7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย

SME Update
15/11/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 1001 คน
7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย
banner

การดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดขึ้นทั่วโลก สหภาพยุโรป (EU) เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ซึ่งในปี 2562 คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกแผนการปฏิรูปสีเขียว โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลง 50-55% ภายในปี 2573 และในปี 2593 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) เพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 5-2.0 องศาเซลเซียส ตามที่ตกลงกันไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement)


ข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในระหว่างปี 2533 ถึง 2563 พื้นที่ป่าขนาด 420 ล้านเฮกเตอร์ สูญเสียไปโดยมีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งหากเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันโลกสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวน 178 ล้านเฮกเตอร์ เท่ากับว่าในทุก ๆ นาที พื้นที่ป่าขนาดประมาณ 20 สนามฟุตบอลกำลังถูกทำลายอยู่ทั่วทุกมุมโลก การสูญเสียพื้นที่ป่าดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์


ตามรายงานของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) วิเคราะห์ว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ ส่วนใหญ่มาจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อตอบสนองความต้องการขยายพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น


เพื่อแก้ไขและป้องกันการกระทำการต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้ป่าเสื่อมโทรม สหภาพยุโรปในฐานะที่เป็นตลาดรายใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกเพื่อการบริโภคจึงมุ่งแสวงหาข้อตกลงระดับชาติเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม


ในการเปลี่ยนแปลงนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอร่างกฎระเบียบฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า “Deforestation-free products” หรือ “กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า” กฎหมายฉบับแรกของโลกที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนตัดไม้ทำลายป่า


#สิ่งแวดล้อม #cop27 #Deforestationfreeproducts #สินค้าปลอดการทำลายป่า #ส่งออกไทย #ภาคการส่งออก #Deforestation #อียู #roadtonetzero #esg #เพื่อนคู่คิดธุรกิจsme #ธนาคารกรุงเทพ #bangkokbanksme

 



ไฟเขียว ‘กฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าโยงตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products)


รัฐสภายุโรปมีมติในวันที่ 19 เม.ย.2566 เห็นชอบข้อบังคับผลิตภัณฑ์ปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่จดทะเบียนในชาติสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ต้องแสดงข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่า สินค้าที่นำเข้า ไม่ได้เป็นผลผลิตที่เติบโตบนที่ดิน ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าในทั่วโลก มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต้องโทษปรับในอัตราสูง


สินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า กำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงหลักฐานการตรวจสอบสถานะผลิตภัณฑ์ (Due Diligence) ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า สามารถติดตามกระบวนการผลิตสินค้า และต้องดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับตลอดกระบวนการผลิตสินค้า (mandatory due diligence) ว่าไม่มีความเชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม


แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นที่จะลดการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าที่เชื่อมโยงกับการบริโภคและการผลิตสินค้าเพื่อแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน โดยคณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะปกป้องป่าอย่างน้อย 71,920 เฮกตาร์ต่อปี หรือประมาณ 100,000 สนามฟุตบอล และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก 31.9 ล้านเมตริกตันต่อปี


ข้อมูลจาก

-กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

-สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป

-สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

https://shorturl.asia/SNgu9

กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products) ของสหภาพยุโรป (อียู) ว่าเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ที่ประชุม 3 ฝ่าย (trilogue) ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นที่จะห้ามสินค้า 7 กลุ่มได้แก่ วัวและผลิตภัณฑ์ ไม้และผลิตภัณฑ์กระดาษตีพิมพ์ ปาล์มน้ำมันและอนุพันธ์ของน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เข้าอียูหากพบว่ามีส่วนในการทำลายป่า


ซึ่งยังครอบคลุมถึงสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง เนื้อวัว น้ำมันปาล์ม ไม้ โกโก้ กาแฟ ยาง ถ่าน และสินค้าที่ผลิตจากสินค้าเหล่านี้ อาทิ หนัง ช็อกโกแลต และ เฟอร์นิเจอร์


ข้อมูลจาก

-กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

https://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/22/iid/12255

-สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป



การนำเข้าและส่งออกสินค้าจากสหภาพยุโรปตามกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products) นั้น กำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดครบ 3 ประการ


คือ

1) ปลอดจากการทำลายป่า

2) ผลิตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเทศผู้ผลิต

และ 3) ผู้ประกอบการหรือผู้ค้าจะต้องจัดทำ Due diligence ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ก่อนการวางจำหน่าย มิฉะนั้นผู้ค้าหรือผู้ประกอบการจะต้องรับผิดตามบทลงโทษที่กฎหมายกำหนดไว้หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม


ระบบการตรวจสอบและประเมิน (Due diligence) คือ กระบวนการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปจนถึงแหล่งกำเนิดสินค้าว่าเป็นสินค้าที่มาจากพื้นที่ที่มีการทำลายป่าหรือทำให้ป่าเสื่อมโทรมมาก่อนหรือไม่ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการ (operator) และผู้ค้า (trader) ต้องจัดทำข้อมูล รวมถึงแสดงเอกสารหลักฐานยืนยันพิสูจน์ว่าสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออกเป็นสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่า (deforestation-free products)


โดยกระบวนการการทำ Due diligence แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ

1) รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล อาทิ รายละเอียดสินค้า ประเทศผู้ผลิต ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geo-localization) เป็นต้น

2) ทำการประเมินระดับความเสี่ยงในสินค้าของประเทศคู่ค้าตามระดับของการทำลายป่าไม้และทำให้ป่าเสื่อมโทรมรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศ

3) จัดการความเสี่ยง โดยจะต้องแสดงถึงแผนการจัดการการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ (Competent Authority) ของประเทศสมาชิกซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าผ่านระบบ Due diligence นั้น


สหภาพยุโรปจะจัดระดับความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าในระบบ Due diligence ตามระดับของการทำลายป่าหรือการทำให้ป่าเสื่อมโทรม โดยอาศัยระบบการเทียบเคียง (Benchmarking System) มาประเมินความเสี่ยงของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าจะถูกจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งจากสามประเภท ได้แก่ ระดับความเสี่ยงต่ำ มาตรฐาน และสูง การจัดระดับนี้จะเผยแพร่ภายใน 18 เดือนนับจากกฎหมายมีผลใช้บังคับ


ข้อมูลจาก

-กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

-สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป



กฎหมายนี้ ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนตัดไม้ทำลายป่า โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าจะต้องจัดทำข้อมูล และแสดงหลักฐาน/เอกสารยืนยันว่า สินค้าไม่ได้ผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่า


กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มอุตสาหกรรมไม้ของไทย ได้เตรียมความพร้อมมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ EU เริ่มใช้แผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade: FLEGT) ร่วมกับประเทศผู้ผลิตไม้ ต้องมีการรับรองแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ว่าถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) กับประเทศผู้ผลิตไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ผิดกฎหมายเข้ามาในตลาดอียู โดยไทยและอียูได้เริ่มการเจรจาจัดทำ FLEGT VPA ตั้งแต่ปี 2556


แต่ยากที่จะปฏิเสธว่าในกระบวนการตรวจสอบและประเมินสินค้า (Due diligence) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่สำคัญของกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products) อาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและส่งออก โดยเพิ่มภาระทางค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการและผู้ค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามว่าทุกภาคส่วน จะมีแนวทางอย่างไรเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว


โดยประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าที่ต้องส่งสินค้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป จึงต้องมีการเตรียมรับมือต่อกฎหมายฉบับนี้ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการแข่งขันจากคู่แข่ง แม้จะมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปไม่มาก


ซึ่งหากบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ จะถูกปรับสูงถึง 4 % ของผลประกอบการของบริษัทในประเทศใด ประเทศหนึ่งในสหภาพยุโรป ส่วนประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป จะดำเนินการตรวจสอบให้บริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2567


หากธุรกิจส่งออกไทย ในฐานะผู้ผลิต ไม่ปรับตัวหรือเตรียมรับมือในเรื่องนี้ อาจเกิดปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะประเด็นมาตรการกีดกันจากหลายประเทศ


ทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ไปอียู มูลค่า 1,693.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 8% ของการส่งออกไทยไปโลก ไม้มูลค่า 22.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสัดส่วน 9% ของการส่งออกไทยไปโลก และเฟอร์นิเจอร์มูลค่า 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสัดส่วน 5% ของการส่งออกไทยไปโลก ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ วัวและผลิตภัณฑ์ ถั่วเหลือง โกโก้ และน้ำมันปาล์ม โดยไทยส่งออกไปอียูน้อย มีสัดส่วนต่ำกว่า 1% ของการส่งออกไปโลก


ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

https://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/22/iid/12255




สหภาพยุโรป (EU) กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าทั้ง 7 กลุ่ม จะต้องลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูลและแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับการผลิต เช่น แหล่งที่มา ผู้ผลิต และพิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก เก็บเกี่ยว เป็นการรับรองว่าการผลิตมีการบุกรุกป่าหรือไม่ รวมถึงการจัดทำเอกสารแสดงสิทธิการใช้ที่ดินว่าไม่ได้บุกรุกป่า


เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับ และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบภาพถ่ายจากดาวเทียมว่าสินค้าที่ผลิตไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation) หรือทำให้ป่าเสื่อมโทรม (Degradation) หรือไม่


เพื่อลดการทำลายพื้นที่ป่า และลดการนำเข้าสินค้าที่มีความเสี่ยงในการทำลายป่าเข้ามาใน EU ซึ่งกฎหมายในลักษณะนี้ไม่ได้มีเฉพาะในยุโรปเท่านั้น ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาก็เริ่มแล้ว และกำลังลามเข้าไปในหลายประเทศด้วยเช่นกัน


สะท้อนให้เห็นว่า กฎระเบียบการค้าของ EU กำลังจะเป็นต้นแบบของกฎการค้าที่หลาย ๆ ประเทศนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาดส่งออกที่เป็นแหล่งหารายได้สำคัญของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม เพื่อยืนยันว่าสินค้ามาจากที่ดินที่ปลอดจากการทำลายป่า และจัดทำกรอบความร่วมมือด้านป่าไม้ (Forest Partnership) รวมถึงกรอบความร่วมมืออื่นๆ กับ EU ในอนาคตต่อไป


ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

https://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/22/iid/12255


อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก :

https://www.bangkokbanksme.com/en/23-7sme3-eu-rules-to-ban-exports-of-products-at-risk-of-deforestation


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1409 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1819 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2011 | 25/01/2024
7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย