อินเทรนด์กัญชาฟีเวอร์! ‘รักจังฟาร์ม’ Business Transformation ปลูกเมล่อนสู่กัญชาทางการแพทย์ สะกดใจภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้วย High Quality

SME in Focus
14/06/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2652 คน
อินเทรนด์กัญชาฟีเวอร์! ‘รักจังฟาร์ม’ Business Transformation ปลูกเมล่อนสู่กัญชาทางการแพทย์ สะกดใจภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้วย High Quality
banner
#กัญชาฟีเวอร์ กระแสกัญชาบ้านเรากำลังมาแรง คุณฐิวรรณี กันหามาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักจังฟาร์ม จำกัด มองเห็นโอกาสจึงอาศัย Timing ห้วงเวลาเหมาะสม Business Transformation องค์กร จากฟาร์มเมล่อน ณ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สู่ฟาร์มกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จดังเช่นในปัจจุบันต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย ก่อเกิด Case Study น่าสนใจชวนให้ผู้ประกอบการและ SME ศึกษาแล้วนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเอง



เข้าใจ Timing เห็นโอกาสธุรกิจ

คุณฐิวรรณี กล่วาวว่า อดีตประกอบอาชีพครูแต่ด้วยความที่ตนเองชอบปลูกต้นไม้ - รักธรรมชาติ จึงตัดสินใจลาออกแล้วก่อตั้งบริษัท รักจังฟาร์ม จำกัด เพื่อทำฟาร์มเกษตร เริ่มต้นจากการปลูกเมล่อน 20 โรงเรือน ณ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา แล้วจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว โดยความอร่อยความหวานใกล้เคียงกับสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น 

ซึ่งได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีในขณะนั้น ก่อนที่พบจุดหักเหทางธุรกิจจากการที่ตนเองมองเห็นโอกาส แล้วปรับองค์กร Business Transformation ฟาร์มเมล่อนสู่ฟาร์มกัญชาทางการแพทย์ สืบเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (โรงพยาบาลฯ) มาเยี่ยมชมฟาร์ม แล้วเห็นว่า ‘รักจังฟาร์ม’ ปลูกเมล่อนได้คุณภาพ จึงเชิญชวนบริษัทไปเข้าร่วมอบรมการปลูกกัญชาทางการแพทย์ แบบเกษตรอินทรีย์สำหรับประชาชนรุ่นแรก 

หลังจากนั้นบริษัทจึงได้เป็นพาร์ทเนอร์กับโรงพยาบาลฯ ในการขอใบอนุญาตปลูก ตอนนั้นฟาร์มเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้ปลูกกัญชาทางการแพทย์ เมื่อขอใบอนุญาตเรียบร้อย ทีมปลูกได้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ก่อนทดลองปลูกประมาณ 2 ปี จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน


ฐิวรรณี กันหามาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักจังฟาร์ม จำกัด (ขวามือ)

“ขณะนี้ฟาร์มส่งดอกกัญชาแห้งน้ำหนักกว่า 1 ตันให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยมีทั้งการปลูกแบบทั้ง ‘กรีนเฮาส์’ มี 11 โรงเรือน และ ‘อินดอร์’ ซึ่งแบ่งเป็นเฟส 1 กับ 2”

สำหรับเมล่อนปัจจุบันก็ยังมีการปลูกอยู่เนื่องจากเป็นสินค้าสร้างชื่อให้กับ ‘รักจังฟาร์ม’ ซึ่งนอกจากการขายผลเมล่อนสดแล้วยังมีการแปรรูปต่างๆ เช่น ไอศกรีมเมล่อน เค้กเมล่อน โมจิเล่อน นมเมล่อน พุดดิ้งเมล่อน รวมถึงไวน์เมล่อน (เนื่องจากไวน์ต้องมีอากรแสตมป์ บริษัทจึงจ้างโรงงานผลิตแบบ OEM โดยมีทั้งแบบ เมล่อน 100% และเมล่อน 25% ใช้วัตถุดิบของฟาร์ม) แล้วจำหน่ายในฟาร์ม ที่สำคัญสินค้าทุกชิ้นผ่านการรับรองจาก อย. 

“เมล่อนของบริษัทมีความพิเศษคือจะมีความหอม ความนุ่ม หากบ่มไว้นาน เช่น การบ่มสำหรับทำไวน์ สมูทตี้ ไอศกรีม ยิ่งมีความหอม - หวานมากขึ้น นอกจากนี้ฟาร์มของเราได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) ด้วย จึงมั่นใจได้ว่าเมล่อนปลอดสาร แล้วเราสร้างจุดนี้ให้เป็นจุดเด่น และเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้า”

นอกจากนี้บริษัทมีฟาร์มซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงมีโรงแรมสำหรับบริการที่พักด้วย โดยเมื่อก่อนเราเป็นฟาร์มเมล่อนเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ แต่ปัจจุบันเราย้ายเมล่อนไปปลูกที่อื่นแล้วปลูกกัญชาแทน และหลังจากเกิดการระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้โรงแรมต้องปิดกิจการชั่วคราว บริษัทจึงปรับตัวด้วยการย้ายพนักงานมาทำฟาร์มทั้งหมด



‘กัญชากับเมล่อน’ พืชชนิดไหนบริหารจัดการยากกว่ากัน

ในเรื่องนี้ คุณฐิวรรณี อธิบายว่า เมล่อนเป็นพืชตระกูลแตง จะมีแมลงมารบกวนค่อนข้างเยอะ ส่วนกัญชาเป็นพืชที่ดูแลง่าย แต่เนื่องด้วยเป็นการปลูกกัญชาทางการแพทย์เพื่อสกัดสาร CBD (Cannabinoid) จึงต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการปลูกแบบอินดอร์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิ แสง น้ำ เป็นต้น ขณะที่ทีมปลูก - ทีมดูแล ต้องมีองค์ความรู้ต้องเชี่ยวชาญเพื่อให้กัญชาที่ปลูกได้คุณภาพ ซึ่งค่อนข้างจะมีโพรเซสอื่นๆ ในกระบวนการอีกพอสมควร

สำหรับกัญชาทางการแพทย์สาร THC (Tetrahydrocannabinol) ต้องต่ำกว่า 1% โดยฟาร์มปลูกกัญชาสายพันธุ์ Charlotte's Angel ซึ่งทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้อนุเคราะห์เมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในการปลูก หลังจากนั้นบริษัทได้เพาะเมล็ดเอง รวมถึงการขยายพันธุ์ด้วยวิธีโคลนนิ่งโดยการปักชำ ซึ่งข้อดีก็คือทำให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง โตเร็ว การโคลนนิ่งจะอยู่ได้ 5 เจเนอเรชันไม่กลายสภาพ



ส่วนช่อดอกกัญชาจะจำหน่ายให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรทั้งหมด ขณะที่ส่วนอื่น ‘รักจังฟาร์ม’ มีการนำมาแปรรูปต่างๆ เช่น คราฟท์กัญชา (ได้รับอย. แล้ว) คุกกี้กัญชา เป็นต้น ส่วนราก ต้น กิ่ง ใบกัญชาสด จะมีจำหน่ายที่หน้าฟาร์ม


สำหรับการขึ้นทะเบียนปลูกกัญชาทางการแพทย์ ต้องมีการปรับปรุงดินซึ่งฟาร์มใช้เวลากว่าหนึ่งปีกว่าจึงได้รับใบอนุญาต เมื่อมีการอนุญาตปลูกแล้ว ต้องมีรายงานทุกขั้นตอนกับ สสจ. รวมถึงการส่งช่อดอกต้องมีการแจ้งเรื่องให้กับสถานีตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด รถทะเบียนอะไรใครเป็นคนขับต้องมีการแจ้งให้ทราบ ซึ่งค่อนข้างมีกระบวนการซับซ้อนพอสมควร




แนวโน้มตลาดและราคากัญชาในอนาคต

คุณฐิวรรณี แสดงทรรศนะว่า ในอนาคตตลาดน่าจะโตขึ้นแต่ราคาน่าจะเริ่มคงที่ เนื่องจากการทำให้ได้คุณภาพมาตรฐานที่กำหนดไม่ใช่เรื่องง่าย โดยปัจจุบันดอกกัญชาแห้งรับซื้อราคาสูงสุด 45,000 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนของบริษัทปลูกแล้วจำหน่ายช่อดอกให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะราคาไม่สูงขนาดนั้น แต่มีข้อดีก็คือโรงพยาบาลฯ จะรับซื้อทั้งหมด แต่สารที่อยู่ในกัญชาต้องได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 

นอกจากนี้เมื่อโอกาสในอนาคตเปิดกว้างมากขึ้น จะทำให้กัญชามีความแพร่หลายไปในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร เครื่องสำอาง ให้ความสนใจที่จะซื้อไปเป็นวัตถุดิบเพี่อผลิตเป็นสินค้า ซึ่งทางบริษัทมีแพลนที่จะปลูกต้นกัญชาเพิ่มเพื่อรับรองกับความต้องการที่มีมากขึ้น 

สำหรับแพลนในปัจจุบันของ ‘รักจังฟาร์ม’ ได้มีการวางแผนสร้างโรงสกัดสารจากกัญชา เช่น น้ำมันกัญชา ขณะนี้กำลังดำเนินการขอใบอนุญาต เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพิ่มมูลค่าให้กับกัญชาของบริษัท

จากการเข้าใจ Timing มองเป็นเห็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณฐิวรรณี กันหามาลา นำมาสู่การ Business Transformation กิจการ จากฟาร์มเมล่อนสู่ฟาร์มกัญชาทางการแพทย์ ตอบโจทย์กระแส #กัญชาฟีเวอร์ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้วย High Quality จนประสบความสำเร็จ ที่ยังไม่เติบโตเพียงเท่านี้โดยวาดแพลนขยายธุรกิจในอนาคตอันใกล้ เพื่อก้าวเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตกัญชาทางการแพทย์เปี่ยมคุณภาพแถวหน้าของไทย


รู้จัก ‘บริษัท รักจังฟาร์ม จำกัด’ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.rakjangfarm.com/ 
https://www.facebook.com/rakjangcoin/ 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
146 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
732 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
549 | 10/04/2024
อินเทรนด์กัญชาฟีเวอร์! ‘รักจังฟาร์ม’ Business Transformation ปลูกเมล่อนสู่กัญชาทางการแพทย์ สะกดใจภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้วย High Quality