มองจีน-มองไทย ช่องว่างระหว่างวัยในบริบทเดียวกัน

SME in Focus
30/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1853 คน
มองจีน-มองไทย ช่องว่างระหว่างวัยในบริบทเดียวกัน
banner

เชื่อหรือไม่ว่า การสืบทอดธุรกิจครอบครัวเกิดความล้มเหลว ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจาก ทัศนคติ รูปแบบความเชื่อ ของคนที่มีช่วงอายุต่างกัน เราเรียกรวมๆ ว่า ‘ช่องว่างระหว่างวัย’


หมายถึงคนในช่วงวัยหนึ่ง มีชุดความเชื่อ ทัศนคติ แตกต่างจากคนอีกช่วงวัยหนึ่ง ที่เกิดในยุคสมัยที่แตกต่างกัน เชื่อต่างกัน เห็นต่างกัน บางครั้งแค่ไม่ลงรอยกัน บางขณะก็ถึงขั้น ‘เกลียดชังกัน’


เริ่มรู้สึกแล้วใช่มั้ยว่ามันมีความสำคัญมากแค่ไหน


ตัวอย่างที่สะท้อนเรื่องช่องว่างระหว่างวัยได้ชัดเชน คือสังคมจีนยุคเก่า และสังคมจีนยุคใหม่  กล่าวคือ มีกลุ่มคนรุ่นเก่าที่เติบโตมาจากยุคคอมมิวนิสต์เต็มขั้น หรือ ‘ยุคประธานเหมา’ ขณะที่คนรุ่นใหม่คือกลุ่มคนที่เกิดหลังปี 1980 เป็นต้นไปซึ่งเป็นยุคแห่งการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้งเสี่ยวผิง กล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่จีนเปิดประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ เรียกคนยุคนี้ ว่า ‘ยุคเติ้ง’ ...ละกัน


แน่นอน ชุดความเชื่อ และทัศนคติระหว่างคนยุคประธานเหมาและคนยุคเติ้ง ย่อมไปกันคนละทาง ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและวัฒนาธรรมจีนหลายท่านให้คำนิยามนี้ว่าไม่ใช่แค่ ช่องว่างระหว่างวัย แต่ยังรวมถึงการเกิด ‘ช่องว่าง’ อีกหลายอย่าง เช่น ช่องว่างของการศึกษา ช่องว่างทางฐานะสังคม ช่องว่างของความสัมพันธ์ ช่องว่างของการสื่อสารข้อมูล ฯลฯ


เรียกว่าระหว่างคนสองยุคในสังคมจีนเว้นพื้นที่ระหว่างกัน ...โคตรเยอะ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

พื้นฐานสำคัญในการเกิด ‘ช่องว่าง’ คือพื้นฐานทางวัฒนะธรรมจีน อาทิ การเคารพผู้อาวุโส สังคมผู้ชายเป็นใหญ่ การแบ่งชนชั้น การปฏิบัติต่อเครือญาติและแขก และแนวคิดแบบ ‘องค์รวม’ ที่หล่อหลอมมาครั้งยุคประธานเหมา ขณะที่คนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดแบบ ‘ปัจเจก’ คือ เน้นตัวตน วัตถุนิยม ความเสมอภาคทางเพศ ทั้งต่อต้านรูปแบบเก่าที่คนรุ่นใหม่มองว่ามันไม่mass


ที่สำคัญ คนทั้งสองยุคมองว่าความคิดของฝั่งตรงข้าม มีความคิดแบบ ‘มายาคติ’ แบบผิดๆ ในหลายๆเรื่อง ใช้สายตาที่ตำหนิมองอีกฝ่าย ที่สำคัญมันหยั่งยากลึกลงไปมากขึ้นทุกที


มาโฟกัสกันที่สาเหตุ ...



นิสัย สิ่งที่มีติดตัวมาจากพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู ประชากรจีน ‘ยุคเติ้ง’ ได้รับผลกระทบต่อนโยบาย One-Child Policy คนไทยคุ้นเคยในชื่อ ‘นโยบายลูกคนเดียว’ ที่เริ่มจริงจังตั้งแต่ปี 1978 และเพิ่งมายุติลงในราวต้นปี 2016 นโยบายดังกล่าวไม่เพียงทำให้อัตราส่วนระหว่างหญิงและชายของจันต่างกัน คือ ค่าเฉลี่ย หญิง 100 คน ต่อชาย 125 คน ชายมากกว่าหญิงจากค่านิยมชายเป็นใหญ่นั่นเอง


ผลพวงต่อมา จากนโยบายลูกคนเดียวที่ถูกเลี้ยงดูราว ‘ลูกเทวดา’ หรือเด็กที่ถูก Spoiled จนเกินงามเนื่องจากพ่อแม่มีลูกได้คนเดียวทำให้ทุ่มเทเป็นพิเศษ และแม้จะถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ยุคประธานเหมา สั่งสอนแนวคิดแบบมวลรวมของปราชญ์ขงจื๊อ และแนวคิดแบบส่วนรวมของคอมมิวนิสต์ แต่ผลไม่ได้เป็นไปตามที่พ่อแม่คาดหวัง


ตรงกันข้าม เด็กที่โตในยุคเติ้ง ยุคที่จีนพัฒนา หลายอย่างสะดวกสบายขึ้น เงินหาง่ายขึ้น ไม่ต้องลงแรงอะไรพ่อแม่ก็ประเคนมาให้ แตกต่างจากยุคเก่าที่ยากลำบาก ทำให้คนรุ่นใหม่มีแนวคิดที่เรียกว่า ‘ต่อต้าน’ รูปแบบเก่า วัตถุนิยม หยิบโหย่ง และแหย ยิ่งทำให้คนรุ่นเก่ายิ่งมองคนรุ่นใหม่ขวางหูขวางตามากขึ้น ทั้งที่บางขณะหากมองให้ลึกลงไป นี่คือผลที่คนยุคเก่าสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น


เชื่อว่าพอจะมองภาพความแตกต่างระหว่างคนสองยุคและช่องว่างทางความคิดในสังคมจีนชัดขึ้น ซึ่งผู้เขียนไม่ได้สรุปเอง หากแต่เป็นการนำแนวคิดของคนส่วนใหญ่ที่ศึกษารูปแบบสังคมของจีนในปัจจุบันมาประมวลผล ทำให้สามารถโฟกัสได้ตรงจุดและกระชับขึ้น


มองมุมจีนแล้วสะท้อนมามุมไทย สังคมวัฒนธรรมไทยที่มีความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ทั้งมีความคล้ายคลึงวัฒนธรรมจีนในหลายส่วน เช่น การเคารพผู้อาวุโส มุมมองชายเป็นใหญ่ มุมมองแบบแบ่งแยกชนชั้น ยกย่องคนที่ฐานะ  สังคมอุปถัมภ์ ซึ่งเอาเข้าจริงสังคมไทยก็แทบจะถอดแบบมาจากสังคมจีน ทั้งบางขณะซับซ้อนกว่าด้วยซ้ำ


ปูทางเรื่องมิติทางสังคมมาตั้งเยอะ ท่านผู้อ่านคงเริ่มสับสนว่าตกลงจะสื่ออะไร


จะบอกว่า ช่องว่างระหว่างวัยที่เรากล่าวถึงมาในข้างต้น มันไม่ใช่แค่คนเกิดมาในคนละช่วงเวลา แต่ยังมีบริบททางสังคมเป็นตัวกำหนดด้วย ดังนั้น แนวทางการลดช่องว่างระหว่างวัย คือ การลดบริบททางสังคมลงบ้าง ลดความเป็นตัวตนลง ในมุมการสืบทอดธุรกิจเถ้าแก่อาจลดบทบาทความเป็นเจ้าของลดหน่อยก็ดี


การเราวางตัวลูกของเราไว้สำหรับสืบทอดในธุรกิจที่พ่อของเราใช้หยาดเหงื่อและความมุมานะสร้างมา เรารักษาและทำให้ดีกว่ารุ่นพ่อ และอยากส่งต่อให้กับทายาทของเราได้พัฒนาต่อไป ...แต่เชื่อหรือไม่ มีผลสำรวจอย่างเป็นทางการระบุว่า เถ้าแก่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแน่ใจว่าทายาทจะพัฒนาธุรกิจที่ส่งต่อให้ประสบความสำเร็จได้ ...


แถมผลสำรวจส่วนใหญ่ยังระบุอีกว่าคนรุ่นใหม่มีความกดดันอย่างมากในการเข้ามาสืบทอดธุรกิจครอบครัว และเผชิญความ ‘ไม่ไว้วางใจ’ ต่อคนในครอบครัวว่าจะสามารถนำพาธุรกิจให้ไปรอดและเติบโต



ประเด็นสำคัญ คือ ทั้งสองฝ่ายมีปัญหาในด้านการสื่อสารและการตีความสารของอีกฝ่ายที่อาจไม่ตรงกัน แต่แสดงความเป็นตัวตนอย่างชัดเจน เช่นการแสดงออกว่าเป็นผู้ทีผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน มีมุมมองที่กว้างไกลในด้านการทำธุรกิจ ด้านคนรุ่นใหม่ก็อาจจะแสดงชัดในลักษณะคนมีหัวคิดก้าวหน้า ทันยุค ทันสมัย กล้าได้กล้าเสีย จนบางขณะทำให้เกิดความไม่เห็นด้วยในแนวคิดของอีกฝ่าย หรือที่เราเรียกว่างความแตกต่างของวิธีคิดของคนแต่ละวัย


ดังนั้นแนวทางแรกในการลดช่องว่าง คือการเปิดช่องทางสื่อสาร ก็เปิดอกคุยกันนั่นแหละ


หลายครั้งที่เราทำบทความแนวฮาว-ทู แนะแนวว่าควรทำแบบใดจะได้ผล ดังนั้นในบทความนี้ เราจะไม่ทำแบบนั้นอีก เพราะเราเชื่อว่า ทุกอย่างเปลี่ยนได้ที่ตัวคุณเอง แต่คุณอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนบริบททางสังคมได้ ไม่สามารถจะเข้าใจคนที่เกิดและโตในต่างช่วงเวลากันคุณได้ทุกเรื่อง


แต่เชื่อเถอะ คุณสามารถ ‘เปิดใจ’ และ ‘เปิดกว้าง’ ยอมรับความแตกต่างนั้นได้ ลดอคติ และช่องว่างก็จะย่นระยะลง

เตรียมการอย่างไรให้ลูกยอมรับช่วงธุรกิจต่อ

ถอดรหัสความสำเร็จธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
168 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
368 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
290 | 20/03/2024
มองจีน-มองไทย ช่องว่างระหว่างวัยในบริบทเดียวกัน