เคล็ดลับความสำเร็จ “บ้านไร่ไออรุณ”

SME in Focus
21/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6886 คน
เคล็ดลับความสำเร็จ “บ้านไร่ไออรุณ”
banner

“บ้านไร่ไออรุณ” ได้รับการกล่าวขานถึงกันอย่างกว้างขวางถึงความพอดีและพอเพียง จนถูกจัดให้เป็นฟาร์มสเตย์มาแรงสุดในเวลานี้ มีคนจองคิวยาวเหยียด เต็มตลอดทั้งปี บ้านที่เกิดจากความฝันของสถาปนิกหนุ่มดีกรีเกียรติยมอันดับ 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ยอมทิ้งอาชีพในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเมืองหลวง เพื่อกลับมาใช้ชีวิตแบบพอเพียงที่บ้านเกิดกับพ่อแม่ที่ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ ยิ่งความคิดที่จะไปสานต่ออาชีพของพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับ “วิโรจน์ ฉิมมี” หรือ “เบส” ลูกชาวบ้านธรรมดา พ่อมีอาชีพกรีดยาง แม่ขายผักที่ตลาดฐานะไม่ได้ร่ำรวยอะไร พ่อกับแม่จึงคอยพร่ำสอนให้ตั้งใจเรียนจะได้ไม่ต้องมาทำสวน ไม่ต้องมากรีดยาง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


แรงบันดาลใจของเขาเกิดจากเมื่อสมัยเด็กๆต้องเดินไปโรงเรียนราวๆ 2 กิโลเมตร ทุกๆ วัน ระหว่างทางก็มองเห็นบ้านคนอื่นที่ใหญ่โตหรูหราและสวยงาม ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมจนถึงมัธยม สิ่งที่เห็นเขาเห็นจำเจทุกวันกลายมาเป็นความรู้สึก พร้อมกับตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมบ้านเราถึงไม่สวยเหมือนบ้านคนอื่น หลังจากนั้นจึงตั้งปณิธานไว้ว่า จะตั้งใจเรียน และได้เลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมความตั้งใจ

หลังจากเป็นมนุษย์เงินเดือนระยะหนึ่งดูเหมือนชีวิตจะไม่มีความสุข ในใจคิดแต่จะกลับบ้าน เขาจึงตัดสินใจทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองกรุงกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดท่ามกลางเสียงค้านของ คนรอบข้าง เพื่อนๆ พ่อกับคุณแม่

เมื่อกลับมาบ้านสิ่งแรกที่เขาทำคือสร้างบ้าน เริ่มจากไปขอไม้ไผ่กับเจ้าอาวาสที่วัด มาทำตามความฝันของตัวเองโดยมีพ่อคอยเป็นกำลังสำคัญ ตัวเขาเชื่อมั่นอยู่ตลอดเวลาว่า จะต้องสร้างบ้านให้สวย หลังจากผ่านไป 7 เดือน สิ่งที่ทำมายังไม่มีใครเห็น แต่เขายังคงเชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำ

กระทั่งได้ส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการบ้านและสวนของบริษัทอมรินทร์ นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนรอบข้างยอมรับและเห็นคุณค่า แม่ถึงเอานิตยสารเล่มนั้นไปติดแผงขายผัก ด้วยความภาคภูมิใจ หลังจากชนะการประกวดได้ไม่นาน วิโรจน์จึงเริ่มสร้างบ้านให้เป็นที่พัก เป็นการสานต่อความฝันโดยชวนคนในครอบครัวมาช่วยกันสร้างบ้านเพิ่มอีก  2 หลัง แล้วเปิดเป็น “บ้านไร่ไออรุณ” รองรับผู้มาเยือน


พอดี พอเพียง แต่ไม่อัตคัด

บ้านไร่ไออรุณ ฟาร์มสเตย์ แบ่งออกเป็น  2 โซน คือ โซนร้านขายสินค้าการเกษตร และพืชผักสวนครัว ที่เขาและครอบครัวช่วยกันปลูก และมีสวนอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนสามารถสั่งอาหาร ของรับประทานเล่น และเครื่องดื่มกันได้

โซนที่สอง เป็นบ้านพัก สงวนสิทธิ์เฉพาะคนที่เข้าพักเท่านั้นบ้านพักของบ้านไร่ไออรุณ  บ้านพักในบ้านไร่อรุณ ไม่มี Wi-Fi ไม่มีทีวี ไม่มีตู้เย็น แต่มีเครื่องปรับอากาศ และกำลังก่อสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกำลังที่มี ทุกอย่างสร้างขึ้นมาด้วยมือช่วยกันทำในครอบครัว สำหรับแขกที่มาพักนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ กระแสตอบรับดีมากตั้งแต่เริ่มสร้าง มีคนจองห้องไม่ขาดสาย

ส่วนในแง่การทำธุรกิจนั้น เขาเชื่อว่าต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยความพอเพียง แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างอัตคัด ทุกอย่างต้องประยุกต์ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์แบบคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แบบคนรุ่นเก่า แต่กระนั้น ต้องนำความชำนาญของคนรุ่นเก่ามาประยุกต์ด้วยการสร้างความสมดุล เช่น การนำวัสดุท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็ต้องใช้ไอเดียแบบคนรุ่นใหม่ไปผสมผสาน เพราะนักท่องเที่ยวในปัจจุบันชอบแนวไลฟ์สไตล์ ต้องออกแบบบ้านพักให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ แต่จะต้องไม่ฝืนธรรมชาติ


เขาย้ำเสมอว่าเขาทำบ้าน ไม่ได้ทำรีสอร์ต คนที่บริการลูกค้า คือ คุณแม่และญาติพี่น้อง และคนในชุมชน รายได้ต้องกระจายไปสู่ชุมชน ให้คนในชุมชนมีอาชีพ เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างคนเมืองกับคนต่างจังหวัด

สิ่งที่เขาทำนั้นเกิดประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะบ้านของเขาเพียงครอบครัวเดียวเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับทำให้ชุมชนโดยรอบ คนรุ่นใหม่ แม้แต่องค์กรต่างๆ มากมายได้รับแรงบันดาลใจ ด้วยการใช้สิ่งที่มีอยู่ในหมู่บ้านทั้งหมด นำมาต่อยอด และได้ขยายผลสู่วงกว้างออกไปเรื่อยๆ

ภาพ Facebook : บ้านไร่ ไออรุณ baan rai i arun 

TakeME Tour เพื่อนพาทัวร์ โดนใจต่างชาติ

อินเดีย โจทย์ใหม่ธุรกิจท่องเที่ยวไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
177 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
276 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
900 | 17/04/2024
เคล็ดลับความสำเร็จ “บ้านไร่ไออรุณ”