เกาะกระแสการแอนตี้พลาสติกและโอกาสของ SMEs

SME Update
06/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3707 คน
เกาะกระแสการแอนตี้พลาสติกและโอกาสของ SMEs
banner

เชื่อว่าผู้อ่านทราบเมกะเทรนด์เกี่ยวกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular economy หมายถึง แนวคิดเกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่ถูกนำไปใช้แล้วให้กลับมาแปรรูปและนำกลับไปใช้ได้อีกในอนาคต เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินขนาดจากการขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นของประชากรโลก และปัญหาการจัดการ ขยะพลาสติก

ในที่นี้เรามาลงลึกถึงเทรนด์ในการลดใช้พลาสติกและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ซึ่งกำลังฮิตมากโดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ในเอเชียอย่างที่ญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก ขณะที่ประเทศในเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกระบุว่าเป็นภูมิภาคที่ผลิตขยะมากที่สุด(สาเหตุมาจากอาเซียนเป็นฐานการผลิตสินค้าของโลก)โดยงานวิจัยจาก Ocean Conservancy ระบุว่าขยะพลาสติกกว่า 55-60% ของทั้งโลกเกิดจากตลาด 5 ประเทศคือ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ถึงขนาดที่บริษัทชั้นนำระดับโลกลงขันกันเพื่อวางแนวทางในการจัดการขยะในภูมิภาคนี้กันเลยทีเดียว

EU เห็นชอบข้อบังคับสำหรับพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

ขยะพลาสติก

ผู้ประกอบการรู้ยัง? ไทยก็มี Roadmap การจัดการขยะพลาสติก

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่17 เม.ย.ที่ผ่านมา มีมติรับทราบ (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายการบริหารจัดการขยะพลาสติกในภาพรวมของประเทศ โดยคาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3.9 พันล้านบาทต่อปี โดย Roadmap แบ่งเป็น 2 เป้าหมาย


เป้าหมายที่ 1

ภายในปี 2562 (ปีนี้)จะให้เลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ประกอบด้วย พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม, พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และพลาสติกผสมไมโครบีดส์

ภายในปี 2565 อีก 4 ชนิด คือพลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร, หลอดพลาสติก ที่มีข้อยกเว้นสำหรับใช้กับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว


เป้าหมายที่ 2

ภายในปี 2570 โดยจะมีการศึกษาและกำหนดเป้าหมายในส่วนที่จะนำกลับมาใช้ประโยชน์ ขณะที่ของเสียจะถูกนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยแผนปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 มาตรการ 

  • มาตรการลดการเลิกขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยจะมีการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
  • มาตรการ ลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยขับเคลื่อนการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 
  • มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค โดยจะมีการส่งเสริม สนับสนุนการนำขยะพลาสติกเข้าสู่การนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์

 

มาเลเซียก็มี Roadmap แอนตี้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 

รวมทั้งประเทศเพื่อบ้านอย่างมาเลเซียก็มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อแทนที่พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและกำจัดมลภาวะจากพลาสติกในประเทศมาเลเซีย Roadmap Towards Zero Single-Use Plastics 2018-2030

โดยตั้งแต่ปี 2562 นี้เป็นต้นไป ร้านค้าในมาเลเซียจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ถุงพลาสติก และหลอดดูดน้ำจะให้เฉพาะเมื่อมีการร้องขอเท่านั้น และหลังจากนั้นในเฟส 2 จะกระจายการใช้ถุงชีวภาพให้ทั่วทั้งประเทศและหารือกับประเทศใกล้เคียงเรื่องเศษขยะพลาสติกในทะเล สุดท้ายในเฟส 3 จะกำจัดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวให้หมดไปด้วยการเพิ่มการผลิตสินค้าที่ย่อยสลายได้มาทดแทน

เรื่องนี้หากผู้ประกอบการไม่เตรียมตัวอาจส่งผลกระทบได้ ทั้งต้นทุนของผู้ประกอบการในธุรกิจขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากต้องหาวัตถุดิบชนิดใหม่มาใช้ทดแทนพลาสติกของเดิมที่ถูกยกเลิกไป และจำเป็นต้องใช้งานได้เทียบเคียงวัสดุเดิมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ต้นทุนการผลิตหลอดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองจะสูงกว่าต้นทุนหลอดพลาสติกแบบดั้งเดิมอยู่ราว 1 เท่า

ขณะที่การห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือ single-use plastic สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้เช่นกัน อาทิ ธุรกิจการรีไซเคิล การผลิตพลาสติกชีวภาพ ซึ่งในที่นี้เรามีเทรนด์ตลาดที่เกิดขึ้นแล้วมายกตัวอย่างให้เห็นภาพ อาทิเช่น


เกิดดีมานด์หลอดกระดาษเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

ร้านอาหารและร้านกาแฟจำนวนมากกำลังพยายามทำตามเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อมโดยการหาวัสดุแทนที่การใช้งานหลอดพลาสติก ซึ่งทำให้หลอดกระดาษได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยรายงานล่าสุดจาก Transparency Market Research ระบุว่าความต้องการหลอดกระดาษจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และจะเติบโตที่ 13.8% ต่อปีไปเรื่อย ๆ ในช่วงระหว่างปี 2019-2027 ซึ่งถึงแม้ว่าตลาดหลอดพลาสติกเองก็ได้มีการเติบโตสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ความต้องการหลอดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการภาครัฐที่แบนการใช้หลอดพลาสติกนั้นจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมหลอดกระดาษ

ขณะที่หลอดพลาสติกได้ถูกสั่งห้ามใช้ด้วยกฎหมายในหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา อาทิ เมืองซานฟรานซิสโกและเมืองซีแอตเทิล โดยในรัฐแคลิฟอร์เนียได้กำหนดให้ร้านอาหารไม่ให้หลอดพลาสติกแก่ลูกค้าโดยอัตโนมัติ แต่จะต้องให้ลูกค้าเป็นผู้ร้องขอ หรือต้องใช้หลอดชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติก และเชื่อหรือไม่ว่าในสหรัฐอเมริกานั้นมีการทิ้งหลอดพลาสติกกว่า 500 ล้านหลอดต่อวัน

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ผู้ประกอบการควรใส่ใจและรอบคอบ เพราะปัจจุบันเทรนด์การให้บรรจุภัณฑ์กระดาษหรือผลิตภัณฑ์กระดาษกับพลาสติกยังเป็นที่กังขา เช่น

รายงานการศึกษาหลายฉบับพบว่าหลอดกระดาษนั้นไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไปซึ่งอาจจะส่งผลต่อตลาดได้ในอนาคตเมื่อมีความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อดีของหลอดกระดาษคือการที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยหลอดกระดาษที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลนั้นใช้น้ำในการผลิตน้อยกว่าหลอดที่ผลิตจากเยื่อไม้โดยตรง อย่างไรก็ตามหลอดกระดาษรีไซเคิลต้องใช้คลอรีนในการฟอกสีกระดาษซึ่งอาจจะทำให้มีรสชาติที่ไม่ดีได้

อีกข้อเสียของหลอดกระดาษคือต้นทุนที่สูงกว่าหลอดพลาสติกรวมถึงสารเติมแต่งหลายตัวที่จำเป็นสำหรับการทำให้หลอดกระดาษมีความแข็งแรงมากพอ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจะกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจหลอดกระดาษได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ผลิตใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสภาพแล้วล้อมเช่น การผลิตหลอดจากสาหร่ายทะเล ที่ทำงานได้ดีกว่าหลอดกระดาษเนื่องจากจะไม่เปื่อยได้ง่ายเท่า นอกจากนี้หลอดสาหร่ายทะเลนี้ให้ความรู้สึกเหมือนพลาสติกและมีรสชาติกลาง ๆ ที่สำคัญ ไม่เค็มเหมือนสาหร่ายทะเล

จะเห็นได้ว่าแค่เทรนด์เรื่องหลอดๆ นี่ก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกแข่งกันพัฒนาเพื่อให้สามารถทดแทนหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง


ตลาดพลาสติกชีวภาพจะร้อนแรงทั่วโลก

อย่างที่กล่าวในข้างต้น กระแสความต้องการพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ง่ายกำลังเป็นที่ต้องการของตลพาดทั่วโลก โดย  Market Analyst ได้รายงานว่าตลาดของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพจะเติบโตจนมีมูลค่ากว่า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2023 จากปัจจุบันที่ 2,960 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 ที่ผ่านมา โดยพลาสติกชีวภาพประกอบด้วยพลาสติกที่ผลิตจากแหล่งวัตถุดิบจากพืชเช่น อ้อย มัน แป้งข้าวโพด และอื่น ๆ แทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งพลาสติกชีวภาพช่วยลดการใช้ปิโตรเลียมและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื่องจากเป็นวัสดุอินทรีย์

โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของตลาดพลาสติกชีวภาพคือความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การมีแหล่งวัตถุดิบที่เพียงพอ และนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมใช้พลาสติกชีวภาพ ซึ่งการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการเติบโตของตลาดนี้

ข่าวดีคือ ที่ผ่านมามีนักวิจัยไทยหลายรายมีงานวิจัยเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นมูลค่าต่ำ ที่นำไปใช้เป็นเม็ดพลาสติกชีวภาพได้ คุณภาพพอๆ กับเม็ดพลาสติกชีวภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งได้มีหน่วยงานเอกชนนำมาต่อยอดและทำการตลาดในต่างประเทศ จนสามารถมีตลาดส่งออกในต่างประเทศ

สรุปคือ เทรนด์การแอนตี้พลาสติกและการส่งเสริมพลาสติกชีวภาพ วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือวัสดุอย่างอื่นที่ย่อยสลายได้ง่ายและเป็นมิตรต่อโลกจะได้รับความนิยมและร้อนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งเห็นได้จากมาตรการทางการค้าของหลายๆ ประเทศในยุโรปก็มีการกีดกันผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกแบบไม่ย่อยสลายอย่างชัดเจน  ขณะที่สถานประกอบการก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เป็นไปตามกระแสของสังคมโลก ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการSMEsที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ เทรนด์รักษ์โลกนี้กำลังมาแรง


เอาง่ายๆ เฉพาะแค่หลอดไม้ไผ่ ที่ใช้ทดแทนหลอดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวก็เริ่มขายดีในบ้านเรา เพราะกระแสงดใช้หลอดพลาสติก จากคลิปช่วยเต่าทะเลโดนหลอดดูดน้ำติดรูจมูก ซึ่งเป็นภาพการช่วยเหลือสุดเวทนา ผู้ชมก็ยิ่งรู้สึกถึงความโหดร้ายของพลาสติกที่ถูกทิ้งในทะเลและไม่มีวันย่อยสลาบ นี่ถือว่าเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ยังพอมีเวลาที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลง

อ้างอิง : สถาบันพลาสติก  http://plastic.oie.go.th

Circular Economy วิถีเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน

หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
เกาะกระแสการแอนตี้พลาสติกและโอกาสของ SMEs