สำรวจต้องการแรงงานในไตรมาส 1 ปี 2562

SME Update
01/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1599 คน
สำรวจต้องการแรงงานในไตรมาส 1 ปี 2562
banner
1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ แต่เดิมในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” หรืออีกชื่อเรียกว่า วันกรรมกรสากล สืบทอดมาจากวัฒนธรรมการทำงานอันเหน็ดเหนื่อยในภาคเกษตรของเกษตรกรในยุโรป วันแรงงานที่มีปีละครั้งจึงไว้สำหรับการเฉลิมฉลอง ต่อมาด้วยการเติบโตในภาคอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานเข้มข้นขึ้น บทบาทของแรงงานก็ตั้งแต่การเป็นแรงงานเข้มข้น ไปจนถึงแรงงานระดับกำหนดแผนงาน ยุคสมัยผ่านไป ความต้องการแรงงานในภาคต่างๆ ปรับเปลี่ยนไปโดยบริบทแรงงานสายอาชีพ และไอที ยังคงเป็นบุคลากรที่มีความต้องการสูงใน ตลาดแรงงานไทย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

อย่างไรก็ตาม แม้ยุคสมัยเปลี่ยนไปแรงงานสายอาชีพก็ยังคงไม่พอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า การที่ประเทศไทยจะหนีจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศกำลังพัฒนาอันยาวนานนี้ได้และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าและบริการให้มากขึ้นด้วยการวิจัยและพัฒนาการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยมากขึ้น จำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เป็นของคนไทยให้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนประเทศไทยต้องเพิ่มผลิตภาพหรือคุณค่าในตัวสินค้าที่เป็นของคนไทยให้มากขึ้น

การจะทำเช่นนี้ได้ประเทศไทยจะต้องลดสัดส่วนของการใช้ผู้จบการศึกษาในระดับ ม. ต้น (หรือต่ำกว่า) ซึ่งเป็นแรงงานระดับล่างให้น้อยลงและพยายามปรับปรุงอุปสงค์ต่อผู้ที่มีการศึกษาในระดับกลางคือ ม. ปลาย รวมถึง ปวช. ให้มากขึ้น เนื่องจากมีข้อสมมติฐานในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่า การศึกษาในระดับนี้ฝึกอบรมเพิ่มทักษะได้ง่ายสามารถปรับตัวกับกระบวนการผลิตได้ดีกว่า

ทั้งนี้มาดูที่ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันโดย รายงานของ จ๊อบไทย (JobThai) ได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ฐานข้อมูลงาน เพื่อรายงานสถานการณ์ความต้องการแรงงานทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ประจำปี 2562 พบว่า 5 กลุ่มธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด ได้แก่

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 13,014 อัตรา และ ธุรกิจบริการ จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 9,671 อัตรา ทั้งสองธุรกิจนี้เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากการที่ภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว รวมถึงมีการใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปีที่แล้วและส่งผลดีมาถึงช่วงต้นปีนี้ ประกอบกับนักท่องเที่ยวจากหลากหลายชาติมีเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากนักท่องเที่ยวชาวจีน รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยก็ขยายตัวทั้งในจังหวัดหลักและจังหวัดรอง

ธุรกิจยานพาหนะ/ชิ้นส่วนยานยนต์ จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 10,020 อัตรา สืบเนื่องจากประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังได้รับอานิสงส์มาจากการย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์จากจีนกลับมาที่ไทย เนื่องจากเหตุผลด้านต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านคุณภาพสินค้าที่ผลิตในจีน

ธุรกิจค้าปลีก จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 8,594 อัตรา ได้แรงหนุนมาจากการลงทุนจากภาคเอกชน เช่น การขยายสาขาของกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่ ประกอบกับการเติบโตสูงของร้านค้าปลีกออนไลน์และนโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ช่วยผลักดันการใช้จ่ายภาคครัวเรือนให้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจก่อสร้าง จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 8,463 อัตรา โดยภาพรวมเติบโตต่อเนื่องจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้มและสีชมพู รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และการก่อสร้างโครงการภาคเอกชนขนาดใหญ่

ตลาดแรงงานไทย


ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้งานโยธา/ก่อสร้างมีอัตราความต้องการแรงงานเติบโตมากที่สุดเป็นผลมาจากแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงการผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตลอดจนการขยายตัวของโครงการก่อสร้างภาคเอกชนอย่างอาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวก็ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคการผลิตมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตที่ขยายตัว ทำให้แรงงานด้านช่างเทคนิคมีความต้องการที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันก็มีการนำเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ จึงทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี-คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น รวมถึงในภาคเอกชนก็มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี-คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล

อย่างไรก็ตามเมื่อมาดูอุปสงค์ด้านแรงงานที่แท้จริงสำหรับงานที่เปิดรับสมัครมากที่สุดในไตรมาสแรกปีนี้สรุปว่า งานขายยังคงนำมาเป็นอันดับแรกสืบเนื่องมากหลายปี ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญของทุกองค์กร รองลงมาคือช่างเทคนิคและผลิต/ควบคุมคุณภาพที่สอดรับการกับขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่เมื่อดูลักษณะอาชีพปรากฏว่า งานที่เปิดรับมากที่สุดยังเป็นสายอาชีพเป็นหลัก


นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ยังเผยให้เห็นข้อมูลของ 3 ประเภทงานที่มีความต้องการแรงงานเติบโตมากที่สุดในช่วงไตรมาส 1 ประจำปี 2562 คือ โยธา/ก่อสร้าง เติบโตเฉลี่ยคิดเป็น 11.69%  ตามมาด้วย ช่างเทคนิค คิดเป็น 4.09%  และ คอมพิวเตอร์/ไอที คิดเป็น 3.21%

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้งานโยธา/ก่อสร้างมีอัตราความต้องการแรงงานเติบโตมากที่สุดเป็นผลมาจากการลงทุนในโครงการที่อยู่ในพื้นที่อีอีซี โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ การลงทุนดังกล่าวนั้นยังส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคการผลิตมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตที่ขยายตัว ทำให้แรงงานด้านช่างเทคนิคมีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย

ในขณะเดียวกันก็มีการนำเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ จึงทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี-คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น รวมถึงในภาคเอกชนก็มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี-คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล

ถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่าเทรนด์อาชีพที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการประกอบอาชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เงินเดือน ขณะที่ในมุมของผู้ประกอบการ การเฟ้นหาบุคลากรเพื่อสร้างผลิตภาพให้ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่เรื่อง่าย ดังนั้นการฝึกฝนจากภายในเพื่อให้บุคลากรที่มีอยู่แล้วสามารถพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วย ก็ วิน วินกันทั้งสองฝ่าย ขอให้มีความสุขในวันแรงงาน ...เมย์เดย์
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1231 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1591 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1876 | 25/01/2024
สำรวจต้องการแรงงานในไตรมาส 1 ปี 2562