพราะเกษตรกรอาจเลือกที่จะปลูกพืชพลังงานแทนการปลูกพืชอาหารนั่นเอง

รวมทั้ง รัฐบาลเยอรมนีได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการรับรองแหล่งที่มีของการผลิตน้ำมันปาล์มที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมาตรการกีดกันผู้ส่งออกที่ละเลยการผลิตที่ยั่งยืน โดยมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นสองประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎดังกล่าว


ขณะที่ในปี  2560 สภายุโรป (European Parliament) ได้ออกข้อมติเรียกร้องให้ ยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันพืช ที่ส่งผลให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากต้นปาล์ม ถั่วเหลือง ข้าวโพด และเรพซีด ภายในปี 2563 และเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบย้อนกลับมากขึ้น เช่น การใช้มาตรฐาน CSPO (Certified Sustainable Palm Oil) เพื่อรับรองการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อชุมชน ตามมาตรฐานจาก Round Table on Sustainable Palm Oil (RSPO) เป็นมาตรฐานบังคับ เพียงมาตรฐานเดียว และการกำหนดพิกัดศุลกากรใหม่สำหรับน้ำมันปาล์มที่ได้รับรองมาตรฐาน CSPO และการใช้กลไกทางภาษีสำหรับสินค้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มโดยเฉพาะ

มาเลย์ประกาศกร้าวตอบโต้อียู ออกมาตรการที่ไม่เป็นธรรม

ยิ่งทวีความร้อนแรงต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบร่างกฎเกณฑ์เพิ่มเติม (Delegated Act) เรื่องการประเมินความเสี่ยงของเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยจัดให้เชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทําลายป่าในช่วงวันที่ 19-21 มีนาคม 2562

ด้วยเหตุนี้ท่าทีของ นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย ซึ่งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมาเลเซียหลายฉบับ ได้ลงข่าวสรุปสาระสำคัญได้ว่า รัฐบาลมาเลเซียจะพิจารณาตอบโต้สหภาพยุโรป หากมีมาตรการที่ไม่เป็นธรรมต่อสินค้าน้ำมันปาล์ม โดยได้มีหนังสือแจ้งผู้นําประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อชี้แจงความจําเป็นที่มาเลเซียอาจจะต้องดําเนินมาตรการตอบโต้สหภาพยุโรปแล้ว

โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม 2562 นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้มีหนังสือถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส แจ้งว่ามาเลเซียจะพิจารณาระงับการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างมาเลเซียกับสหภาพยุโรปและจะออกมาตรการกีดกันสินค้านําเข้าจากฝรั่งเศสเพื่อตอบโต้การที่สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสได้มีมติถอดน้ำมันปาล์มออกจากรายการเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้รับแรงจูงใจทางภาษี โดยจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2563

รวมถึงที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องข้างต้นเป็นระยะ ๆ โดยเน้นว่า

1.การต่อต้านการใช้น้ำมันปาล์มจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวมาเลเซียกว่า 2 ล้านคนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

2.การห้ามใช้น้ำมันปาล์มขัดกับหลักการของ WTO เนื่องจากไม่มีพืชน้ำมันประเภทอื่นตกเป็นเป้าเหมือนน้ำมันปาล์ม

3.ข้ออ้างที่ว่าน้ำมันปาล์มเป็นสาเหตุหลักของการทําลายป่าไม่มีมูลความจริงและมีงานวิจัยระบุว่ามีสินค้าประเภทอื่นที่ส่งผลต่อการทําลายป่าสูงกว่าน้ำมันปาล์ม

4.มาเลเซียมีพื้นที่ป่าร้อยละ 55.3 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าที่ได้ให้คํามั่นไว้ในการประชุม Rio Earth Summit 1992 และมาเลเซียมุ่งเน้นการผลิตน้ำมันปาล์มโดยคํานึงถึงความยั่งยืน

เดือนที่ผ่านมามีการประท้วงของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้อุทยานแห่งชาติ Mulu รัฐ Sarawak ของมาเลเซีย เพื่อต่อต้านบริษัทเพาะปลูกปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งกำลังตัดต้นไม้เพื่อเตรียมการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 มีรายงานว่าทางการมาเลเซียได้มีคำสั่งระงับใบอนุญาตตัดไม้ของบริษัทในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว แต่มาตรการของอียูที่ประกาศยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นับเป็นขวากหนามกั้นน้ำมันปาล์มมาเลเซียเข้าตลาดอียู

no palm oil

โอกาสของไทย...หรือระเบิดเวลา

ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตปาล์มเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีผลผลิตปาล์มน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 11-13 ล้านตัน/ปี แต่สามารถสกัดเป็นน้ำมันปาล์มได้เพียง 1.8 ล้านตัน/ปี ทั้งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ เมียนมา กัมพูชา จีน ลาว และบังกลาเทศ เป็นหลัก และส่งออกมายังอียูน้อยมาก โดยมีตลาดหลักในอียู คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อปี 2559 ไทยส่งออกน้ำมันปาล์มมายังอียูรวมมูลค่าเพียง 11,108 บาท เท่านั้น และไม่ได้ส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มไปยังตลาดอียูเลย

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ เพราะน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบในสินค้าอุปโภคและบริโภคหลายชนิด เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนยเทียม ไอศกรีม นมข้นหวาน สบู่ เครื่องสำอาง และผงซักฟอก ซึ่งมีการส่งออกไปยังที่ต่างๆ รวมทั้งมายังอียูด้วย

นอกจากความพยายามในการลดการใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มข้างต้นแล้ว อียูยังต้องการให้น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันจากพืชอื่นๆ มาจากการปลูกและผลิตอย่างยั่งยืน ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวในอียูเกี่ยวกับมาตรการต่อน้ำมันปาล์มต่อไป รวมถึงผลกระทบต่อน้ำมันจากพืชประเภทอื่นๆ ด้วย เพราะก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า ในอนาคตน้ำมันจากพืชชนิดอื่นๆ ก็อาจต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืนเช่นเดียวกับน้ำมันปาล์ม และปัญหาของมาเลเซีย ในวันนี้อาจเป็นปัญหาของไทยในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นต้องมีแนวทางรับมือ

อ้างอิง :  กรมยุโรป กระทรวงต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1056 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1401 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1677 | 25/01/2024
กระแสยุโรป ‘“no palm oil’ และการตอบโต้ของมาเลย์