เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี

SME Update
29/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 7639 คน
เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี
banner

ก่อนเข้าประเด็น เรามาทำความรู้จักประเภทของผู้สอบบัญชีที่สามารถให้บริการได้กันก่อน โดยผู้ตรวจสอบบัญชี มีแบ่งลักษณะดังนี้

1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA : Certified Public Accountant) ซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547

2. ผู้สอบบัญชีตลาดทุน คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เราคุ้นหูกันคือ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. (List of Auditors Approved by the office of SEC)

3. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax auditor) ซึ่งเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


โดยข้อจำกัดของผู้สอบบัญชีแบบ TA นั้นจะสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม และรายได้รวมในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท

ส่วน CPA และผู้สอบบัญชีตลาดทุน นั้นจะสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร หรือเข้าใจง่ายๆ คือ สามารถรับรองได้ทุกประเภทนิติบุคคล ยกเว้นงบการเงินดังต่อไปนี้ที่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. รับรองงบการเงินเท่านั้น

ทั้งนี้จากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบอาชีพบัญชี(กกบ.) ที่ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้สอบบัญชีที่รับอนุญาต จำนวน 9,988 ราย แต่มีผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ) จำนวน 240 รายเท่านั้น คิดเป็น 2.40% ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั้งหมด ในขณะที่มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 712 บริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุนจะอยู่ในอัตราส่วน 3 บริษัท ต่อ 1 ผู้สอบบัญชี ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ไม่สมดุลกัน และในอนาคตอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนได้ หากไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน

โดยประเด็นนี้ภายใต้การหารือระหว่าง นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ร่วมกับนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล นายกสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ และน.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างการกำกับดูแลคุณภาพงานสอบบัญชีของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันจะเน้นด้านการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีเป็นหลัก หากผู้สอบบัญชีมีการปฏิบัติงานบกพร่องหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีเท่านั้นที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ความเห็นของทุกฝ่ายเห็นว่าควรพิจารณาแก้ไขการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงสำนักงานสอบบัญชีด้วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิก International Forum of Independent Audit Regulator (IFIAR) จำนวน 55 ประเทศ รวมถึงไทย มีการกำกับทั้งผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี จำนวน 52 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

นายบุณยฤทธิ์ ได้ระบุว่า ผลการหารือเบื้องต้นสำนักงาน ก.ล.ต. ได้จ้างผู้วิจัยมาทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีในต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการแก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ในขณะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เพื่อให้รองรับและสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลคุณภาพงานสอบบัญชีด้วยเช่นกัน

รวมทั้งยังได้มีการหารือถึงประเด็นที่จะเอื้อต่อการเพิ่มจำนวนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดทุนไทยในอนาคต โดยการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้สอบบัญชีเข้ามาเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดหาเครื่องมือในการตรวจสอบ การพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น การจัดหาที่ปรึกษาเมื่อมีข้อโต้แย้งกับผู้ประกอบการ

น่าจับตาว่าภายใต้การหารือนี้ จะมีการปรับเพิ่มบทลงโทษของผู้ตรวจบัญชีและสำนักงานบัญชีที่ปฏิบัติไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง ซึ่งคาดว่าจะเป็นมาตรฐานกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีที่เข้มข้นมากขึ้น 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
7 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
7 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
9 | 11/04/2025
เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี