การจะขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาด จะต้องเข้าใจ 3 แนวโน้มของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการตลาด ไม่ว่าบ้านเมืองจะตกอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ถ้าสามารถวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจเพื่อวางแผนหาแนวทางหรือการคาดการณ์ในอนาคตทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ แม้แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิดอย่างในขณะนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
การประเมินทางเศรษฐกิจ (Economic assessment)
นั้นเป็นวิธีการที่จะทำให้สามารถทราบถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจว่าจะดีหรือไม่ โดยวิเคราะห์จากข้อมูล
เช่น เว็บไซต์ข่าวทั่วไป ตามติดข่าวเศรษฐกิจ
และเข้าถึงข้อมูลบทวิเคราะห์วิจัยต่างๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน หรือขอรายละเอียดข้อมูลต่างๆ
นั้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ เช่น GDP ของประเทศ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินไทยกับเงินสกุลอื่น
อัตราเงินฝืด เงินเฟ้อ ตัวเลขการนำเข้าและส่งออก อัตราการว่างงาน นโยบายต่างๆ
ของรัฐบาล สถานการณ์ภัยแล้ง หรือโรคระบาดต่างๆ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลเชื่อมโยงกัน
และมีส่วนสัมพันธ์กับทิศทางเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลกด้วย
แนวโน้มเทคโนโลยี (Technology trend)
เป็นการตามติดข้อมูลข่าวสารของเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งผลต่อสังคม การใช้ชีวิต
การทำธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจที่ดำเนินการ
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทธุรกิจมากขึ้น
และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องมีการปรับตัวตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
เนื่องจากในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาฝังรากลึก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลักในการทำธุรกิจไปแล้ว
ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจนั้นมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายแล้วแต่รูปแบบการดำเนินงานของแต่ละบริษัท
โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญของเทคโนโลยีนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
- ช่วยทำให้การผลิตมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น
เช่น ลดต้นทุนและกระบวนการบริหารจัดการ ลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิต
- ช่วยพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ อันเป็นการช่วยเสริมกลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้มีความได้เปรียบในตลาดสินค้าและบริการ
- ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนบรรลุผลสำเร็จในการจัดการ
- ช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่ดีมีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย
ทันต่อโลก ทันต่อเหตุการณ์ ไม่ล้าหลังตกหล่นในสังคม ภายใต้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ
- ช่วยในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนทางการตลาด
รวมถึงสามารถบริหารจัดการข้อมูลที่มีค่าและจำเป็นต่อองค์กรได้ดีขึ้น
วิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) คืออาวุธสำคัญที่ใช้ในการสังหารศัตรูคู่แข่งได้
เพราะเบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่ในตลาดนั้น
มาจากการวิเคราะห์ตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งการวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะปล่อยออกสู่ตลาด
สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่
นอกจากนี้การวิเคราะห์ตลาดที่ดีจะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
ที่นำไปสู่การประเมินความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, แนวโน้มของตลาดอย่างต่อเนื่อง,
ตลอดจนนำมาใช้ประเมินพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า ไปจนถึงการวางแผนทำการตลาด
จัดโปรโมชั่น ผลิตสินค้าต่อไปได้
ดังนั้นการวิเคราะห์ตลาดจึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลที่จำเป็น
และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ
เพราะการวิเคราะห์ตลาดสามารถช่วยธุรกิจเติบโตได้
ช่วยให้ธุรกิจทำความเข้าใจกับลูกค้า จากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำแหน่ง อายุ รายได้
และเพศ ที่จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แบบเฉพาะเจาะจง และใช้ในการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งเก่าและใหม่
จุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่ง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการทำธุรกิจ
ภายใต้เครื่องมือวิเคราะห์กรตลาดที่สำคัญ ตามหลัก PESTLE Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
6 ด้าน ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ คือ P=Political (การเมือง),
E=Economic (เศรษฐกิจ), S=Social (สังคม),
T=Technological (เทคโนโลยี), L=Legal (กฎหมาย) และ E=Environmental (สิ่งแวดล้อม)
ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวลงอย่างรุนแรง
การนำบทวิเคราะห์ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว
มาใช้เป็นตัวช่วยหาทางออกจากสภาพธุรกิจชะลอตัว เพื่อหาหนทางปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงให้รอดจากวิกฤติเศรษฐกิจเพราะพิษโควิด
19 ก็เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากอยากจะรอดจากสถานการณ์นี้
แหล่งอ้างอิง
https://km.li.mahidol.ac.th/marketing/